31 พ.ค. 2020 เวลา 06:42 • ประวัติศาสตร์
The History of US Camps and Bases in Thailand : ประวัติของฐานทัพอเมริกันในประเทศไทย : อุบลราชธานี
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ : ฐานทัพจีไอในประเทศไทย สมัยสงครามเวียดนาม
ปลายทศวรรษ 1950 จนถึงประมาณ ปี 1976 กองกำลังสหรัฐอเมริกาได้เข้ามาตั้งค่ายทหารและฐานทัพอากาศในประเทศไทยช่วงสงครามเวียดนาม ฐานทัพส่วนใหญ่กระจายอยู่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คาดว่ามีทหารสหรัฐประจำการอยู่ในเมืองไทยประมาณกว่าสี่แสนนาย
ฐานทัพต่างๆ ในประเทศไทยนับเป็นฐานทัพหลักในการปฏิบัติการโจมตีทางอากาศต่อคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือและประเทศใกล้เคียง เช่น ลาวและเขมร มีการประมาณว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของการโจมตีทางอากาศในช่วงสงครามเวียดนามนั้น เป็นผลมาจากปฏิบัติการฐานทัพในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสนามบินอู่ตะเภา อำเภอสัตหีบ ที่ตั้งของกองกำลัง บี 52 อันทรงอานุภาพ
ค่ายทหารและฐานทัพอากาศรอบๆเมืองไทย เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการในเวียดนาม เช่น สถานีเรดาร์และไมโครเวฟที่กระจายอยู่ในตามจังหวัดต่างๆ คอยดักฟังข้อมูลสำคัญทางการทหารและส่งคลื่นรบกวนการสื่อสารของฝ่ายศัตรู
หน่วยรบทางอากาศ เช่น Spectre AC-130 Gunship จาก จ. อุบลราชธานี ทำหน้าที่ทำลายและรบกวนการลำเลียงพลและการส่งกำลังบำรุงทางถนนของฝ่ายศัตรูผ่านเส้นทางโฮชิมิน หรือหน่วยกู้ภัยทางอากาศ รวมถึงหน่วยปฏิบัติการพิเศษ สกายเรดเดอร์ จ. นครพนม และยังมีหน่วยงานทางการทหารอีกมากที่มีประจำอยู่ตามจังหวัดต่างๆ
ฐานทัพอากาศที่ จังหวัดอุบลราชธานี
ฐานทัพอากาศที่จังหวัดอุบลราชธานีเป็นที่ตั้งของหน่วยปฎิบัติการ 8th Tactical Fighter Wing –หรือในชื่อที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายว่า หน่วย "Wolfpack"
หน่วยปฏิการนี้ ประกอบด้วยหน่วยปฎิบัติการบิน F-4D Phantom 4 หน่วยงาน คือ
หน่วยปฎิบัติการพิเศษซึ่งทำการบินด้วยเครื่องบิน AC-130 gun ships และหน่วยทิ้งระเบิด 13th Bomb Squadron (B-57G's) ซึ่งมีการปฎิบัติการระหว่างเดือน กันยายน 1970 ถึง เดือน เมษายน 1972 …หน่วยงานนี้จะออกปฎิบัติการส่วนใหญ่ในช่วงเวลากลางคืนเพื่อยับยั้งการเคลื่อนกำลังของหน่วยรถบรรทุกของกองกำลังเวียดนามเหนือในเส้นทางโฮชิมิน
สำหรับหน่วยอื่นในฐานบินอุบลประกอบด้วยหน่วย 23rd Tactical Air Support Squadron ซึ่งทำการบินด้วยเครื่องบิน OV-10 และหน่วย 23rd's "Rustic FAC's" ซึ่งทำการบินเพื่อปฎิบัติการสนับสนุนหน่วยรบภาคพื้นดินเพื่อยับยั้งการปฎิบัติการของกองกำลังสนับสนุนของข้าศึก
