18 มิ.ย. 2020 เวลา 00:55 • ธุรกิจ
วันนี้เราจะพูดถึงสงครามเย็นครั้งใหม่ ‘New Cold War’ ระหว่างอเมริกาและจีน รวมทั้งผลกระทบถึงเมืองไทยและหุ้นไทย
อุตสาหกรรมไทยใดจะรุ่งจาก New Cold War
15 ปีที่แล้วมีการพูดถึงกันอย่างแพร่หลายถึง ‘Chimerica’ ว่า “อเมริกาและจีนได้กลายเป็นหนึ่งเดียว” อเมริกาซื้อทุกอย่างที่จีนผลิต และจีนลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอเมริกา ในขณะที่ทั้ง 2 ประเทศ ได้ทวีความสําคัญในระดับโลก โดยครอบคลุมครึ่งหนึ่งของ GDP โลก ถึงขนาดที่มีเทอมว่า “G2” แทนที่ “G7” หรือ “G20”
.
เวลาผ่านไป นโยบาย “America First” ของ Trump และสไตล์เด็ดขาดของ นาย Xi Jinping ได้เปลี่ยนความสัมพันธ์จากมิตรเป็นะศัตรูอเมริกาได้แบนบริษัทจีน และขึ้นบัญชีดํามหาวิทยาลัยจีน จีนก็ตอบโต้ด้วยการขับไล่นักข่าวอเมริกา และเสริมสร้างกําลังทหารเพื่อท้าทายอํานาจอเมริกาในแปซิฟิก
.
นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์เพิ่งเขียนไว้ในนิตยสาร Foreign Affairs ว่า “การแข่งขันระหว่างอเมริกาและจีน ได้ทําให้เกิดคําถามใหญ่ว่า ประเทศต่างๆ ในเอเชีย มองสหรัฐว่าเป็นมหาอํานาจที่มีความสําคัญต่อภูมิภาค แต่ในขณะเดียวกัน จีนก็เป็นเสมือนความจริงที่ใกล้ตัว เราไม่อยากเลือกฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง
.
การพูดถึง “สงครามเย็นครั้งใหม่” น่าจะเป็นการเข้าใจผิด เพราะนโยบายต่างประเทศของจีนไม่เคยยอมรับความสัมพันธ์กับอเมริกาอย่างเป็นทางการ แทนที่จะมี 2 แคมป์ อย่าง NATO VS. โซเวียต จีนใช้แค่นโยบาย ‘divide and conquer’ ก็พอ ยิ่งมีประเทศแถบเอเชียทําตามแนวคิดของนโยบายนาย Trump “ประเทศตนเองมาก่อน” ก็ยิ่งสร้างหลุมอากาศที่การลงทุนของจีน การเข้าถึงทางการทหาร และการอพยพของชนพื้นเมืองจีนชาวฮั่น สามารถเข้ามาแทรกซึมประเทศเหล่านั้น
.
นี้เป็นโอกาสเหมาะสมต่อประเทศไทยในอีกไม่กี่ปีที่จะถึง เพราะไทยสามารถเลือกโปรเจ็คจากผู้แสวงหาการลงทุน กลุ่มอุตสาหกรรมที่จีนไม่ค่อยถนัดและเป็นตัวเล่นรอง ไทยน่าจะได้ประโยชน์ มากกว่าเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมที่จีนเข้มแข็ง ตัวอย่างเช่น แบงก์จีนที่ทํากําไรถึง 4 เท่าของอุตสาหกรรมอื่นๆ อุตสาหกรรมไทยที่เข้มแข็งกว่า เช่น พลังงานและอาหาร ส่วนการท่องเที่ยวเราเคยทํากําไรจากการเข้ามาของนักท่องเที่ยวจีนก่อนโควิด-19 แต่ตอนนี้สถานการณ์ของอุตสาหกรรมนี้ถูกกระทบอย่างแรง
.
หากพูดถึงนอกโลกการลงทุน โลกที่ไม่เป็นกลุ่มก้อน แต่มีหลายขั้วไม่จําเป็นต้องแย่ คําถามใหญ่ คือ การเลือกความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับจีน มากกว่าตะวันตก จะทําให้ประเทศเหล่านั้นต้องยอมรับ มาตรฐาน ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG (Environment, social and governance) ที่ลดลง หรือไม่
.
.
.
.
.
.
#สงครามเย็น #coldwar
#จีน #อเมริกา
โฆษณา