13 มิ.ย. 2020 เวลา 04:29 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
IoT มันเอ้าท์!! ยุคนี้ต้อง IoB
Photo by Andy Kelly on Unsplash
IoT หรือ Internal of Things คือการที่อุปกรณ์หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันผ่านตัวกลางอย่างระบบอินเตอร์เน็ต เช่น เราสั่งเครื่องปรับอากาศในห้องนอนให้เปิดอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ต้องเดินไปหาว่ารีโมทอยู่ตรงไหน เพิ่งแค่เปิดแอปฯ ที่ทำการเชื่อมต่อข้อมูลเอาไว้แล้ว เป็นต้น ปัจจุบันอุปรกณ์ IoT ในไทยมีความหลากหลายมากขึ้น ตั้งแต่อุปกรณ์เล็กๆ อย่างปลั๊กไฟ ไปจนถึงระบบไฟฟ้าภายในบ้านทั้งหลังก็สามารถเอาเทคโนโลยีนี้มาใช้ได้
.
แล้ว IoB คืออะไร?
IoB ย่อมาจาก Internet of Bodies ซึ่งคอนเซปก็คล้ายๆ กันกับ IoT คือเป็นการเชื่อมต่อหรือส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันผ่านอินเตอร์เน็ต หากแต่ IoB มีร่างกายของมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้อง หากใครเป็นแฟนหนัง Sci-Fi สักหน่อย คงพอจะเคยได้มีโอกาสดูหนังที่พูดถึงเทคโนโลยีล้ำๆ อย่างการฝังชิพ เพื่อเป็นตัวแทนของข้อมูลตัวตนของเรา สามารถใช้แทนการใช้เงินสด หรือเป็นพวกที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ต่างๆ คงต้องบอกว่าเรื่องเหล่านี้ กลายเป็นเรื่องจริงแล้วในวันนี้
.
IoB สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ
1) Body External หรือการเชื่อมต่อที่อยู่ภายนอก นึกง่ายๆ ก็คือ Apple Watch, FitBit หรือ พวก Smart Watch ต่างๆ ที่เราสวมใส่ภายนอก แต่สามารถวัดอัตราการเต้นของหัวใจเราได้ เป็นต้น
2) Body Internal เป็นอุปกรณ์ที่อยู่ภายในร่างกายเราอย่างเช่น pacemakers หรือ digital pills ซึ่งเราต้องเอาอุปกรณ์เหล่านี้เข้าไปในร่างกายเรา แล้วสามารถควบคุมบางอย่างในร่างกายเราได้
3) Body embedded คือการนำอุปกรณ์ IoB เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายเรา อาจเป็นการฝังหรือใช้การผ่าตัด อุปกรณ์นี้จะสามารถเชื่อมต่อข้อมูลแบบ Real-time หรือควบคุมผ่านเครื่องมือบางอย่างได้
.
ฟังดูแล้วล้ำๆ เกินจริง แต่เรามีตัวอย่างขออุปกรณ์ IoB ที่ผลิตขึ้นแล้ว มีคนใช้งานจริงๆ บนโลกมาฝากกันค่ะ
https://economictimes.indiatimes.com/magazines/panache/medical-marvel-a-new-device-will-use-hearts-energy-to-power-pacemakers/articleshow/67848686.cms
Pacemaker: อุปกรณ์เครื่องมือขนาดเล็กที่ช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจ ซึ่งอุกรณ์ตัวนี้มีเทคโนลยี AI ที่จะเรียนรู้อัตราการเต้นของหัวใจ รวมถึงสามารถส่งข้อมูลเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก อย่างเช่น สามารถแจ้งคุณหมอได้หากว่าคนไข้กำลังมีภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น Dick Cheney อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 46 เขาได้ติดตั้งเจ้าอุปกรณ์ตัวนี้ไว้กับร่างกาย โดยเป็นรุ่นที่สามารถเชื่อมต่อกับ Wi-Fi ได้ แต่เขาก็รู้สึกกลัวว่าจะถูกแฮ็คแล้วทำให้เสียชีวิตได้ ในปี 2013 เขาเลยมาเปลี่ยนเป็นรุ่นที่ไม่มี Wi-Fi แทน
Smart Pill: มีรูปร่างเหมือนเม็ดยาที่ประกอบไปด้วยซิปหรือเซ็นเซอร์ ซึ่งเมื่อเรากินเข้าไป อุปกรณ์ตัวนี้ก็จะไปเก็บเอาข้อมูลในร่างกายเรา แล้วส่งข้อมูลนั้นออกไปยังอุปกรณ์ที่อยู่ภายในอย่างแท็ปแล็ตหรือสมาร์ทโฟนได้
Photo by Avinash Kumar on Unsplash
Smart contact lenses: คอนเทคเลนส์ธรรมดาๆ แต่สามารถวัดค่าน้ำตาลในเลือดได้ อุปกรณ์ตัวช่วยของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ให้สามารถวัดค่าน้ำตาลแบบไม่ต้องเจาะเลือดได้แบบ real time
http://gadgeteer.webabcdd.com/300/smart-contact-lens/
IoB ไม่ได้มีใช้แต่ในวงการแพทย์เท่านั้น บริษัท Bioengineering ของสหรัฐฯ ที่ชื่อ Biohac ได้ทำการ embedded หรือฝังชิพเข้าไปในกลุ่มคนมากกว่า 4,000 คน โดยเจ้าชิพตัวนี้สามารถทำได้หลายอย่าง เช่น สามารถเช็คที่อยู่ปัจจุบัน ป้องกันคนหาย ใช้แสกนเข้าตึกสำนักงาน หรือใช้แสกนแทนเงินสดในเครื่องขายของอัตโนมัติ เป็นต้น
IoB แม้ว่าจะทำให้เรามีชีวิตที่สะดวกสบายมากขึ้น แต่หลายคนก็ยังตั้งข้อสงสัยกับความปลอดภัยของอุปกรณ์เหล่านี้ ตัวอย่างก็เหมือน Dick Cheney ที่กลัวว่าจะเป็นภัยกับตัวเอง ซึ่งก็ยังไม่บริษัทไหนที่ออกมาคลายความกังวลในจุดนี้ได้ เราคงต้องติดตามกันดูต่อไป
โฆษณา