17 พ.ค. 2020 เวลา 02:02 • ปรัชญา
“อาตมาเห็นว่า ‘มัน’ ยังอยู่กับท่าน”
เรื่อง ‘’พระพุทธเจ้าบนก้อนหิน’’
http://patniboon.blogspot.com/2012/11/zen.html
ว่าด้วยปรัชญาแห่ง ‘’เซน’’
ZEN
ปรัชญาเซนนั้นได้แทรกตัวเข้าไปจนกลายเป็นวิถีชิวิต สถาปัตยกรรม
ช่วงปี ค.ศ. 592
มังกรเซนรุ่นที่ เสิ้งฉานทะยานร่อนเร่ไปตามที่ต่างๆ ในแผ่นดินทานได้พบสามเณรน้อยรูปหนึ่งนาม เต้าซิ่น
ประวัติของเต้าซิ่นนั้นก็เช่นพระสังฆปริณายกองค์ก่อนหน้า คือไม่ได้รับการบันทึกไว้ชัด ทราบเพียงแต่ว่าท่านแซ่ซือหม่า เกิดที่มณฑลอันฮุย ทางเหนือของแม่น้ำสีเหลือง เริ่มศึกษาธรรมตั้งแต่อายุ 7 ขวบ และได้พบอาจารย์เสิ้งฉานเมื่ออายุ 14
ตำนานเล่าว่า……
เมื่อพบอาจารย์เสิ้งฉาน เต้าซิ่นกล่าวกับอาจารย์ ว่า ‘’ได้โปรดสอนวิธีปลดปล่อยตนให้เป็นอิสระแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด’’
อาจารย์เสิ้งฮานถามกลับว่า ‘’มีใครที่ผูกเจ้าอยู่หรือ?’’
‘’หามีไม่’’
‘’เช่นนั้นไยเจ้าต้องแสวงหาทางปลดปล่อยด้วยเล่า?’’
……ด้วยประโยคนี้ เต้าซิ่นก็บรรลุธรรม
คำสนทนานี้มีเนื้อหาคล้ายกับบทสนทนาธรรมระหว่างพระโพธิธรรมกับ ฮุ่ยเขอ และฮุ่ยเขอกับเสิ้งฉาน
นั่นคือ จุดหมายของการค้นหาหนทางปลดปล่อยที่แท้คือ ความว่างเปล่า
เต้าซิ่นจึงได้กลายเป็นศิษขอวเสิ้งฉาน ในเวลาต่อมา ติดตามเป็นเวลาเก้าปี จึงได้รับการถ่ายทอดตำแหน่งพระสังฆปริณายกองศ์ที่ 4 ด้วยวัยเพียงยี่สิบปีเศษ เท่านั้น
หลังจากนั้นเต้าซิ่นจึงได้เดินทางเผยแพร่ธรรมต่อไป
……… ครั้งหนึ่งเต้าซิ่นมีโอกาศได้พบกับพระรุ่นน้องรูปหนึ่งนาม หนิวโถวฝะหรง ผู้ซึ่งอ่อนวัยกว่า สิบสี่ปี
บันทึกโบราณชื่อ ‘’จิ่งเต๋อจ้วนเติงลู่’’ (Jingde Chuandeng Lu - Record of the transmission of the Lamp) … เล่าถึงการพบกันระหว่าง เต้าซิ่น กับ หนิวโถวฝะหรงว่า……
ครั้งหนึ่งท่านผ่านไปที่ภูเขาหนิวโถว (ภูเขาหัววัว)
ได้ยินว่ามีพระรูปหนึ่งนามว่า หนิวโถวฝะหรง ไปนั่งสมาธิในป่าจนบรรดานกคาบดอกไม้มาให้เสมอๆ. เต้าซิ่นจึงแวะไปเยือนพระรูปนั้น
หนิวโถวฝะหรง ศึกษาธรรมจากตำราต่างๆ และหาไม่พบทางที่พอใจจึงเข้าป่าไปนั่งสมาธิ อาศัยในวัดที่ภูเขาหนิวโถวซึ่งเป็นสถานที่รกร้างจนสัตว์ป่าหากินโดยไม่กลัวคน
เมื่อทั้งสองพบกัน เต้าซิ่นถามหนิวโถวฝะหรงว่า ‘’เจ้ากำลังทำอะไร’’
หนิวโถวฝะหรงตอบว่า ‘’กำลังดูจิต’’
‘’ใครกำลังมองดูจิต?’’ และอะไรคือ ‘’จิต’’ ?
หนิวโถวฝะหรงไม่ตอบ ลุกขึ้นโค้งคำนับเต้าซิ่น กล่าวว่า ‘’ท่านผู้เคารพอาศัยอยู่ที่ใด’’?
‘’อาตมาไม่มีบ้านอยู่ถาวร บางครั้งอยู่ที่นี่ บางครั้งอยู่ที่นั่น’’
‘’บางทีท่านอาจรู้จักอาจารย์เต้าซิ่น’’
‘’เจ้าจะถามอะไรจากท่านหรือ?’’
