23 มิ.ย. 2020 เวลา 12:48 • การศึกษา
ทำอย่างไรจึงจะเรียนเก่งวิชาวิทยาศาสตร์?
ผมคิดว่าเมื่อเอยถึงวิชาวิทยาศาสตร์เเล้วหลายคนส่ายหน้าบอกเนื้อหาวิชาที่เรียนนั้นเข้าใจยาก ตอนประถมศึกษาเเละมัธยมศึกษาตอนต้นนั้นจะเป็นวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานเเต่พอมามัธยมศึกษาตอนปลายจะกลายเป็นฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาเเละโลก ดาราศาสตร์เเละอวกาศ
ในส่วนเนื้อหาที่จะท่องจำเยอะสักหน่อยคือชีววิทยา เเต่ไม่ใช่ว่าต้องท่องเพียงอย่างเดียว ต้องอาศัยความเข้าใจด้วยเเละมีคำนวณอยู่นิดหน่อย
Pixabay.com
ในส่วนวิชาเคมีนั้นสำหรับผมนี้เป็นอะไรที่ยากที่สุด ในส่วนของการท่องเเละทำความเข้าใจนั้นก็ยากเเละคำนวณของวิชาเคมีโหดไม่เเพ้กันเลยครับ เเต่ถ้าได้ทำการทดลองบ่อยๆ น่าจะช่วยให้เข้าใจได้มากขึ้น
Pixabay.com
ส่วนวิชาฟิสิกส์นั้นสร้างความปวดหัวให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายไม่น้อยเลย เเถมบางเนื้อหาของฟิสิกส์ยังเอาวิชาคณิตมาช่วยในการคำนวณอีกด้วย ย้ำว่าการทดลองฟิสิกส์เป็นอะไรที่สนุกมากเลยผิดบ้าง ถูกบ้างเฮฮ่ากันไป ส่วนคนที่พื้นฐานคำนวณไม่ค่อยดีเจอฟิสิกส์เข้าไปคงมีเซ็งกันไปเลย ส่วนวิชาโลก ดาราศาสตร์ เเละอวกาศตรงส่วนนี้ถ้าได้สื่อการสอนที่ดีเเละเข้าใจง่ายจะช่วยทำให้เรียนรู้เรื่องมากขึ้น
Pixabay.com
หลังจากผมอธิบายไปเบื้องต้นเมื่อกี้ต้องเข้าพูดต่ออีกสักหน่อยว่าบุคคลที่คิดค้นวิชาวิทยาศาสตร์ขึ้นล้วนเป็นคนที่เรียกว่าอัจฉริยะซะเป็นส่วนใหญ่ เป็นนักวิทยาศาสตร์
ที่ชื่นชอบการทดลองเเละหาคำตอบให้สิ่งที่สงสัยเเละทำให้โลกใบนี้ดีขึ้นเเละสะดวก
สบายขึ้นกว่าเดิม หากจะหวังว่าจะเรียนได้ง่ายเเละสบายไม่ต้องพยายามคงต้องบอกว่า
คุณคิดผิดเเล้ว อย่าลืมนะครับวิทยาศาสตร์ทุกอย่างต้องพิสูจน์ได้มีหลักฐานเเละหลักการ
รองรับจะมั่งไม่ได้เลย
จากประสบการณ์ของผมที่เคยเรียนกับเพื่อนที่เก่งวิทยาศาสตร์ อาจารย์มหาวิทยาลัยที่เก่งๆเเละนักวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานวิจัยดังๆติพิมในวารสารวิจัยดังๆทั้งในเเละต่างประเทศ ผมก็มีข้อเเนะนำสักเล็กน้อยที่พอจะให้ปรับใช้ได้ดังนี้
