23 มิ.ย. 2020 เวลา 07:29 • ธุรกิจ
เจาะแผนพัฒนา…รถไฟไทย จากปัจจุบันถึงปี พ.ศ.2580
วันนี้ขอพาทุกท่านไปดูอนาคตกันดีกว่าครับว่า รถไฟบ้านเราเขามีแผนพัฒนาอย่างไรบ้าง โดยแผนดังกล่าวจะยาวไปถึงปี 2580 เลยทีเดียว ซึ่งหากใครจะลงทุนซื้อ/ขาย ที่ดินเพื่อเกร็งกำไร แนะนำให้ควรเข้ามาอ่านบทความนี้ เพราะมีส่วนสำคัญกับราคาที่ดินของคุณในอนาคตอย่างแน่นอนครับ
แผนยุทธศาสตร์รถไฟ
ทางกระทรวงคมนาคมได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ระยะเวลา 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ไว้แล้ว ส่วนรายละเอียดสำคัญๆ เป็นอย่างไรเราไปดูกันเลยครับ
ต้องบอกกรอบการดำเนินงานขแงแผนที่ว่านั้น มันเริ่มมาจากแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีครับ ก่อนจะย่อยมาเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 และแตกมาเป็นแผนยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคมอีกที จนกลายมาเป็นแผนวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย
ภาพผังยุทธศาสตร์
ที่จะมาเล่าวันนี้ก็คือ “แผนวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย” นี่แหละครับ ซึ่งเขาก็แบ่งระยะเวลาการทำงานออกเป็นเฟสๆ อีกทีหนึ่งครับ โดยมีเป้าหมายว่าจะเป็นผู้ให้บริการระบบรางของรัฐที่ดีที่สุดในอาเซียน ตอนปี 2570 ครับ (อีก 7 ปี เรามาคอยตามดูกันครับ)
งั้นเรามาเริ่มกันที่ดูภาพเปรียบเทียบเส้นทางในปัจจุบันกับอนาคตหากเสร็จสมบูรณ์ ในปี 2580 กันก่อนเป็นอันดับแรก จะเห็นว่ามีระยะทางและเส้นทางเพิ่มมากขึ้นค่อนข้างเยอะอยู่ครับ
ภาพเปรียบเทียบโครงข่ายเส้นทางรถไฟ
ซึ่งต่อไป รถไฟบ้านเราสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1.รถไฟทางไกล
2.รถไฟความเร็วสูง
3.รถไฟในเมือง
4.รถไฟชานเมือง
รถไฟทางไกลประเภทต่างๆ
รถไฟประเภทต่างๆ
ซึ่งรถไฟแต่ละประเภทจะมีการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังภาพตารางเปรียบเทียบข้างล่างครับ
ตารางเปรียบเทียบประเภทรถไฟ
โดยต่อไปสถานีกลางจะย้ายไปอยู่ที่บางซื่อ เพื่อรองรับจำนวนผู้โดยสารและเส้นทางที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนสถานีหัวลำโพงก็คงกลายเป็นอดีตไป
เปรียบเทียบขนาดพื้นที่ใช้สอย
แผนที่บริเวณสถานีกลางบางซื่อ
และแน่นอนหากเปิดใช้งาน พื้นที่ส่วนนี้ก็น่าจะยิ่งเป็นทำเลทองในอนาคตอย่างแน่นอนครับ โดยในส่วนแรกนั้นจะมีการวางระบบรถไฟรางคู่ทั่วประเทศโดยแบ่งเป็นระยะเร่งด่วน กับระยะที่ 2 ต่อไป และขยายเส้นทางเพิ่มเป็นทางรถไฟสายใหม่ด้วย
เส้นทางรถไฟระบบรางคู่
ตัวอย่างเส้นทางรถไฟสายใหม่
แผนที่เส้นทาง เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ
แผนที่เส้นทางรถไฟ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม
ทีนี้เรามาดูต่อกันที่รถไฟความเร็วสูงกันบ้าง รถไฟความเร็วสูงนั้นมี 3 แบบ ได้แก่
1.รถไฟความเร็วสูง
2.รถไฟความเร็วสูงมาก
3.รถไฟความเร็วสูงพิเศษ
