1 ส.ค. 2020 เวลา 12:05 • ประวัติศาสตร์
พาราลิมปิก
ผมขอฝาก บทความที่รวบรวมมาเพื่อไม่ให้เราลืมเลือนความยิ่งใหญ่ของมหกรรมกีฬาแห่งความเท่าเทียม "พาราลิมปิก"
ปี 1939 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่2 แพทย์ชาวยิวท่านหนึ่งหนีการตามล่าของนาซี ออกจากเยอรมันมาที่อังกฤษ
Professor Sir Ludwig Guttmann
Dr.Ludwig Guttmann อพยพลี้ภัยสงครามมาที่เมือง Stoke Mandeville ประเทศอังกฤษ
และได้จัดตั้งหน่วยฟื้นฟูผู้ป่วยทหารผ่านศึกที่ได้รับบาดเจ็บไขสันหลังจากสงครามในปี1944
หลังจากดูแลรักษาทหารผ่านศึกชาวอังกฤษมาหลายปี ใน ปี 1948 Dr.Guttmann มีแนวคิดจัดการแข่งขันกีฬาขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายและจิตใจ ของทหารผ่านศึกจากสงครามโลกครั้งที่ 2
Stoke Mandeville Hospital ในปัจจุบัน
โดยเลือกวันที่ 29 ก.ค. 1948 เป็นวันแข่งขัน ซึ่งตรงกับวัน พิธีเปิด โอลิมปิกครั้งที่14 ลอนดอนเกมส์1948
โดยครั้งแรกนั้นมีเพียงการแข่งขันยิงธนู
มีนักกีฬา 16คน ชาย14คน หญิง2คน และจัดแข่งขัน เรื่อยมาทุกปี
การแข่งขันยิงธนู มีนักกีฬา 16คน ชาย14คน หญิง2คน
จนในปี1952 ครั้งนี้มีทหารผ่านศึกชาวดัตช์ เข้าร่วมการแข่งขันด้วย ซึ่งอาจกล่าวได้ว่านี่เป็นการแข่งขันกีฬาคนพิการ ในระดับนานาชาติครั้งแรกของโลกเลยก็ว่าได้
สิ่งสำคัญคือ Guttmann's programme ที่ใช้กีฬามาเป็นส่วนในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายและจิตใจ เพื่อให้ทหารผ่านศึกอังกฤษ สามารถกลับคืนสู่สังคมปกติ และใช้ชีวิตโดยปกติสุขได้เหมือนคนอื่นๆในสังคมในทุกๆด้านรวมถึงการที่สามารถเล่นกีฬาได้ด้วย
คุณค่าของกีฬานั้นนอกจากจะมีผลทางการรักษาโดยเป็นส่วนเสริมของการทำกายภาพบำบัดแบบดั้งเดิมแล้ว การแข่งขันกีฬามีข้อได้เปรียบอย่างยิ่งคือคุณค่าด้านนันทนาการ การมีส่วนร่วมในสังคม และคุณค่าทางจิตใจ
The Queen and Professor Sir Ludwig Guttmann at the opening of the Stoke Mandeville Stadium on 2nd August 1969
The Queen and Athlete
Stoke Mandeville Team
นับแต่นั้น มีการจัดการแข่งขันระดับนานาชาติ เป็นกิจจะลักษณะต่างกรรมต่างวาระ มาเป็นระยะๆ จนถึงปี1960 ที่กรุงโรม อิตาลี กีฬาคนพิการนานาชาติ ก็ปรับระบบเข้ามาสู่การเป็น “กีฬาโอลิมปิกคนพิการ (Paralympic) ” ด้วยการจัดต่อจากกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน โดยกำหนดให้เมืองที่เป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ต้องจัด พาราลิมปิก ด้วยเสมอ
แต่แนวความคิดดังกล่าวก็ประสบปัญหามากมาย โดยเฉพาะปัญหาค่าใช้จ่ายบานปลายของเมืองเจ้าภาพโอลิมปิกจนไม่สามารถจัดการแข่งขันได้
ทำให้กีฬาคนพิการนานาชาติ ต้องแยกไปแข่งขันเองต่างหาก หลายครั้ง ตามหัวเมืองอื่นๆ ที่มีความพร้อม และเป็นไปได้มากกว่า
จนกระทั่งถึงปี1988 แนวความคิดดังกล่าวก็บรรลุวัตถุประสงค์ในที่สุด