1. พยายามหาหนังสือวิทยาศาสตร์ที่ดีๆเเละภาพสวย อธิบายเข้าใจง่าย อาจจะค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ตที่มีคนรีวิวไว้เเล้ว ผมสังเกตเห็นในร้านหนังสือทุกวันนี้มีเด็กโอลิมปิกที่ไปเเข่งขันกับต่างประเทศมาเขียนหนังสือดีๆหลายเล่มที่น่าอ่าน สรุปได้สั้น กระชับ มีข้อสอบเเข่งขันที่น่าสนใจ หากเก่งกว่านั้นหน่อยก็หนังสือของสอวน(เป็นหนังสือของโครงการส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการในพระอุปถัมถ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอกัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์)ก็ดีมากๆเลยนะครับ ใครเทพๆกว่านั้นก็textbookต่างประเทศไปเลย เเอบกระซิบบอกนะว่าเนื้อหาtextbookนั้นดีเเละเข้าใจง่ายมากๆหากอ่านภาษาอังกฤษออก
2. ยูทูปทุกวันนี้มีคนอัดวีดีโอสอนวิชาลงบนเเชทเนลของตัวเองมากมากเลยครับ เเถมมีไพล์เอกสารให้โหลดมาพิม นั่งมาดูติวเเบบฟรี น่าอิจฉาเด็กสมัยนี้ สมัยผมไม่เรียนพิเศษกับครู
ก็ต้องจองเรียนพิเศษกับติวเตอร์ชื่อดังที่ส่งเทปมาเปิดให้ดูนะครับ ทีนี้ยูทปเลือกเอาเลยครับว่าชอบเเบบคนสอนเเบบไหน สไตล์ไหน มีติวข้อสอบให้ทั้งโอเน็ตเเละข้อสอบเอ็นทรานซ์
ทุกวันนี้วิชาวิทยาศาสตร์มีครูเก่งดีๆหลากหลายสไตล์มาช่วยอธิบายมากขึ้นกว่าเเต่ก่อน เเถมบางวีดีโอมีโชว์การทดลองให้ดูต้องบอกจริงๆว่าการทดลองช่วยให้เข้าใจเนื้อหาที่ยากของ
วิทยาศาตร์ได้เห็นภาพเเละเข้าใจชัดเจนขึ้น
คาดว่าต่อไปคงมีติวเตอร์บนยูทูปเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ใครฟังอังกฤษออกkhan academyก็น่าสนใจนะครับ มีให้เลือกเรียนหลายวิชาเลย
3. ไปอ่านหนังสือกับกลุ่มเพื่อนที่เก่งในวิชาวิทยาศาสตร์จะมีเพื่อนบางคนหวงวิชาเเต่คนที่ไม่หวงก็คงมีนะครับ การที่เราได้อ่านหนังสือกับเพื่อน ติวข้อสอบไปกับเพื่อนจะช่วยให้เราได้
ทบทวนเเละทำความเข้าใจให้ถูกต้องได้มากขึ้น หากบางเนื้อหาเราอ่านไปเเต่เข้าใจผิด หากไม่มีท้วงติงหรือช่วยบอกเข้าใจผิดเเบบนั้นไปเรื่อยๆ
4. ถ้ามีใครมีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์จริงๆเมืองไทยมีทุนเรียนวิทยาศาสตร์ฟรีตั้งเเต่ปริญญาตรีถึงปริญญาเอกทั้งในประเทศเเละต่างประเทศนะครับ เเนะนำสักนิดสำหรับคนที่มีความสามารถด้านนี้ ยกตัวอย่างเช่นทุนพสวท ทุนเรียนดีด้านวิทยาศาสตร์ เเละโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กเเละเยาวชนjstp
ย้ำอีกสักนิดว่าที่ผมเคยคิดกว้างๆที่พอให้นักเรียนส่วนใหญ่ทั่วประเทศพอเอาไปปรับใช้ได้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์เเละนำปรับไปใช้ให้เรียนวิชานี้ได้ดีขึ้นเเละกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ชื่อดัง เผื่อสักวันหวังว่าจะได้เห็นคนไทยคว้ารางวัลโนเบลด้านวิทยาศาสตร์
#รีวิวทุกอย่างที่นึกออกสไตล์โน้ตอินดี้
โฆษณา