ชนิดรถไฟความเร็วสูง
ซึ่งรถไฟความเร็วสูงในบ้านเรานั้นจะมีทั้งหมด 4 เส้นทาง โดยแบ่งการทำงานเป็น 3 ระยะ (ตามภาพ)
แผนที่รถไฟความเร็วสูง
เรามาดูกันต่อที่ รถไฟความเร็วสูงระยะเร่งด่วน 4 เส้นทาง ซึ่งหากท่านเป็นนักลงทุนก็น่าจะเหมาะที่จะไปเล็งๆ ที่ดินแถวๆ บริเวณสถานี เพราะรถไฟความเร็วสูงนั้นไม่ได้มีสถานีถี่เหมือนรถไฟทั่วไป
เส้นกรุงเทพ-นครราชสีมา
เส้นเชื่อมต่อ 3 สนามบิน
เส้นกรุงเทพ-พิษณุโลก
เส้นโคราช-หนองคาย
ทั้ง 4 เส้นทางนี้ คือ เส้นทางที่เราจะได้ใช้ในอีกไม่นานครับ
ส่วนระยะถัดไปที่จะขยายต่อนั้นมี 3 เส้นทาง
เส้นกรุงเทพ-หัวหิน
เส้นพิษณุโลก-เชียงใหม่
เส้นหัวหิน-ปาดังเบซาร์
เส้นนี้จะมาที่หลังสุดเลยนะครับ
โดยจะมีการพัฒนารถไฟฟ้าชานเมือง ที่แบ่งเป็น 2 ระยะ 6 เส้นทางได้แก่
ระยะที่ 1
1.สายสีแดงเข้ม บางซื่อ-รังสิต
2.สายสีแดงอ่อน บางซื่อ-ตลิ่งชัน
ระยะที่ 2
3.สายสีแดงเข้ม รังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต
4.สายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน-ศาลายา และตลิ่งชัน-ศิริราช
5.สายสีแดงเข้ม บางซื่อ-หัวลำโพง และหัวลำโพง-มหาชัย
6.สายสีแดงอ่อน บางซื่อ-หัวหมาก
แผนผังรถไฟฟ้าชานเมือง
และไม่ใช่เพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น ยังจะมีการเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ตามเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งมีด่านต่างๆ โดยจะเริ่มจาก 5 ด่าน ได้แก่
1. ด่านแม่สอด จ.ตาก
2. ด่านอรัญประเทศ จ.สระแก้ว
3. ด่านบ้านหาดเล็ก จ.ตราด
4. ด่านมุกดาหาร จ.มุกดาหาร
5. ด่านปาดังเบซาร์ จ.สงขลา
และจะมีการพัฒนาไปด่านอื่นๆ ในระยะที่ 2 ต่อไป
พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ
ซึ่งต่อไปในอนาคตเราสามารถเดินทางด้วยรถไฟไปประเทศเพื่อนบ้านได้สะดวกยิ่งขึ้น ด้วย 6 เส้นทางเชื่อมต่อ ได้แก่
1. กรุงเทพ-หนองคาย เชื่อมต่อไป สปป.ลาว-คุณหมิง
2. กาญจนบุรี-บ้านน้ำพุร้อน เชื่อมต่อไปยัง ท่าเรือน้ำลึกทวาย
3. เชียงราย-เชียงของ เชื่อมต่อไปยัง สปป.ลาว และจีน
4. บ้านไผ่-นครพนม เชื่อมต่อไปยัง สปป.ลาว และจีน
5. มาบตาพุด-ตราด เชื่อมต่อไปยัง กัมพูชา
6. หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ เชื่อมต่อไปยัง มาเลเซีย
จุดเขื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
ซึ่งจะมีการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีรถไฟตามมาเช่นกัน
พื้นที่ย่านสถานี
สำหรับท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ ผมว่าน่าจะพอได้ข้อมูลและมองสามารถมองเห็นโอกาสของการลงทุนอยู่บ้างไม่มากก็น้อย
ยังไงช่วยเป็นกำลังใจให้กันง่ายๆ เพื่อผู้เขียนจะได้มีกำลังใจหาข้อมูลดีๆ มาให้ทุกท่านอ่านกัน
-เพียงกดไลค์ หากท่านชื่นชอบ
-กดแชร์ หากเห็นว่ามีประโยชน์
-กดติดตาม เพื่ออัพเดทข้อมูลสาระใหม่ๆ
ขอบคุณทุกท่านครับ
ข้อมูลอ้างอิง : การรถไฟแห่งประเทศไทย
โฆษณา