เมื่อคณะกรรมการโอลิมปิกสากล และสหพันธ์กีฬาคนพิการนานาชาติ (ปัจจุบันคือ คณะกรรมการพาราลิมปิกสากล) ร่วมกันขอความร่วมมือให้เจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพกีฬาพาราลิมปิก ควบคู่ไปในปีเดียวกัน ทั้งเกมฤดูร้อน ทั้งเกมฤดูหนาว
และกล่าวได้ว่า กีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 8 ที่กรุงโซล เกาหลีใต้ เมื่อปี ค.ศ. 1988 เป็นการเริ่มต้นกีฬาพาราลิมปิกอย่างเป็นทางการ
พาราลิมปิกปี ค.ศ.2012 ได้กลับมาจัดที่ต้นกำเนิด คือประเทศอังกฤษ
ใช้สัญลักษณ์เดียวกัน ทั้งโอลิมปิก และพาราลิมปิก
ดังนั้นจึงเป็นครั้งแรกที่เจ้าภาพใช้สัญลักษณ์เดียวกัน ทั้งของโอลิมปิก และพาราลิมปิก เพื่อเป็นการสื่อความหมายถึงความเท่าเทียมกันในทุกๆด้าน
แม้แต่มาสคอตคู่ของโอลิมปิก-พาราลิมปิก ก็มีตัวนึงชื่อว่า แมนเดวิลล์ ซึ่งเป็นตัวแทนของ เมืองสโตก แมนเดวิลล์ จุดกำเนิดพาราลิมปิก นั่นเอง
ในปี 2012 ชาวอังกฤษรอจนจบการแข่งขันพาราลิมปิกแล้วจึงจัดงานฉลองให้นักกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกพร้อมกัน ยืนเคียงคู่กัน เดินพาเรด ไปด้วยกัน ตามเจตนารมของ Professor Sir Ludwig Guttmann ได้อย่างภาคภูมิ
พูดถึง มาสคอตคู่ของโอลิมปิก-พาราลิมปิก 2012 สักนิดนึงนะครับ
Wenlock and Mandeville
ตัวแรกชื่อ เวนล็อค (Wenlock) และ ตัวที่สองชื่อ แมนเดอวิลล์ (Mandeville)
ที่หัวเป็นแท็กซี่สัญลักษณ์สำคัญของเมืองต่างๆในประเทศอังกฤษ
ทั้งคู่มีตาเดียว เหมือนเป็นกล้องคอยบันทึกเหตุการณ์ทุกอย่าง ตลอดความประทับใจในกีฬา
เวนล็อค (Wenlock) มาจากหมู่บ้านเล็กๆ มัช เวนล็อค ใน ชรอปเชียร์ เนื่องจาก กลางทศวรรษ 19 การแข่งขัน เวนล็อคเกมส์ กลายมาเป็นแรงพลักดัน มาสู่ โอลิมปิกเกมส์ สมัยใหม่แบบทุกวันนี้
แมนเดอวิลล์ (Mandeville) มาจากการกำเนิดของ พาราลิมปิก ที่โรงพยาบาล Stoke Mandeville เมื่อปี 1948 ส่วนหัวยังเป็นแบบแอโรไดนามิคและมี 3 สีของการแข่งขันพาราลิมปิก อีกทั้งยังให้ความสำคัญเรื่องเวลา เพราะ แมนเดอวิลล์ จะมีนาฬิกาด้วยนะครับ
Para=เคียงข้าง, คู่ขนาน, เทียบเท่า, เท่าเทียมกันและเสมอกัน
Paralympic = เคียงข้าง, คู่ขนาน, เทียบเท่า, เท่าเทียมกันและเสมอกัน กับโอลิมปิก นะครับ
Asian paragames= เอเชี่ยนเกมส์
ASEAN paragames = SEA games
ผมเคยมีส่วนร่วม ในการทำงาน ดูแลนักกีฬาคนพิการในการแข่งขันอาเซียนพาราเกมส์ ครั้งที่ 4 ที่นครราชสีมา ในช่วง เดือน 20-26 มกราคม 2008 เป็นทั้ง classifier ของกีฬา แบดมินตัน และ บอคเชีย (Boccia) แล้วยังเป็นแพทย์ประจำทีม รับผิดชอบดูแล ทีมบอคเชีย ก็เป็นประสบการณ์ที่ดีครั้งหนึ่ง
พัทยา เทศทอง นักกีฬาพาราลิมปิกไทย คว้าเหรียญทองการแข่งขันบอคเซีย ลอนดอน พาราลิมปิกเกมส์2012
งานประจำฝังเข็มให้นักกีฬา อาเซี่ยนพาราเกมส์ 2008 นครราชสีมา
อาเซี่ยนพาราเกมส์ 2008 นครราชสีมา
ประชุมทีมบอคเชีย
แพทย์ประจำทีมบอคเชียอาเซี่ยนพาราเกมส์ 2008 นครราชสีมา
ที่มาของข้อมูล:วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โฆษณา