22 มิ.ย. 2020 เวลา 14:19 • ธุรกิจ
หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้กําหนดให้ แบงก์งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล และงดการซื้อหุ้นคืน ในวันศุกร์หลังปิดตลาด สื่อต่างๆ ก็ออกมาแสดงความกังวลในหุ้นแบงก์ไทย คุณควรจะกังวลไหม และมีโอกาสอะไรที่แฝงอยู่หรือเปล่า
ข่าวแบงก์ธปท. เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว 19 มิถุนายน
ข้อแรก ผู้ว่า ธปท. ได้ชี้แจงชัดเจนว่ามาตรการเหล่านี้ เป็นการเตรียมตัวระวัง และเป็นไปตามมาตรการสากล ผลพวงจาก Covid-19 โดยเฉพาะการล๊อกดาวน์ที่ไม่อาจคาดการณ์มาก่อน และธุรกิจที่ถูกปิดมายาวนาน การออกประกาศเป็นไปตามทํานองเดียวกันกับคําแนะนําของ Kristalina Georgieva กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในวันที่ 21 พฤษภาคม และ European Systemic Risk Board (ESRB) ในวันที่ 8 มิถุนายน ที่แนะนําให้แบงก์ทุกแห่งควรงดจ่ายเงินปันผล และงดซื้อหุ้นคืนสำหรับปีนี้ ส่วน US เฟด ก็ได้ขยายการจําลองสถานการณ์ต่างๆ (scenario) ถึง 3 แบบ สำหรับ stress test ที่จะสรุปผลสัปดาห์หน้า
มองหุ้นธนาคารอย่างมีสติหลังข่าว ธปท.
ก่อนที่จะมีประกาศเหล่านี้ออกมา หุ้นแบงก์ก็มีผลงานที่แย่มากอยู่แล้วในปีนี้ ในชาร์ตที่เราสร้างขึ้นมา “ดัชนี BANKEN” โดยการหาร ดัชนี SET กลุ่มแบงก์ ด้วย ดัชนี SET กลุ่มพลังงาน ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมีนาคม ดัชนีอัตราส่วนระหว่าง 2 กลุ่มนี้ ก็หล่นมาในระดับที่ตํ่ามากที่เราเคยเห็นในวิกฤตการเงิน ปี 2007-2009 ซึ่งเป็นที่น่าประหลาดใจ ทั้งๆที่ ปี 2007 จริงๆแล้วเป็นปีที่เกิดวิกฤตแบงก์ หากเทียบกับช่วงเวลา Covid-19 ซึ่งกลุ่มพลังงานได้ตกที่นั่งลําบาก (การใช้พลังงานเป็นไปอย่างจํากัดในการเดินทางและซื้อขาย) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ “หุ้นธนาคารถูกกว่าหุ้นพลังงาน”
ดัชนี BANKEN
อย่าลืมด้วยว่า ทุกๆ หนี้เสีย (non performing loan หรือ NPL) ที่สร้างปัญหาให้กลุ่มแบงก์เกิดมาจากปัญหา “แท้จริง” ทางเศรษฐกิจ และมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการลดโอกาสทางธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ
นอกจากนี้...
🔹ไม่เฉพาะแค่แบงก์ไทย นักลงทุนทั่วโลกก็กังวลกับกลุ่มแบงก์ ชาร์ตของ KBE - SPDR S&P Bank ETF แสดงให้เห็นว่า หุ้นกลุ่มแบงก์ของอเมริกาได้ฟื้นตัวน้อยกว่าครึ่งของการขาดทุนในช่วงโควิด-19 (เดือนมีนาคม) หากเปรียบเทียบกับดัชนีหลักอย่าง S&P500 ที่ได้ฟื้นจากการขาดทุนทั้งหมดสั้นๆตั้งแต่ต้นเดือน ตลาดทั่วโลกก็โชว์แพทเทิร์นที่คล้ายๆกัน
ธนาคารกรุงเทพเกือบจะไม่รีบาวด์เลยจนกระทั่งสิ้นเดือน พ.ค. เมื่อมันแรลลี่ค่อนข้างรวดเร็ว จากการซื้อของต่างชาติและการผ่อนคลายทางเครดิต. gap ในชาร์ตจากวันที่ 28 พ.ค. ระหว่าง 102.50-106.50 ตอนนี้กลายเป็นแนวรับ
🔹รัฐบาลทั่วโลกอัดฉีด 9 ล้าน ล้านดอลลาร์ (แหล่งข้อมูล จาก IMF) เพื่อหนุนเศรษฐกิจ มากกว่า การสูญเสียทางเศรษฐกิจหาก shutdown นาน 6 เดือน (Source: ADB)
นอกจากนั้น ธนาคารกลางรอบโลก ได้เริ่มขยาย QE และโปรแกรมต่างๆ ในหลายประเทศ ธนาคารกลางกำลังซื้อหุ้นกู้ที่ตํ่ากว่า investment grade
คําถามที่ไม่มีใครตอบได้ตอนนี้ คือ โควิด เวฟที่ 2 จะชะลอเศรษฐกิจจนกระทั่งการกระตุ้นและโปรแกรมทางการเงินอาจไม่เพียงพอหรือไม่ หากเราจะแค่สมมุติว่า จะทําร้ายแบงก์และกลุ่มอื่นไม่กระทบ ก็อาจจะดูคิดง่ายเกินไป เหมือนที่ นาย Warren Buffet ได้กล่าวว่า จงกลัวเมื่อคนอื่นโลภ และจงโลภเมื่อคนอื่นกลัว” แต่ ก็อย่าทําจนเกินไป เพราะเราเคยไฮไลต์ในโพสก่อนหน้าว่า มันมีหลายเหตุผลที่ทําให้กลุ่มนี้ไม่น่าดึงดูด (มีแบงก์หลายแห่ง แข่งขันสูงจากผู้เล่นต่างชาติ) แต่แบงก์ที่คุณภาพดี ราคาดี ก็อาจจะทําให้พอร์ตกระจายความเสี่ยงดีขึ้น ดังนั้นถ้าคนอื่นแพนิคในวันจันทร์ ก็ขอให้คุณมีสติ
ปล.หากสนใจกลุ่มแบงก์เจาะลึก และกราฟเต็มๆ ตามมาดูได้ในเฟสบุ๊คนะครับ เพราะย่อขนาดมาอัพโหลดในนี้ จะมองไม่เห็นชัด
.
.
.
.
.
.
.
.
#ธปท #BOT
#หุ้นแบงก์ #หุ้นธนาคาร
#ธนาคารไทย #BBL #KBANK #TMB #KTB #SCB
แหล่งข้อมูล
โฆษณา