6 มิ.ย. 2020 เวลา 14:34 • ครอบครัว & เด็ก
“ลูกไอ”
อาการที่ลูกไอนี้เรียกได้ว่าเป็นอาการแรกของลูกที่คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้ว่าถ้าไอถี่จนผิดปกติ
เป็นไปได้ว่าลูกจะไม่สบายเข้าให้แล้ว แต่ถึงแม้ว่าจะเจออาการนี้บ่อย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณพ่อคุณแม่จะละเลยได้นะคะ
โดยเฉพาะหากไอแบบมีเสมหะ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลูกให้ขับเสมหะออกมาเองได้ค่ะ ทำอย่างไรไปดูกัน
ลูกไอ พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม ช่วยให้ลูกขับเสมหะออกเองได้ด้วยการ “เคาะปอด”
Youtube : ลูกไอ พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม ช่วยให้ลูกขับเสมหะออกเองได้ด้วยการ “เคาะปอด”
✅ อาการไอเกิดจากอะไร?
อาการไอเกิดจากอะไร?
ร่างกายของคนเราเวลาที่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปอยู่ในระบบทางเดินหายใจ ร่างกายจะกำจัดสิ่งเหล่านั้นด้วยการไอ ซึ่งอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกมีอาการไอเรื้อรังนั่นก็คือ การมีเสมหะค้างในหลอดลมนั่นเองค่ะ
✅ ทำไมถึงต้องมีการเคาะปอด?
ทำไมถึงต้องมีการเคาะปอด?
คุณพ่อคุณแม่ที่พบว่าลูกมีอาการไอมาก ไอจนเหนื่อย หรือไอจนปวดท้องแต่ก็ยังไม่หยุดไอ เหล่านี้มาจากการที่ลูกน้อยมีเสมหะที่ข้นและเหนียวมากในหลอดลม ผนวกกับการไอที่ไม่ถูกวิธี
เปรียบเทียบง่าย ๆ เสมหะก็เหมือนกับซอสมะเขือเทศที่อยู่ก้นขวดใกล้จะหมด การจะให้ซอสออกมาเราก็ต้องคว่ำขวดและเคาะที่ก้นขวดถึงจะออกมาได้ การสั่นสะเทือนและการกระตุ้นให้เกิดการไอที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้เสมหะหลุดออกจากหลอดลมได้ค่ะ
✅ วิธีการเคาะปอด
1️⃣ เตรียมตัวก่อน
เตรียมตัวก่อน
ให้ลูกสั่งน้ำมูก บ้วน หรือดูดเสมหะที่มีอยู่ในปากและจมูกออกก่อน ควรทำก่อนหรือหลังอาหารอย่างน้อย 1 ½ – 2 ชม. เพื่อไม่ให้ลากสำลักหรืออาเจียน
2️⃣ จัดท่าให้เหมาะสม
จัดท่าให้เหมาะสม
แล้วจึงทำการเคาะ โดยในแต่ละท่าจะอยู่ที่ประมาณ 3-6 นาที รวมทุกท่าแล้วไม่เกิน 15-30 นาที
ใช้ผ้าขนหนูบาง ๆ วางบนตำแหน่งที่จะเคาะ เพื่อลดแรงปะทะจากการตบของอุ้งมือ
3️⃣ การวางท่าของมือ
การวางท่าของมือ
ทำมือให้เป็นกระเปาะปลายนิ้วชิดกัน ให้มีการเคลื่อนไหวสบาย ๆ บริเวณข้อมือ ข้อศอก และไหล่ ด้วยความถี่ 3 ครั้งต่อวินาที
4️⃣ ตำแหน่งที่เคาะ
ตำแหน่งที่เคาะ
บริเวณทรวงอกด้านหน้า โดยวนเป็นวงกลม เลื่อนไปทางซ้ายและทางขวา
ตำแหน่งที่เคาะ
ย้ายมาด้านข้างช่วงใกล้กับรักแร้ทั้งสองข้าง
ตำแหน่งที่เคาะ
และสุดท้ายให้ลูกนอนคว่ำแล้วเคาะเป็นวงกลม
✅ ต้องทำบ่อยแค่ไหน
โดยมากแล้วเสมหะมักจะคั่งค้างมากในเวลากลางคืน จึงทำให้ลูกน้อยไอมากในเวลาหัวค่ำและช่วงเช้า
การเคาะปอดจึงควรทำในช่วงเช้าและก่อนเข้านอน เพื่อให้ลูกน้อยได้หลับสบายขึ้น ไม่มีเรื่องการไอมารบกวน แต่หากลูกมีอาการไอเยอะอยู่ อาจเพิ่มช่วงเวลาเป็นกลางวันอีกหนึ่งรอบก็ได้ค่ะ
✅ ผลเสียจากการปล่อยให้ลูกไอเป็นระยะเวลานาน
ผลเสียจากการปล่อยให้ลูกไอเป็นระยะเวลานาน
เวลาที่ลูกป่วยน้ำมูกหรือเสมหะจะเป็นตัวบอกอาการของลูกได้ดีว่าลูกไม่สบายมากหรือน้อยแค่ไหน แต่ถ้าปล่อยให้ลูกไอนาน ๆ มีเสมหะคั่งค้างเป็นสัปดาห์ ไอจนเหนื่อยหอบเป็นเดือนจะมีผลเสียอย่างไรบ้าง
● ลูกอาจมีอาการปอดบวม
● ปอดแฟบ
● ถุงลมโป่งพอง เนื่องจากมีเสมหะไปอุดตัน
✅ วิธีบรรเทาอาการไอแบบอื่น ๆ
1️⃣ น้ำผึ้ง
น้ำผึ้ง
สูตรบรรเทาอาการไอแบบธรรมชาติที่ได้ผลดีมาก นอกจากน้ำผึ้งจะเข้าไปเคลือบต่อมผลิตเสมหะแล้ว ยังช่วยทำให้ต่อมนี้ชุ่มชื่นอีกด้วยค่ะ
2️⃣ สูดไอน้ำที่มาจากการบูร
สูดไอน้ำที่มาจากการบูร
ไอน้ำสามารถช่วยในเรื่องบรรเทาและอาการคัดจมูกได้ดีทีเดียว โดยคุณแม่หยดน้ำการบูรลงไปเล็กน้อยในน้ำอุ่น หรือเครื่องทำไอน้ำ เท่านี้ลูกน้อยก็จะหายใจได้โล่งขึ้นค่ะ
3️⃣ จิบน้ำอุ่น
จิบน้ำอุ่น
อันดับแรกหากลูกน้อยไอ ให้คุณแม่พยายามทำความสะอาดบ้านกำจัดฝุ่นให้หมดไปก่อนนะคะ เพราะฝุ่นละอองนี้จะทำให้ลูกน้อยระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ แล้วให้ลูกน้อยจิบน้ำอุ่นบ่อย ๆ
4️⃣ เน้นอาหารอ่อน ย่อยง่าย
เน้นอาหารอ่อน ย่อยง่าย
อาทิ ข้าวต้ม และจะดีมากค่ะถ้าเป็นข้าวต้มที่ผ่านการปรุงให้น้อยที่สุด หรือไม่ปรุงเลยยิ่งดี เลี่ยงนอาหารมัน ของทอด และขนมกรุบกรอบ
💬อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
📌 ติดตาม Facebook :
โฆษณา