22 พ.ค. 2020 เวลา 06:20 • ท่องเที่ยว
Road Trip Norway 2019 (10) … Oslo : Radhuset ศาลาว่าการกรุงออสโล (city Hall)
Oslo City Hall (Norwegian: Oslo rådhus) .. เป็นสถานที่ในการบริหารงานท้องถิ่นของนครหลวงแห่งนี้ รวมถึงการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารเมือง (City council & Administration) และใช้เป็นสถานที่ในการทำพิธีมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
Oslo City Hall … เป็นอาคารสีน้ำตาลขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงออสโล สร้างในสถาปัตยกรรมในสไตล์อาคารแฝดเรียบง่าย เน้นประโยชน์ในการใช้สอย ก่อด้วยอิฐแดงกว่า 8 ล้านก้อนที่มีขนาดใกล้เคียงกับอิฐที่ใช้ก่อสร้างในช่วงยุคกลาง อาคารมีความสูง 66 เมตร และ 63 เมตร
อาคารแห่งนี้ออกแบบโดย Amstein Ameberg และ Magnus Poulsson ซึ่งเป็นสถาปนิกชาวนอร์เวย์ … เริ่มสร้างในปี 1931-1950 และใช้เวลาในการร้างทั้งหมด 19 ปี ด้วยต้องหยุดการก่อสร้างในช่วงที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
วันที่ 15 พฤษภาคม 1950 .. มีพิธีเปิดใช้อาคารอย่างเป็นทางการ และเฉลิมฉลองวาระ 900 ปีกรุงออสโล .. ในปี 2005 ได้รับการประกาศให้เป็น “Structure of the Century”.
ศาลาว่าการเมืองแห่งนี้ ใช่จะเป็นเพียงอาคารอิฐแบบทั่วๆไป ดังเช่นลักษณะภายนอกที่เรามองเห็นด้วยตาจากระยะไกล .. แต่หากยังเป็นเสมือนหนังสือเล่มใหญ่ที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของนอร์เวย์ เริ่มตั้งแต่ในส่วนของทางเดินไปจนถึงประตูทางเข้าหลักไปเลย
อาคารฝั่งทางด้านทิศตะวันออก มีระฆังจำนวน 49 อัน ซึ่งจะตีบอกเวลาทุกๆชั่วโมง .. ระฆังใบใหญ่สุดหนัก 4 ตัน มีโลโก้ของกรุงออสโลติดอยู่ คือ ภาพของนักบุญอุปถัมภ์ Saint Hallvard และคตืพจน์ของเมือง: “Unanimiter et constanter” (Latin: united and constant)
ทางด้านทิศเหนือของอาคารเป็นนาฬิกาดาราศาสตร์
การตกแต่งภายนอกอาคารศาลาว่าการกรุงออสโล
ทิศตะวันตก : เป็นผลงานของ Anne Grimdalen ซึ่งเป็นรูปของ Harald Hardråde บนหลังม้า
ด้านหน้าอาคาร : เป็นผลงานของNic Schiøll
ซึ่งเป็นรูปของ St. Hallvard หันหน้าไปทาง Oslofjord
ด้านที่หันหน้าไปทางจัตุรัส : : เป็นผลงานของDagfin Werenskiold
ซึ่งเป็นเรื่องราวในมหากาพย์ Poetic Edda
ทางเข้าอาคาร : เป็นรูปปั้นผลงานของ Joseph Grimeland อยู่ตรงทางเข้า
และรูปปั้น Oslopike ("Oslo girl") ที่ผนัง
ด้านหน้าอาคาร : เป็นผลงานของPer Palle
เป็นรูปของช่าง 6 คนที่สร้างอาคารหลังนี้
การตกแต่งภายในอาคาร
เมื่อการก่อสร้างอาคารเสร็จสิ้นลง มีการแข่งขันประกวดงานออกแบบตกแต่งภายในในเดือนมกราคม 1937 … ในที่สุดก็ได้ 8 ศิลปินด้านวาดภาพ และประติมากรอีก 17 คนที่มาทำงานตกแต่งภายในอาคาร และใช้เวลายาวนานหลายปีจึงเสร็จในช่วงปี 1950 (ยกเว้น sculpture park ซึ่งมาเสร็จภายหลังในช่วงปี 1960s)
Main Hall : ห้องโถงใหญ่
ภายในห้องโถงใหญ่ของอาคาร มีขนาดความกว้าง 31 เมตร ยาว 39 เมตร และสูงราว 21 เมตร ออกแบบตกแต่งโดย Henrik Sørensen และ Alf Rolfsen
พื้นและส่วนหนึ่งของผนังปูด้วยหินอ่อน ภายในห้องโถงมีภาพวาดประวัติศาสตร์ที่จำลองสภาพของบ้านเมืองในกรุงออสโลและ ประเทศนอร์เวย์ในช่วงสงคราม รวมถึงในช่วงที่ถูกยึดครอง ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 … ผนังด้านตะวันออกแสดงประวัติการถูกยึดครองโดย นาซี
มีภาพปูนปั้นบางส่วนที่แสดงถึงปั้น แสดงเสาหลักของคนนอร์เวย์ คือ การทำประมง ป่าไม้ และอุตสาหกรรม ความก้าวหน้าในเรื่องการค้าขายในเมือง ซึ่งรวมถึงความเคลื่อนไหวของผู้ใช้แรงงาน
Nobel Peace Prize ceremony
วันที่ 10 ธันวาคม (ซึ่งเป็นวันครบรอบการจากไปของ Alfred Nobel) ของทุกปี ทางการเมืองออสโลจะเป็นเจ้าภาพในการทำพิธีมอบรางวับโนเบล สาขาสันติภาพ
(รางวัลโนเบลอื่น ๆ ได้รับรางวัลในสตอกโฮล์ม)
ในงานวันนั้น จะมีการกล่าวสุนทรพจน์ประจำปีจากผู้ที่ได้รับรางวัล และมีการมอบเหรัยญและใบประกาศเกียรติคุณ และเหล่าราชวงศ์ของนอร์เวย์ รวมถึงนายกรัฐมนตรี ก็จะมาร่วมงานด้วย
บางส่วนเป็นภาพของเหล่าราชวงศ์ นักบุญ ซึ่งรวมถึง St. Hallvard ซึ่งเป็นนักบุญผู้อุปถัมภ์กรุงออสโล
ตำนานกล่าวเอาไว้ว่า .. Hallvard เป็นบุตรชายของคนร่ำรวย วันหนึ่งมีหญิงมีคครภ์ที่กำลังหิวโหยได้ขโมยอาหารมาจากในตลาด และเมื่อพ่อค้าไล่จับเธอได้ ก็จะลงโทษประหาร แต่นางได้วิ่งมาขอความช่วยเหลือจาก Hallvard
Hallvard ได้พานางหนีไปโดยใช้เรือของเขา แต่ถูกไล่ตามมาจนทัน และถูกยิงด้วยธนู 3 ดอก .. เมื่อคนที่ไล่ล่าตามมาถึงและเห็นประจักษ์ว่าตนได้ว่าได้ฆ่าใครลงไป พวกเขาเกิดความตระหนก จึงเอาโม่หินมาแขวนที่คอของ Hallvard แล้วโยนร่างลงไปในมหาสมุทร … แต่วันต่อมาร่างนั้นกลับลอยขึ้นมาได้เอง แม้ว่ารอบคอจะมีโม่ที่แสนหนักแขวนอยู่ก็ตาม เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นซ้ำๆหลายครั้ง จนชาวบ้านเชื่อถือ และยกย่อง Hallvard ให้เป็นนักบุญอุปถัภ์แห่งออสโล ในปี 1073
ผลงานการตกแต่งภายในอาคาร Oslo City Hall โดย Per Krohg (1889-1965)
The Wooden Friezes of Oslo City Hall
ส่วนที่ดีที่สุดของการตกแต่งศาลาคือการแกะสลักไม้ 16 ชิ้นที่ยอดเยี่ยมของตำนานนอร์สซึ่งตั้งอยู่ด้านนอกในลานทางเข้า จากผลงานของ Dagfin Werenskiold (1892-1977) ผู้ซึ่งเป็นทั้งศิลปินนักวาดภาพและประติมากร .. ภาพแต่ละแผงอย่างน้อย 2 ม. X 2 ม. และแกะสลักในสไตล์ไร้เดียงสาที่จับจิตวิญญาณของเทพนิยายมาเล่าอย่างแท้จริง ทั้งเรื่อง สอนใจกับความรัก สงครามและความเกลียดชัง รวมถึงวิสัยทัศน์สู่อนาคต
ภาพนี้เป็นเรื่องราวของเทพสตรีแห่งโชตชะตา ซึ่งเหล่าเทพสตรีเหล่นี้ได้รดน้ำใบไม้ของโลก หรือใบไม้ศักดิ์สิทธิ์ (the holy tree – Yggdrasil) ทุกวันด้วยน้ำที่ท่วมโลก จนน้ำกลายเป็นละอองน้ำค้างที่ไหลลงสู่หุบเขา ดังนั้นใบไม้ศักดิ์สิทธิ์จึงมีสีเขียวอยู่ตลอดกาล
ภาพนี้คือ Nidhogg – ลักษณะเหมือนมังกร ซึ่งแทะและฉีกรากส่วนที่สามของ ash Yggdrasil ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งรากแผ่ขยายไปสามทิศทาง ..
