26 พ.ค. 2020 เวลา 23:50 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
>> .F.R.O.S.T. <<
... ความหนาวเย็นยะเยือก มีอันตราย มากกว่าที่คุณคิด
ภาพประกอบ
.... หากใครที่เคยเดินทางท่องเที่ยวไปในสถานที่มีสภาพอากาศหนาวเย็น จนเป็นน้ำแข็ง ต้องเคยมีประสบการณ์เช่นนี้อย่างแน่นอน...
1
- เท้าชา ไม่มีความรู้สึก
- ปลายนิ้วแดง หรือเป็นตุ่ม
- ปลายมือ หรือ ปลายนิ้วดำ และก็หักไปเอง
โพสต์นี้ผมจะพาทุกคนมาทำความรู้จัก .... อันตรายที่เกิดขึ้นจากความหนาวเย็นกัน
https://www.tnews.co.th/social/488584/
-COLD INJURY-
• การบาดเจ็บอันเนื่องมาจากความเย็น เรามาทำความรู้จัก ให้มากขึ้นกันสักหน่อย....
https://www.youtube.com/watch?v=GttUCZIRj0c
Cold injury : การบาดเจ็บจากความเย็น
ประกอบด้วย
1. Non-Freezing injury
2. Freezing injury
ซึ่งแยกจากกันโดย อุณหภูมิที่จุดเยือกแข็ง ที่ 0 องศาเซลเซียส
• Non-Freezing Injury : การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นเมื่ออุณภูมิสิ่งแวดล้อมสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส
....ซึ่งประกอบด้วย
Trench foot : เท้าเหี่ยว
- เกิดจากการที่แช่ อยู่ในพื้นที่เปียกชื้น เป็นเวลานาน (13 ชม. เป็นต้นไปโดยประมาณ)
- อาการ จะมีตั้งแต่ เหน็บๆ ชาๆ บริเวณเท้า , ผิวซีดขาว , และเหี่ยวย่น หรือบางครั้ง จนคลำชีพจรแทบไม่ได้
Trench foot
***เกร็ดความรู้ : ย้อนไปในสมัยก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 หล่าบรรดาทหารต้องแออัดกันอยู่ในหลุมที่ถูกขุดเป็นแนวยาว พวกเขาต้องกิน นอน และต่อสู้กันในพื้นที่แคบๆ และพื้นที่เหล่านี้มันคือสภาพตามหลักนิยมของการรบในช่วงยุคนั้น ที่กองทัพทั้งสองฝ่ายมาประจัญหน้ากันในพื้นที่เปิดโล่ง ต่างฝ่ายต่างคุมเชิงผลัดกันรุกและรับ สงครามประเภทนี้รู้จักกันในชื่อของ “สงครามสนามเพลาะ หรือ Trench Warfare” เท้าของเหล่าทหารนั้น มีสภาพเป็นเช่นนี้จึง เป็นที่มาของ Trench Foot
Chilblains หรือ perino
- เป็นปฏิกิริยาการอักเสบของหลอกเลือดขนาดเล็กในผิวหนัง เมื่อตอบสนองต่ออุณหภูมิที่หนาวเหน็บ
- คำว่า “Chilblains” มาจาก คำว่า “chill” ที่แปลว่าเย็น และ” Blegen” ที่แปลว่า แผล. รวมแปลว่า แผลจากความเย็น
- อาการ : ผิวหนังแดง อักเสบ ปวดแสบร้อน ส่วนมากพบบริเวณผิวหนังส่วนปลายเช่น ปลายจมูก นิ้วมือ นิ้วเท้า และติ่งหู
- การรักษา แค่หลีกเรียกที่เย็นและแห้ง รักษาตนเองให้อบอุ่นและ หากไม่ดีขึ้นแพทย์จะให้ยาออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือด
Perino
Panniculitis : การตายของชั้นไขมันใต้ผิวหนัง
- เป็นปฏิกิริยาการอักเสบ และมีการตายของชั้นไขมันใต้ผิวหนัง
- อาการแสดง: จะมีลักษณะเป็นผื่นแดงมักพบในเด็ก โดยเฉพาะบริเวณแก้ม ของเด็ก
- การรักษา ยังไม่มีการรักษาที่ได้ผล
Panniculitis
Cold Urticaria : ผื่นแพ้ลมพิษจากการกระตุ้นด้วยความเย็น
- การจากปฏิกิริยาแพ้ภูมิตนเองของร่างกาย โดยการกระตุ้นด้วยความเย็น ลักษณะเหมือนผื่นแพ้ลมพิษทุกประการ
- การรักษา คือ การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น และ รับประทานยาแก้แพ้
Urticaria
• Freezing Injury : คือการบาดเจ็บอันมาจากอุณภูมิสิ่งแวดล้อมที่ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส
