6 มิ.ย. 2020 เวลา 08:56
ดวงตาของเรา “ยิ้ม” ได้ไหม??
ว่าด้วยเรื่องของรอยยิ้ม ตั้งแต่เจ้าโควิดระบาด จนชาวบ้านร้านตลาดต้องใส่หน้ากากเข้าหากัน เป็น “the mask singer” กันไปหมด รอยยิ้มที่เคยแอบมองก็เห็นได้ยากเต็มที่
ทำไงละที่นี้? มีคนบอกว่าดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจแล้วรอยยิ้มละ ดวงตายิ้มแทนได้ไหม?? ตามไปดูกัน!!
Cr: ข่าวสด
1) ยิ้มนั้นสำคัญไฉน
รอยยิ้มมีประโยชน์หลากหลาย ทั้งต่อตัวเราเองเช่น
• ทำให้เราดูเด็กกว่าอายุจริง ดูรูปร่างดี (น่าสนใจใช้ไหมละ)
• ยิ้มส่งผลให้สมองกระปรี้กระเปร่า สบายใจ (ที่สำคัญทำหน้าที่ได้ดีกว่าชอคโกแลตอีกนะครับ)
....
• รอยยิ้มยังส่งผลต่อต่อคนรอบๆตัวเราอีกด้วยนะ คนที่ยิ้มง่ายๆ ก็จะสร้างแรงดึงดูดให้ผู้คนอยากจะเข้ามาทำความรู้จัก และส่งพลังบวกให้คนรอบข้าง
• ที่ขาดไม่ได้ การยิ้มทำให้เราอายุยืนขึ้น
2) วิทยาศาสตร์ของรอยยิ้ม
เมื่อการยิ้มมีผลดีต่อสุขภาพหลากหลาย ทำให้นักจิตวิทยาและนักวิจัยสาขาต่างๆ ให้ความสนใจได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับรอนยิ้มไว้อย่างน่าสนใจ
หนึ่งในการศึกษารอยยิ้มที่เป็นที่รู้จักกว้างขวางคือ ผลงานของ Guillaume Duchenne (นักประสาทวิทยา ชาวฝรั่งเศส) ซึ่งศึกษาไว้ตั้งแต่เมื่อเกือบ 100 กว่าปีก่อน ได้จำแนกรอยยิ้มไว้ 2 แบบคือ รอยยิ้มแบบ Duchenne (รอยยิ้มอย่างจริงใจ) และ รอยยิ้มที่ไม่ใช่แบบ Duchenne
Duchenne กับการทำวิจัยเรื่องของรอยยิ้ม Cr. Wiki
ซึ่งความต่างของรอยยิ้มทั้งสองแบบคือ กล้ามเนื้อที่ใช้บนใบหน้า โดยรอยยิ้มพิมพ์ใจนั้นจะใช้กล้ามเนื้อ 2 ส่วนคือ
ไซโกมาติคัส เมเจอร์ (zygomatic major) ใช้ในการยกมุมปาก ส่วน orbicularis oculi ใช้ในการยกแก้มและรอยรอบๆดวงตา
ในขณะที่รอยยิ้มแบบที่ไม่ใช่ Duchenne นั้นจะใช้เพียงกล้ามเนื้อส่วน zygomatic major รอยยิ้มแบบนี้จึงได้รับการเรียกเล่นๆว่ารอยยิ้มแบบ “The Pan Am” หรือรอยยิ้มโบท็อกซ์นั้นเอง
The Pan Am smile Cr. Pinterest
3) แล้วดวงตาละยิ้มได้ไหม?
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแบร์ดฟอร์ด จากอังกฤษได้ทำการศึกษารอยยิ้ม โดยการวิเคราะห์การกระจายน้ำหนัก (weight distribution) บนใบหน้าแบบต่างๆในระหว่างที่ยิ้ม
บริเวณที่ทำการวิเคราะห์การกระจายน้ำหนักบนใบหน้าของงานวิจัยนี้
โดยผลการศึกษาเปรียบเทียบวิดีโอที่เก็บภาพการยิ้มเปรียบเทียบกว่า 100 ตัวอย่างในสามจุดใหญ่ๆ คือ ปาก แก้ม และรอบๆดวงตา โดยนักวิจัยจะทำการคำนวณการเคลื่อนไหวของน้ำหนักเทียบกันเป็นเฟรมต่อเฟรม เพื่อหาค่าเฉลี่ยของการกระจายน้ำหนักต่อการยิ้มหนึ่งครั้งซึ่งจะกินเวลาประมาณ 0.9 วินาที
พบว่า รอยยิ้มที่แบบจริงใจ (Duchenne smile) นั้นจะมีการกระจายน้ำหนักทั่วใบหน้ามากกว่าแบบโบท็อกซ์ นอกจากนั้นนักวิจัยยังพบว่ารอยยิ้มที่จริงใจ (หรือยิ้มแบบมีความสุขจริงๆนั้น) จะมีการกระจายน้ำหนักรอบดวงตาสูงกว่ายิ้มทั่วๆไปถึง 4 เท่าทีเดียว ซึ่งผลการทดลองนี้นอกจากจะทำให้นักวิจัยสามารถพัฒนากระบวนการวิเคราะห์อารมณ์โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานร่วมกันของคนกับคอมพิวเตอร์ในอนาคต (Human-computer interaction)
คณะวิจัยยังสรุปได้อีกว่า ดวงตาของเรานั้นเป็นบริเวณสำคัญที่ทำให้สามารถแยกกระบวนการยิ้มที่เกิดจากความสุขภายใน อกจากกระบวนการยิ้มที่เกิดจากการโพสท่าถ่ายรูปwfh
เราคงสรุปได้ไม่ผิดนักว่าดวงตาเรานั้นยิ้มได้ เหมือนกับที่คณะวิจัยตั้งชื่อรายงานการศึกษาชิ้นนี้ว่า “A genuine smile is indeed in the eyes”
ไม่ว่าเราจะต้องใช้ชีวิตอยู่ภายใต้หน้ากากกันไปอีกนานเท่าไร แต่ถึงอย่างไรก็อย่าให้หน้ากากเป็นอุปสรรคในการส่งความปรารถนาดีต่อกันนะครับ มายิ้มให้กันเยอะๆ
เพราะดวงตาเรานั้นสื่อสารแทนได้ครับ 😄
แต่ถ้าอยากส่งยิ้มให้แอดมินเพจ ใช้นิ้วแทนได้
กดไลก์ กดแชร์ ให้หน่อยนะครับ 😁🤣😅
อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
โฆษณา