รากอันหนึ่งมุ่งไปที่ the giant Mime’s well ซึ่งเป็นต้นตอของการจำ ระลึกได้ และ ณ ที่นี้ ทุกอยางจะสะท้อนให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วอีกครั้ง ดังนั้นบ่อน้ำนี้จึงเต็มไปด้วยความฉลาดเฉลียว .. ส่วนที่เหลือ Odin’s eye pawned so that he may drink of the fountain of Mime
รากอีกอัน มุ่งไปยังบ่อน้ำของ Well of Urd .. ในขณะที่รากที่สามไปที่ Kvergjelmir in Nivlheim (โลกใต้พืภพ หรือโลกของความตาย)
ภาพประติมากรรมที่ ศาลาว่าการกรุงออสโล (The Sculptures of Oslo City Hall)
ภาพย่าน Pipervika ในสมัยเก่า .. เป็นย่านที่โสเภณีมาเร่ขายบริการในช่วงสมัยวิคตอเรียน ซึ่งเป็นเวลาที่ผู้หญิงที่ยากจนมีความยากลำบากในการหางานทำ ในภาพเป็นโสเภณีพร้อมกับชายที่ดูแลเธอ (ทางด้านซ้ายมือ) และลูกค้าที่ร่ำรวยอยู่ทางขวามือ .. พื้นที่แห่งนี้ต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 20 เป็นสถานที่สร้างศาลาว่าการกรุงออสโล
ฉันชอบทัศนคติของการดำรงไว้ซึ่งความจริงอันเป็นภูมิหลังของพื้นที่ แม้จะเป็นการเล่าเรื่องโสเภณีที่ทำมาหากินที่นี่เมื่อนานมาแล้ว ... อดคิดใจใจไม่ได้ว่า ที่อื่น จะคิดและทำอย่างนี้หรือไม่หนอ?
ภาพนี้ เพื่อระลึกถึง ชาวประมงของนอร์เวย์
ภาพนี้เป็นการระลึกถึงชาวประมงของนอร์เวย์
ภาพนี้ เป็นการเฉลิมฉลองในหมู่ชนชั้นแรงงาน ตั้งอยู่ทางเข้าศาลาว่าการกรึงออสโลด้านทิศใต้
ชั้นสองของอาคาร
ผู้ไปเยือนจะได้เห็นขุมทรัพย์ อย่างเช่น “Munch room”
“Festgalleriet” (the Ceremonial Gallery) ซึ่งตกแต่งด้วยผ้าทอ เป็นเรื่องราวบางส่วนของประวัติศาสตร์ของประเทศนี้
ประตูทางเช้า Banquet Hall
ภายใน Banquet Hall มีภาพของพระราชวงศ์นอร์เวย์บางพระองค์ รวมถึงมีภาพพระสาทิสลักษณ์ของ King Harald V และพระราชินี Sonja .. King Olav V และ King Haakon VII
.. นอกจากนี้ยังมีห้องจัดแสดงของที่ระลึกจากประเทศต่างๆ รวมทั้งเรืออนันตนาคราช จากประเทศไทยด้วย
ทางเดินนำไปสู่ City Council Hall
City Council Hall
ห้องที่ใช้เป็นที่ประชุมสมาชิกสภา(City Council) ของเมือง ที่เรียกว่า Bystyresalen
ลักษณะเป็นห้องครึ่งวงกลม กรุด้วยไม้โอ๊คและผ้าทอซึ่งออกแบบอย่างสวยงามโดย Else Poulsson ทอโดย Else Halling.. เล่าเรื่องราวของ St. Hallvard และ คุณธรรม 7 ประการ (seven virtues) ซึ่งคงออกแบบเพื่อเตือนใจนักการเมืองให้คำนึงถึงคุณธรรม และการตัดสินใจที่ถูกที่ควร
การตกแต่งที่ชั้นสองของอาคาร ผลงานของ Henrik Sorensen
มุมหนึ่งของถนน มีต้นดอกไม้สีชมพูหวานบานสะพรั่ง และโปรยปรายกลีบดอกลงบนพื้นจนดูเหมือนพรมดอกไม้แสนหวาน
สวนข้างศาลาว่าการเมืองออสโล และอ่าวออสโลในยามเย็น … บรรยากาศในช่วงเดือนพฤษภาคม
ข้างๆศาลาว่าการเมืองออสโลมีสวนสาธารณะขนาดไม่ใหญ่โต แต่งดงามด้วยการจัดสวนให้มีพื้นที่สูงต่ำลดหลั่นกัน และรายรอบสวนด้วยการตกแต่งด้วยประติมากรรม น้ำพุ และแปลงดอกไม้สวยๆ ซึ่งในช่วงที่ฉันไปเยือนมีทิวลิปพันธุ์ต่างๆหลากสีบานสะพรั่ง แข่งกันชูช่อรอรับการมาเยือนของผู้คน
หน้าอ่าว หลังศาลาว่าการเมือง … มีลาน ประดับด้วยรูปประติมากรรม และน้ำพุ มีม้านั่งยาวให้ทอดตัว เอนกายลงผ่อนพัก ... ส่งสายตาไปยังประติมากรรมหลากหลายที่ถูกใช้ประดับ
รูปประติมากรรม ประดับอยู่ตรงลานหลังศาลาว่าการกรุงออสโล ตรงทางเดินออกไปที่หน้าอ่าว
คนยุโรป ถือคตินิยมทางศิลปะของกรีก .. ความงดงามของร่างกายมนุษย์ ... เราจึงเห็นความชื่นชอบของผู้คนที่นำเอารูปปั้นเปลือยมาตกแต่งสถานที่อยู่ทั่วไป เป็นเรื่องปกติ
โฆษณา