อีกหน่วยงานหนึ่งที่มีการดำเนินงานที่นี่คือหน่วย the 3rd Aerospace Rescue and Recovery Group ซึ่งทำหน้าที่กู้ภัยเครื่องบิน การพักฟื้นของลูกเรือ และดำเนินการงานอพยพ หน่วยงาน 222nd Tactical Fighter Squadron ของกองทัพอากาศไทย จะร่วมปฎิบัติการด้วยเครื่องบิน T-28, C-47 และ HH-34
หน่วยงานที่สำคัญประกอบด้วย
Det 3, 3rd ARRG
8th Tactical Fighter Wing
25th Tactical Fighter Squadron
Det 5, 6th Aerial Port Squadron
Det 17, 10th Weather Squadron
1982 Communications Squadron
4th Tactical Fighter Wing (TDY)
433rd Tactical Fighter Squadron
435th Tactical Fighter Squadron
497th Tactical Fighter Squadron
16th Special Operations Squadron
Det 3, 621st Tactical Control Squadron
OL-1, 23rd Tactical Air Support Squadron
AIRCRAFT ASSIGNED: F-4D, F-4E, AC-130, HH-43B, OV-10
RUNWAY LENGTH 9,000-foot, asphalt and concrete
HOSPITAL FACILITIES 25-bed dispensary
PERSONNEL STRENGTH: 5,000 U.S. military
MILES FROM BANGKOK, 250 miles northeast of Bangkok
ประวัติของกองกำลังทางอากาศสหรัฐอเมริกา ที่เข้าประจำการที่ฐานทัพอากาศ จังหวัดอุบลราชธานี
หน่วยปฎิบัติการ 8th Tactical Fighter Wing เดิมเริ่มมีการปฏิบัติการในปี 1931 ในฐานะเป็นหน่วยงานที่เรียกว่า the 8th Pursuit Group ซึ่งหน่วยงานนี้มีประวัติอันยาวนานในการสนับสนุนกองกำลังสหรัฐอเมริกา
หน่วยปฎิบัติการนี้เข้าร่วมในสงครามทุกแห่งที่สหรัฐอเมริกามีส่วนร่วมนับตั้งแต่ได้มีการก่อตั้งหน่วยนี้ขึ้นมา และได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติ์ในการปฎิบัติการดีเด่นที่ นิวกินี หมู่เกาะฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น เกาหลี และในการปฎิบัติการในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
หลังจากที่กลับจากการปฎิบัติการที่ประเทศญี่ปุ่นในเดือน กรกฎาคม ปี 1964 หน่วย 8th TFW ได้ปรับเปลี่ยนเครื่อง McDonnell F-4C Phantom II ที่ฐานทัพอากาศ George AFB, Calif. ในระยะเวลาสั้นๆเพียง 18 เดือนก็ได้ปรับเปลี่ยนตัวเครื่องบินอีกครั้งและถูกส่งเข้ามาปฎิบัติการในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ใน 2 หน่วยคือ the 68th และ 431st Tactical Fighter Squadrons
หน่วยปฎิบัติการทั้ง 2 หน่วยร่วมกับหน่วย 45th and 47th TFS ได้ผลัดเปลี่ยนกันเข้าร่วมการโจมตีเวียดนามเหนือ โดยการบินออกจากฐานบินที่จังหวัดอุบลราชธานี
เครื่องบิน MIG-17sของรัสเซีย 2 ลำแรกที่ถูกยิงตกและโดนทำลายในสงครามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกยิงโดยนักบินซึ่งทำการบินด้วยเครื่อง F-4Cs จากฐานบินอุบลราชธานีนี่เอง
ในช่วงกลางเดือน พฤศจิกายน 1966 เครื่อง 8th TFW ได้เตรียมพร้อมเพื่อเข้าร่วมการเคลื่อนไหวและการปฏิบัติการทางทหารในภูมิภาคนี้ เมื่อเข้ามาถึงฐานทัพอากาศที่อุบลราชธานี หน่วยงานนี้ประกอบด้วย หน่วย 433rd and 497th TFS โดยมีหน่วย the 8th Field Maintenance Squadron, 8th Organizational Maintenance Squadron, 8th Armament และ Electronics Maintenance Squadron and the 408th Munitions Maintenance squadron ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานสนับสนุน
ในเดือนกุมภาพันธ์ 1966 หน่วยปฎิบัติการ 555th Tactical Fighter Squadron ได้มีเครื่องบินรบ F-4Cs มาเป็นกำลังเสริม .. ในเดือน กรกฎาคม 1966 หน่วยปฏิบัติการ 435th TFS ได้เพิ่มเครื่อง F-104s เข้ามาเป็นกองกำลังขึ้นตรงต่อหน่วย ถึงแม้ว่าจะออกปฏิบัติการจากฐานบินจังหวัดอุดรธานีก็ตาม
เมื่อถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 1966 หลังจากออกปฏิบัติการมาครบ 6 เดือน .. หน่วยนี้ก็ได้ออกปฏิบัติการรบมากกว่า 10,000 ครั้ง และมีผลการปฏิบัติการเป็นที่น่าพอใจมากกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งได้รับการยกย่องในความสำเร็จอย่างสูง และเมื่อสิ้นเดือนธันวาคม 1966 มีรายงานการปฏิบัติการรบถึง 13,809 ครั้ง
นอกจากนี้หน่วย 555th "triple nickel" squadron ก็ได้ทำลายเครื่องบิน มิกซ์ของข้าศึกได้ถึง 5 ลำ และนับว่าเป็นจำนวนที่มากที่สุดนับตั้งแต่สงครามเกาหลีเป็นต้นมา
เมื่อสิ้นสุดปี 1967 หน่วย 555th TFS ได้ทำลายเครื่องบินมิกซ์ของช้าศึกรวม 18 ลำ ในขณะที่หน่วย 433rd TFS สามารถทำลาย 12 ลำ ซึ่งทำให้ทั้งหน่วยปฏิบัติการมีสถิติทำลายเครื่องมิกซ์ ได้ถึง 30 ลำ เมื่อสิ้นปี 1967
เหตุการณ์ที่สำคัญที่น่าจะนำมากล่าวในที่นี้ คือเหตุการณ์ที่เกิดเมื่อปี 1967 เมื่อหน่วย 8th TFW ได้เข้าโจมตีฐานที่ตั้งของข้าศึกทางภาคพื้นดิน การปฏิบัติการในครั้งนั้นนำโดย Major Thomas D. Hirsch แห่งหน่วย 555th TFS ได้เข้าทำการโจมตีฐานที่ตั้งของข้าศึกทางภาคพื้นดินและทำลายเครื่องบินมิกซ์ที่จอดอยู่ระหว่างการโจมตี
นอกจากนี้ Colonel Robin Olds ซึ่งเป็นผู้บัญชาการหน่วยเมื่อต้นปี 1966 ได้เป็นผู้นำในการตามล่าเครื่องมิกซ์ Colonel Robin Olds สามารถยิงเครื่องมิกซ์ตกด้วยตัวเองถึง 4 ลำ
ต่อมามีเครื่องบิน F-4D อีก 20 ลำเข้ามาเสริมกองกำลังในเดือน พฤษภาคม 1967 ซึ่งทำให้กองกำลังสหรัฐอเมริกาในอุบลราชธานีเป็นกองกำลังแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีเครื่องบินชนิดนี้ประจำการ
หน่วยของกองกำลังสหรัฐอเมริกาคือหน่วย Wolfpack ได้ใช้เครื่องบินชนิดนี้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการโจมตีจุดยุทธศาสตร์และเป้าหมายทางทหารและอุตสาหกรรมอื่นๆที่ในอดีตไม่สามารถเข้าถึงมาก่อน
