14 พ.ค. 2020 เวลา 17:50 • การศึกษา
"เคล็ดลับพินัยกรรมอย่างง่ายทำได้ด้วยตัวเอง"
เมื่อคนเราหมดอายุขัยจากโลกนี้ไปคนข้างหลังมักจะพูดกันว่า "เขาหรือเธอไปสบายแล้ว" แต่สิ่งที่คนข้างหลังต้องมาจัดการต่อก็คือเรื่องมรดกต่าง ๆ ของผู้ตาย ซึ่งตามกฎหมายถือว่าทรัพย์สิน สิทธิ์ และหน้าที่ต่าง ๆ ของผู้ตายย่อมเป็นมรดกตกทอดถึงแก่ทายาทของผู้ตายทันที
หากทายาทคุยกันรู้เรื่องสามารถแบ่งมรดกกันได้ด้วยดีก็ไม่มีปัญหา แต่หากทายาทที่มีสิทธิ์ได้รับมรดกตามกฎหมายแต่เพียงผู้เดียวไม่แบ่งมรดกให้คนอื่นเลยทั้งที่เจ้ามรดกรักมากและอยากแบ่งให้ก็จะมีปัญหา
เช่น สมชายมีน้องสาวชื่ออังคณาซึ่งดูแลช่วยเหลืองานของสมชายมาตลอดเป็นน้องที่สมชายรักมากอยากแบ่งมรดกให้ แต่สมชายแต่งงานจดทะเบียนสมรสกับวิภาดาถูกต้องตามกฎหมาย ไม่มีบุตร บิดามารดาเสียชีวิตหมด ดังนั้นวิภาดาจึงเป็นทายาทตามกฎหมายผู้มีสิทธิ์ได้รับมรดกแต่เพียงคนเดียว ในขณะที่อังคณาซึ่งเป็นน้องสาวที่สมชายรักมากจะไม่ได้รับมรดกเลย เรียกได้ว่าถ้าสมชายรับรู้ได้คงนอนตายตาไม่หลับเลยทีเดียว
แต่กฎหมายก็มีทางเลือกที่เจ้ามรดกสามารถยกทรัพย์สินให้ใครก็ได้ที่เจ้ามรดกรักได้ตามใจชอบ ซึ่งผู้ที่เจ้ามรดกจะยกทรัพย์สินให้ถือว่าเป็นทายาทที่มีสิทธิ์ตามพินัยกรรมเรียกว่า "ผู้รับพินัยกรรม" แต่ข้อสำคัญพินัยกรรมต้องทำถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดและไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นโมฆะ ข้อสำคัญพินัยกรรมต้องทำถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนด
1
เรื่องแรกที่ต้องรู้คือผู้ทำพินัยกรรมต้อง
1.มีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
2.ไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
3.ไม่เป็นคนวิกลจริต
มิฉะนั้นพินัยกรรมเป็นโมฆะ
กฎหมายกำหนดให้พินัยกรรมต้อง
1.ระบุวันเดือนปีที่ทำ
2.มีการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตาย เช่นประโยคที่ว่า "เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่ความตาย"
3.ยกทรัพย์สินของตนเอง (สินส่วนตัวเท่านั้น หากเป็นสินสมรสแม้เขียนไปก็ไม่มีผลตามกฎหมาย) หรือในการต่าง ๆ ที่จะทำให้เกิดผลบังคับตามกฎหมายเมื่อตนเองตายแล้วก็ได้ เช่นการจัดงานศพ
4.พินัยกรรมหากทำหลายฉบับ ฉบับที่มีผลบังคับคือฉบับที่ลงวันที่ทำครั้งสุดท้าย
5.ต้องมีพยานเซ็นรับรองพร้อมกันอย่างน้อย 2 คนจะเซ็นคนละเวลาไม่ได้ หมายความว่าตอนเจ้ามรดกลงนามในพินัยกรรม พยานต้องอยู่พร้อมกัน 2 คน
พยานต้องมีคุณสมบัติดังนี้
●พยานหรือคู่สมรสของพยานต้อง.........
อ่านต่อได้ที่บทความฉบับเต็มที่ https://bit.ly/3fGs5IF
โฆษณา