- กลไก การเกิดจาก ความเย็นต่ำกว่าจุดเยือกแข็งกระตุ้นให้ผนังของหลอดเลือดมีการอักเสบเกิดขึ้นและ เกิดปฏิกิริยาการอักเสบต่อเนื่องและ เกิดการอุดตันตามมา จึงเกิดการเน่าแบบแห้ง(Dry gangrene)
ชั้นผิวหนัง
ชั้นผิวหนัง
*** ชั้นผิวหนังคนเรา ประกอบด้วย 4 ชั้น
• epidermis : ชั้นบนสุด คือ ผิวหนังคนเราที่เห็นและสัมผัสกันนั่นเอง ประกอบด้วย ผิวหนังและ ปลายประสาท
• dermis : ชั้นใต้ผิวหนัง เป็นชั้นที่ประกอบด้วย เส้นเลือดและ ปมประสาท รวมทั้ง ปลายประสาทรับอุปหภูมิ และการสั่นไหว
• hypodermis/Subcutaneous : คือ ชั้นเนื้อเยื่อไขมัน และร่างแหเส้นเลือดและเส้นประสาท
• Muscle / Bone : เป็นชั้น ลึกสุด คือ กล้ามเนื้อและ กระดูก นั่นเองครับ
.... ซึ่ง Freezing Injury แบ่งย่อยตามความรุนแรงตามความลึกของชั้นผิวหนัง เป็น 2 กลุ่ม
ได้แก่ 1. FrostNip และ 2. Frostbite
(แบ่งระยะหลังจากทำการ อบอุ่นแล้วเรียกว่า Remarming)
• Frostnip(first degree) ระยะที่ 1 : เป็นลักษณะแดงๆ คล้ายแผลถลอก มีอาการปวดแสบๆ ได้
• Frostbite(น้ำแข็งกัด): แบ่งย่อยได้เป็น 3 ระยะ
>> 1. Second degree frostbite ระยะที่ 2 : full thickness skin frezzing คือการบาดเจ็บทั้งชั้นผิวหนัง(epidermis) จนเกิดการหลุดลอกเป็นตุ่มน้ำ จะมีอาการปวดมาก ต่อมาเมื่อแห้งจึงกลายเป็นผิวหนังแห้งกรังสีดำ(BlackEschar)
>> 2. Third degree frostbite ระยะที่ 3 : มีการบาดเจ็บจนถึงชั้นใต้(dermis/Subcutaneous plexus)ผิวหนังที่มีเนื้อเยื่อหลอดเลือดอยู่ การบาดเจ็บในชั้นนี้จะมีลักษณะ ตุ่มน้ำ และมีเลือดปนในตุ่มน้ำ(hemorrhagic blister) อีกทั้งผิวหนังไม่มีคงามรู้สึกอีกต่อไป
>> 3. Fourth degree frostbite ระยะที่ 4 : เป็นการบาดเจ็บชั้นที่ลึกที่สุด ถึงชั้นกล้ามเนื้อ และกระดูก การบาดเจ็บในชั้นนี้ ผิวจะแห้งมากคล้าย มั่มมี่(Mummy) และแห้งกรัง
FrostNip(first degree frostbite) ระยะแรก
Second degree frostbite (ระยะที่ 2)
Third degree frostbite (ระยะที่ 3)
Fourth degree frostbite (ระยะที่ 4)
.... เป็นอย่างไรกันบ้าง ความร้ายกาจของความเย็น....
และสุดท้ายยยย....
>>> การรักษาดูแล กันครับ <<<
• ถ้าเจอผู้ที่มีอาการและกำลังอยู่ในสถานที่สิ่งแวดล้อมหนาวเย็น : ให้รีบเคลื่อนย้ายออกจากบริเวณดังกล่าวโดยเร็ว ** อย่าพยามที่จะให้ความอบอุ่น(Rewarming) ในสภาพแวดล้อมที่ยังหนาวเย็น
• เมื่อผุ้ป่วยออกมาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ ปกติแล้ว ให้ทำกาา rewarm โดยกาา แช่น้ำอุ่นที่ มีอุณภูมิประมาณ 39 -42 องศา เป็นเวลา อย่างน้อย 30 นาที..... ถ้าเป็นบริเวณใบหน้าให้ ใช้ น้ำอุ่นประคบ
• ที่สำคัญ เมื่ออุณภูมิส่วนดังกล่าวอุ่นขึ้น จะทำให้เกิดอาการปวด อย่างรุนแรงได้ ดังนั้นยาแก้ปวดจึงจำเป็นในระยะนี้
• สำหรับตุ่มน้ำ ไม่มีความจำเป็นต้อง เจาะ หรือลอกออก เนื่องจากว่า ผิวหนังส่วนที่ปกคลุมอยู่นั้น สามารถป้องกันการติดเชื้อได้
•สำหรับแผล สามารถใช้ เจลว่านหางจระเข้(alovera cream/gel) ทาบนิเวณแผลอักเสบได้ ทุก 6 ชั่วโมง
• สำหรับการบาดเจ็บระยะที่ 4 นั้นแม้ว่า ผิวหนังจะดำแห้งและแข็งไปแล้วก็ ยังไม่จำเป็นต้องรีบผ่าตัดออกเนื่องจากว่า ความลึกของแผลอาจลุกลามได้มากกว่านี้ ดังนั้นคำแนะนำคือควร รอดูก่อน
• และสิ่งสำคัญอีกอย่างคือ การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อบาดทะยัก ( Tetanus Vaccine )
• ยาฆ่าเชื้อ ยังไม่จำเป็น หากไม่พบลักษณะของการติดเชื้อ
References
โฆษณา