ผลงานที่ควรค่าต่อการกล่าวถึง มีอาทิเช่นการปฏิบัติการโจมตีที่ Canal des Rapides Bridge และ the Paul Doumer bridge ใกล้กรุงฮานอย เป็นต้น เมื่อถึงปลายเดือน สิงหาคม 1967 หน่วยนี้สามารถทำการโจมตีข้าศึกถึงกว่า 50,000 ครั้งนับตั้งแต้เข้ามาประจำการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นอกจากการปฏิบัติการโจมตีเครื่องมิกซ์แล้ว หน่วยนี้ยังปฏิบัติการสกัดกั้นการลำเลียงยุทโธปกรณ์ กำลังพล และยุทธสัมภาระของข้าศึกที่มีการลำเลียงเข้ามายังเวียดนามใต้
เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 1968 หน่วยปฎิบัติการ 555th TFS ได้ขยายกองกำลังที่ฐานทัพอุบลราชธานี หน่วย 25th TFS, formerly with the 33rd TFW, Eglin AFB, Fla ได้เข้ามาประจำการ … และเมื่อสิ้นเดือน พฤษภาคมของปีเดียวกันนั้น หน่วยนี้ได้ทำลายเครื่องบินมิกซ์ของข้าศึกอีก 8 ลำ ทำให้หน่วยนี้มีสถิติการทำลายเครื่องมิกซ์ได้ถึง 38 ลำ และได้ชื่อว่าหน่วยพิฆาตเครื่องบินมิกซ์ในประวัติศาสตร์ของสงครามเวียดนาม
เมื่อหน่วย 16th Special Operations Squadron (16th SOS) เข้ามาประจำการที่ฐานบินอุบลราชธานีในเดือนตุลาคม 1968 ซึ่งหน่วยนี้ประกอบด้วยเครื่องบินรบ AC-130 gun ships อันทรงพลัง ทำให้ภารกิจของหน่วยขยายขอบเขตในปฏิบัติการออกไปมากยิ่งขึ้น
เมื่อมีการหยุดโจมตีและทิ้งระเบิดชั่วคราวในปี 1968 การปฏิบัติการของหน่วยนี้เป็นการปฏิบัติการสกัดกั้นการส่งกำลังบำรุงที่ผ่านเข้ามาทางเส้นทางโฮชิมิน
ในปี 1970 หน่วยปฎิบัติการ16th SOS มีสถิติในการทำลายขบวนรถบรรทุกยุทธสัมภาระของเวียดนามเหนือถึงกว่า 50,000 คัน จนได้รับสมญานามว่าเป็นหน่วยพิฆาตรถลำเลียงข้าศึก หรือ "top truck killers".
ในปี 1970 หน่วย 8th TFW ได้รับรางวัล "Most Outstanding Tactical Fighter Wing in Southeast Asia for 1970" และในต้นปี 1971 หน่วยได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติ์ Maj. Gen. Robert F. Worley Memorial Trophy ให้เป็นหน่วยเครื่องบินรบยอดเยี่ยมที่สุดในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
รางวัลนี้ได้รับการสนับสนุนโดยสมาคมนักบินแห่งสหรัฐอเมริกา และหน่วย 8th TFW นี้ยังได้รับการยกย่องจาก ผู้บัญชาการกองกำลังทางอากาศที่ 7 คือ นายพล John W. Vogt เนื่องจากการปฏิบัติการทำลายสะพาน Thanh Hoa Bridge ซึ่งตั้งอยู่ 215 ไมล์จากเขตปลอดทหาร หน่วย 8th TFW มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์การทำลายเส้นทางลำเลียงและการสื่อสารในเวียดนามเหนือในสงครามเวียดนามที่โด่งดัง
**เรื่องราวและข้อความด้านบนแปลและเรียบเรียงมาจากเอกสารชื่อ :
“Fact Sheets and Histories of the United States Air Force at Royal Thai Air
Force Bases” ลงวันที่ 12 สิงหาคม 1976 ซึ่งได้รับการตีพิมพ์โดย 13th Air Force Office of History.
โฆษณา