‘’อาตมาเคารพต่อจริยวัตรของท่านอาจารย์เต้าซิ่นมานาน อาตมาอยากจะพบและเคารพท่าน’’
‘’ อาตมาก็คือ เต้าซิ่น’’
… หนิวโถวฝะหรงรู้สึกยินดีและเชิญอาจารย์เต้าซิ่นไปพักผ่อนในกระท่อม
ระหว่างที่ทั้งสองเดินไปตามทางนั้น สัตว์ป่าตัวหนึ่งส่งเสียงคำรามอยู่ใกล้ๆ เต้าซิ่นสะดุ้งตัวลอย หนิวโถวฝะหรง จึงกล่าวว่า ‘’ท่านยังเป็นเช่นนี้หรือ?’’
‘’อะไรคือเช่นนี้??’’
หนิวโถวฝะหรงไม่ตอบคำถาม. แต่เต้าซิ่นรู้ว่า ‘ เช่นนี้’ หมายถึงสัญชาตญาณแห่งความกลัว
ไม่นานต่อมา. เต้าซิ่น แอบไปเขียนคำว่า ‘พระพุทธเจ้า’ บนที่นั่งที่หนิวโถวฝะหรงนั่งสมาธิเป็นประจำ
… ครั้งเมื่อหนิวโถวฝะหรงไปทำสมาธิ เห็นพระนามศักดิ์สิทธิ์แห่งพุทธ ก็ลังเล ที่จะนั่ง
เต้าซิ่นจึงเอ่ยว่า ‘’ท่านยังเป็นเช่นนี้หรือ?’’
ด้วยคำกล่าวนี้ … หนิวโถวฝะหรงก็ บรรลุธรรม และนกก็ไม่คาบดอกไม้มาให้อีก!.
ภายหลังหนิวโถวฝะหรงเป็นอาจารย์เซนรุ่นที่ห้า และเป็นผู้ก่อตั้งนิกายเซนสายหนิวโถวที่รุ่งเรื่องในแผ่นดินจีนช่วงศตวรรษที่ 7-8
…… เต้าซิ่นอพยบไปตั้งหลักที่ภูเขาซวงเฟิง(ภูเขาคู่) ท่านเป็นพระเซนรูปแรกในแผ่นดินจีนที่ตั้งหลักในวัดเดียวนานถึงสามสิบปี มีลูกศิษย์มากมาย
ในปี ค.ศ. 643 จักรพรรดิไท่จงแห่งราชวงศ์ถังทรงส่งคนไปเชิญอาจารย์เต้าซิ่น ในวัยหกสิบสาม เพื่อเข้าเฝ้า … ทว่าเต้าซิ่นปฏิเสธถึงสามครั้ง ครั้งสุดท้ายจักรพรรดิสั่งว่า ‘’คราวนี้หากนำตัวเต้าซิ่นมาไม่ได้ ก็ให้นำศีรษะของเขามาแทน’’
… คนเดินสารถ่ายทอดคำสั่งนั้นให้เต้าซิ่นฟัง ได้ยินดังนั้น เต้าซิ่นก็ยื่นคออย่างเงียบๆ ให้คนเดินสารตัด. คนเดินสารเห็นดังนั้นก็ตกใจ หวนกลับไปรายงานต่อจักรพรรดิ
พระองค์ทรงล้มเลิกความตั้งใจ และทรงยกย่องเต้าซิ่นอย่างใหญ่หลวง
ในสมัยก่อนนั้น วัดอยู่ไกลจากเมือง และ มีพระมาก การบิณฑบาตเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ พระเซนจึงต้องทำไร่ไถนาเช่นสามัญชน และฝึกธรรมไปด้วย
เซนจึงมีความหมายของการใช้ชีวิตติดดินไปโดยปริยายวิถีแบบนี้สืบเนื่องติดต่อกันมานานยาวหลายร้อยปี
พระเซนทำงานเยี่ยงชาวบ้าน ตักน้ำ ผ่าฟืน ปลูกพืชผัก ทำสวน…… แต่ทว่ากิจกรรมเหล่านี้คือกระบวนการทำความเข้าใจจิต นำไปสู่ภาวะเซน เพราะปัญญาแห่งเซนมิได้เกิดจากการเล่าเรียนพระปริยัติธรรมนานกว่า ท่องจำบทสวดได้มากกว่า มิใช่การบูชาพระปฏิมาอย่างอดทน …… หากแต่เกิดจากการฝึกมองลึกและเข้าใจธรรมชาติของตน นำไปสู่การรู้แจ้งซึ่งมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน
ดังนั้นการตักน้ำจึงมิใช่เพียงการเติมน้ำใส่ตุ่มให้เต็ม แต่เป็นการเติมปัญญาของตนให้เต็มด้วย. การผ่าฟืนจึงมิใช่เพียงการผ่าเศษไม้ แต่เป็นการผ่าอวิชชาออกจากตัว
…… และเครื่องมือที่ใช้ คือ ‘’สติ’’
…ก่อนตายเต้าซิ่นบอกลูกศิษย์ว่า ‘’พวกเจ้าต้องทิ้งธรรมทั้งหลายในโลกให้หมด’’
ความหมายของท่าคือ จงอย่ายึดติดกับศาสดา ตำรา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ
การรู้แจ้ง คือการบรรลุซาโตริ หมายถึงความสามารถที่จะมองเห็นชิวิต’ตามสภาวะความเป็นจริง’ ซึ่งก็คือความว่าง … และเมื่อเข้าใจความว่างก็เข้าใจทุกสิ่ง……
……
References
• หนังสือ ‘’มังกรเซน’’ เรียบเรียงและเขียนโดย
‘ วินทร์ เลียววาริณ’; หน้า ที่ 89-93
โฆษณา