12 พ.ค. 2020 เวลา 03:26
ประวัติศาสตร์รำลึก,
#จันทร์เจ้าขา,#เรื่องเล่าก่อนเข้าตอนหน้า,#เพลงสื่อใจในสมัยรัชกาลที่5,
สวัสดีครับ เพื่อนๆ :)
เนื่องจากเรื่องสั้นของผม จะโยงเงาอดีต และข้อมูลประวัติศาสตร์เข้ามาด้วยกัน เลยขออนุญาตถือโอกาสเล่าเกร็ดเล็ก เกร็ดน้อย ปูพื้นความสนุกด้านประวัติศาสตร์ เพื่ออรรถรสในการอ่านนะครับ :)
#เพลงสื่อใจในสมัยรัชกาลที่5,
ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นยุคสมัยแห่งการสร้างสรรค์ของงานศิลป์ อย่างมากมาย, ได้เกิดเพลงใหม่ขึ้นหลายบทเพลงและได้รับความนิยมอย่างสูงแม้ในปัจจุบัน เช่น เพลงแขกมอญบางขุนพรหม เถา พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ,
เพลงเขมรไทรโยค 3 ชั้น พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ,เพลงลาวดวงเดือน 2 ชั้น พระ-นิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
เพลงลาวคำหอม 2 ชั้น ของจ่าเผ่นผยองยิ่ง หรือจ่าโคม นอกจากนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ยังเป็นผู้พระราชนิพนธ์เพลงสรรเสริญพระบารมีขึ้นเป็นครั้งแรก (คนละเพลงกับเพลงสรรเสริญพระบารมีในปัจจุบัน)
#จันทร์เจ้าขา,
วันนี้เลยขอเล่าเรื่องเพลงสื่อใจในสมัยรัชกาลที่5 เพลงหนึ่ง ซึ่งพูดถึงดวงจันทร์อันแทนความรัก ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจในเพลง “จันทร์เจ้าขา” ที่เป็นธีมเพลงประกอบเรื่องสั้นนี้นะครับ,
#เรื่องราวเพลงลาวดวงเดือน,
-พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5, อธิบดี กรมช่างไหม
เป็นผู้แต่งเพลงลาวดวงเดือน อันเป็นการระลึกถึงความรักที่มีต่อ เจ้านางชมชื่น ณ เชียงใหม่,
-ทรงนิพนธ์เพลงนี้จากบทร้องจากวรรณคดีเรื่อง "พระลอ" ขึ้นมาทำให้เกิดตำนานรักเพลง "ลาวดวงเดือน" ที่แทนรักและความคิดถึง เพราะรักแรกพบ ครั้งแรกของพระองค์ กับเจ้าหญิงชมชื่น กลับมีกรรมบันดาลม่านประเพณีขัดขวางไม่ให้ความรักสมหวัง,
-เล่ากันว่า พระองค์ท่านทรงแต่งเพลงนี้ ด้วยความร้าวรานปานขาดใจ ขณะอยู่บนเกวียนระหว่างเดินทางไปตรวจราชการที่ภาคอิสาน แถวๆ จังหวัดสุรินทร์ ถึงใช้ชื่อว่า "ลาวดำเนินเกวียน " มาก่อน,
-นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเล่าเพิ่มเติม อีกว่าท่านชายทรงงานเพื่อให้ลืมเรื่องในใจนี้ไป การมุงานจนเกินกำลังกายนี้เองทำให้พระองค์ชายเจ็บป่วยบ่อยๆ และเมื่อใดที่ทรงระลึกถึงเจ้าหญิงชมชื่น ก็จะทรงดนตรีเพลงลาวดำเนินเกวียน (ลาวดวงเดือน) เพลงนี้ หรือให้มหาดเล็กเล่นให้ฟัง มาตลอดพระชนม์ชีพ,
-จนกระทั่งวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 พระองค์ก็จากโลกนี้ไปโดยมีพระชันษาเพียงแค่ 28 ปี, และเมื่อข่าวการสิ้นชีพของท่านชายไปถึงภาคเหนือก็ทำให้เจ้าหญิงชมชื่นเกิดอาการ ซึมเศร้าทันที ว่ากันว่าความรักในใจของเจ้าหญิงก็ไม่เคยจางในหัวใจของท่าน หนึ่งปีให้หลังเจ้าหญิงชมชื่น ก็สิ้นชีพลงเช่นกันโดยมี ชันษา 23ปีเพียงเท่านั้น....
#เกร็ดเพิ่มเติม
สำหรับเพลงจันทร์เจ้าขา ผมและน้องเปรม ช่วยกันแต่ง โดยจะมีสองท่อนครับ และเราใช้ เมโลดี้ ใน C major Pentatonic Scale คือ โน๊ต C-D-E-G-A ในการประพันธ์ทำนอง เช่นเดียวกันกับโน๊ตเพลงไทยเดิม ดังที่กล่าวชื่อมาข้างต้น และเล่นล้อกับ โน๊ตของเพลงลาวดวงเดือน เพื่อพยายามให้ถ่ายทอดอารมณ์ ตามความรู้สึกของท่านชาย ในตอนนั้นครับ,
-ท่อนแรก เนื้อหา ร้องว่า
จันทร์เจ้าขา
คล้ายดังแววตา ..นวลเจ้า
ดาวพร่างพราว
เผลอมองดูเจ้า..นอนฝัน
หลับตาลงครั้งใด
อุ่นในใจอย่างนั้น..
คิดถึงกัน บ้างไหมนะ
เจ้านวลจันทร์
จันทร์เจ้าขา
ขอช่วยส่งความ..คิดถึง
ดาวพร่างพราย คิดครวญ
คนึง..เฝ้าหา
หลับตาลงครั้งใด
อบอุ่นใจหนักหนา
ยามที่คิดถึงครา
เมื่อเราเจอกัน..
สำหรับท่อนที่สอง จะปรากฏในตอนที่ 2 ครับ
ท้ายสุดนี้ หม่อมทินกรท่านยังได้กล่าวประโยคนี้ในอีกตอนหนึ่ง ว่า
“ความรักนี้ย่อมมีการพลัดพราก แต่หากด้วย แรงอธิษฐาน และความเสียสละเพื่อสยาม.. จึงทำให้เจ้าทั้งสองได้กลับมาพบกันอีกครั้ง..”
สวัสดีและขอจบ เพียงเท่านี้
ขอบคุณครับ,
ร้อยเรียงข้อมูล (T.Mon)
12/5/2020
ข้อมูลสนุบสนุนส่วนหนึ่ง:โยชิกาวะ โทชิฮารุ และอิชิอิ โยเนะโอะ.  (2530).  ความสัมพันธ์ ไทย-ญี่ปุ่น 600 ปี.  กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นดิ้ง กรุ๊พ.ศิลปวัฒนธรรม.
เพลงจันทร์เจ้าขา: เนื้อร้อง+ทำนอง (T.Mon+Prame), เปียโน:เปรม,ขลุ่ย:คุณพ่อน้องเปรม,

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา