4 พ.ค. 2020 เวลา 23:00 • ประวัติศาสตร์
“All substances are poisons; There is none which is not a poison. The right dose differentiates poison from a remedy”
....แปลว่า....
“สารเคมีทุกชนิดล้วนเป็นพิษ ไม่มีสารเคมีชนิดใดที่ไม่มีพิษ. ขนาดปริมาณเท่านั้นที่เป็นตัวแยกระหว่างความเป็นพิษกับความเป็นยา”
Paracelcus : พาราเซลซุส
“ คำกล่าวนี้กลายเป็นตำนาน พูดถึงกันจนถึงทุกวันนี้ “
ทุกครั้งที่มีการพูดถึงหรือเกี่ยวกับสารเคมีหรือสารพิษในวงการ
ก็จะมีการอ้างถึงเสมอ และเพื่อเป็นการให้เกียรติ....
อยากให้มาทำความรู้จักท่านผู้นี้....
....บิดาแห่งวงการ พิษวิทยา(toxicology)...
รู้จักในชื่อ ... พาราเซลซุส(Paracelcus)
.....แห่งยุค เรเนซองส์.... ศตวรรษที่ 16
.... มีชื่อเดิมว่า Philippus Areolus Theophrastus Bombastus von Hohenheim ... เป็นทั้ง นักฟิสิกส์ แพทย์ นักเคมี นักดาราศาสตร์ และ ผู้ใช้เวทมนตร์!!...
เกิดและเติบโตที่หมู่บ้าน Einsiedeln ในประเทศ สวิซเซอร์แลนด์ เป็นลูกชายของ วิลฮิม บอมบาสต์ (Wilhelm Bombast von Hohenheim) ซึ่งเป็นนักเคมีและฟิสิกส์
einsiedeln switzerland : เมืองบ้านเกิดของพาราเซลซุส
ในตอนเด็ก พาราเซลซุสได้ ทำงานเป็นนักวิเคราะห์ที่เหมือง ...
จนกระทั่ง อายุ16 ปี ก็ได้เข้าศึกษาต่อด้านการแพทย์ที่มหาวิทยาลัย Basel และย้ายไป Vienna …… และสุดท้ายจบปริญญาเอกจาก มหาวิทยาลัย Ferrara สาขาฟิสิกส์ ....
หลังจากนั้น ก็ได้เดินทางไปยังหลายประเทศ เช่น เยอรมันนี ฝรั่งเศษ สเปน ฮังการี เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน และรัสเซีย.... ได้เรียนรู้ศาสตร์หลากหลายแขนง ปรับปรุงเขียน เป็นแนวทางของตนเอง
.... แม้ว่าจะเป็นนักฟิสิกส์ ปริญญาเอก ... แต่ พาราเซลซุส ก็ มิได้รับการยอมรับ จากเพื่อนนักฟิสิกส์ด้วยกัน เนื่องจาก ว่า พาราเซลซุสนั้นมีบุคคลิกแปลกแยก และมีความคิดความเชื่อที่แตกต่าง และ หยิ่งยโส เป็นอย่างมาก....
พาราเซลซุส ยังได้ ประดิษฐ์เครื่องรางของขลังทางดาราศาสตร์ สำหรับป้องกันปัดเป่าบำบัดโรคร้าย อิงตามนักษัตรทั้ง 12 .... และขายให้แก่ผู้ที่เชื่อถือในแนวทางของเขา
… นอกจากนี้ยังได้ประดิษฐ์อักขระเวทมนตร์เพื่อสลักชื่อเทพ อีกด้วย
อีกทั้งเขายังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด นิกาย
”ลูเทอแรน”
• นิกายศาสนาคริสต์ตะวันตกฝ่าย โปรเตสแตนต์•
อักขระเวทมนตร์
จนกระทั่ง ปี คศ.1536...
เขาได้รับชื่อเสียงและการยอมรับกลับมาอีกครั้ง... เพราะการตีพิมพ์ หนังสือทางการแพทย์เรื่อง Die Grosse Wundartznei (การผ่าตัดที่สมบูรณ์) ซึ่งเป็นตำราแพทย์ที่แหวกแนว(สำหรับยุคนั้น) … และการรักษาบางอย่างที่น่ากลัวและหวาดเสียว. ……แต่กลับได้ผลที่น่าทึ่ง
....ยุคของ พาราเซลซุส ได้มีการนำสารเคมีต่างๆ มาใช้ประกอบการรักษาของเขา เพราะเขามีความเชื่อว่า ความเจ็บป่วยและสุขภาพนั้น ขึ้นอยู่กับความสมดุลระหว่าง แร่ธาตุในร่างกาย.... และอาการเจ็บป่วยบางกระการสามารถรักษาได้ด้วยสารเคมี
Die Grosse Wundartznei
จึงเป็นที่มาของ คำกล่าว “สารทุกอย่างล้วนเป็นพิษ ไม่มีสารใดไม่เป็นพิษ ...ปริมาณของสารเท่านั้น ที่เป็นตัวกำหนด”
...ท่านจึงได้รับย่งย่องขนานนามว่าเป็น บิดาแห่งวงการพิษวิทยา และ ...ตราบจนถึงปัจจุบัน ...
.... toxicology....
References
โฆษณา