3 มิ.ย. 2020 เวลา 08:02 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
“ บริจาคตับทั้งที่ยังมีชีวิตได้ “
ผมได้ดูซีรีย์เกาหลีเรื่องหนึ่ง คือ hospital playlist เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ ชีวิตของแพทย์
Hospital playlist series
และมี อ.หมอ ที่เชี่ยวชาญในด้าน ปลูกถ่ายตับ ได้ทำการปลูกถ่ายตับให้กับคนไข้
แต่ผู้บริจาคก็มีทั้งผู้ที่เสียชีวิตจาก สภาวะสมองตาย
และญาติของคนไข้ที่มีคุณสมบัติพร้อม และผมก็สงสัยว่า
เราสามารถบริจาคทั้งที่เรายังมีชีวิตได้หรอ ? แล้วตับเรายังมีอีกไหม ?
ผมก็เลยไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปลูกถ่ายตับ ....
สำหรับตับของเรา เสมือน "โรงงานศูนย์กลาง" ของร่างกาย กล่าวคือ ทั้งรับวัตถุดิบ ทั้งผลิต ทั้งเก็บรักษา ทั้งตรวจสอบคุณภาพ ทั้งแจกจ่าย ทั้งเก็บขยะและทิ้งขยะของเสีย
สารที่ตับสร้างและควบคุมการใช้ ได้แก่ น้ำตาล โปรตีน น้ำดี สารประเภทไขมัน
ตับ เก็บสะสม สิ่งมีประโยชน์ เช่น วิตามิน แร่ธาตุ
เก็บของมีพิษ เช่น ยาเคมีรักษาโรค โลหะหนัก ทองแดง รวบรวมพักรอไว้ก่อนที่จะทิ้งออกไปนอกร่างกาย
เป็นหน่วยรักษาความสะอาด ในการกำจัดขยะ และของมีพิษ หรือทำของมีพิษให้หมดพิษขยะหรือสิ่งมีพิษที่สำคัญ ได้แก่ แอมโมเนีย ยา แลกอฮอล ฮอร์โมน เป็นต้น
ทั้งยา และแอลกอฮอล์ อาจทำลายตับได้ !! หากใช้อย่างไม่รู้เท่าทัน และไม่ระมัดระวัง
และตับยังเป็นที่อยู่ของเม็ดเลือดที่ทำหน้าที่ดักจับเชื้อโรคต่างๆอีกด้วย
สาเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหายที่ตับ
โรคตับที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ (ARLD)
ตับอักเสบ ตับแข็ง เป็นต้น
การปลูกถ่ายตับ มี 3 ประเภทหลักๆ
1 . การบริจาคอวัยวะจากผู้เสียชีวิต: เป็นการนำตับมาจากผู้ที่เพิ่งเสียชีวิต
2. การปลูกถ่ายตับที่มาจากผู้ให้บริจาคที่ยังมีชีวิต: จะใช้ชิ้นส่วนของตับจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่ เนื่องจากตับสามารถฟื้นฟูตนเองได้ ซึ่งหมายถึงชิ้นส่วนตับทั้งจากผู้บริจาคและผู้รับบริจาคจะกลับมาเติบโตกลับไปยังขนาดเดิมได้
3.การบริจาคแบบแบ่ง : จะมีการนำตับมาจากผู้ที่เพิ่งเสียชีวิตมาตัดแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกจะถูกนำไปปลูกถ่ายให้ผู้ป่วย ส่วนอีกส่วนจะถูกเลี้ยงให้เติบโตให้มีขนาดปกติ
ก่อนการปลูกถ่ายตับ คุณต้องผ่านกระบวนการประเมินความเหมาะสมอย่างเข้มงวดเสียก่อน
โดยส่วนมาก ผู้ที่สามารถเข้ารับการปลูกถ่ายตับได้จะต้องตรงตามเงื่อนไขเหล่านี้เสียก่อน
หากไม่ได้รับการปลูกถ่ายตับ คุณจะมีอายุขัยสั้นกว่าคนทั่วไป หรือจะมีคุณภาพชีวิตย่ำแย่จนแทบทนไม่ได้
แพทย์ต้องคาดการณ์ว่าคุณมีโอกาสรอดชีวิตอย่างน้อย 50% เป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปีหลังการปลูกถ่าย และมีคุณภาพชีวิตที่ยอมรับได้
ชีวิตหลังการปลูกถ่ายตับ
อาการต่าง ๆ ของคุณจะดีขึ้นมาหลังการปลูกถ่าย แต่ผู้คนส่วนมากต้องพักรักษาตัวก่อนที่โรงพยาบาลเป็นเวลามากถึง 2 สัปดาห์
การฟื้นร่างกายจากการปลูกถ่ายเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลานาน
ซึ่งส่วนมากจะค่อย ๆ กลับไปดำเนินกิจกรรมประจำวันได้ภายในเวลาไม่กี่เดือน
คุณจะถูกนัดหมายติดตามผลเพื่อดูความก้าวหน้าของการรักษาและจะได้รับยากดภูมิคุ้มกันไว้เพื่อช่วยให้ร่างกายไม่สร้างปฏิกิริยาต่อต้านอวัยวะใหม่ ซึ่งมักจะต้องทานยาตัวนี้ไปตลอดชีวิต

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา