30 มิ.ย. 2020 เวลา 04:29 • ธุรกิจ
" ขยะ " | สร้างงาน Ep.2
พลาสติกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาชนะบรรจุอาหาร ขวดน้ำดื่ม น้ำอัดลม เมื่อเราใช้แล้วก็มักจะถูกทิ้งกลายเป็นขยะปัจจุบันมีวิธีการกำจัดที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นฝังกลบ เผาทำลาย หรือนำกลับมารีไซเคิล
แต่การกำจัดก็มีขั้นตอนต่างๆ มากมาย
ขอยกตัวอย่างขยะพลาสติกชนิดที่ใช้บรรจุน้ำดื่ม หากเราซื้อน้ำดื่มที่บรรจุขวดด้วยพลาสติกให้เราลองสังเกตดังนี้
ขวดน้ำ 1 ขวดประกอบด้วยพลาสติกหลักๆ อยู่ 3 ชนิดนั่นก็คือ
- ขวดน้ำที่นิยมใช้กันจะเป็นพลาสติกชนิด
Polyethylene terephthalate (Pet) จะมีลักษณะใสประกาย แข็งแรง ยืดหยุ่น น้ำหนักเบาและทนแรงกระแทกได้ดี หากเราอยากจะรู้ว่าขวดน้ำดื่มเป็นพลาสติกชนิดไหนให้สังเกตสัญลักษณ์ที่ก้นขวด #1
- ฝาขวดที่นิยมใช้กันจะเป็นพลาสติกชนิด HDPE #2
- ฉลากที่นิยมใช้จะเป็นพลาสติกชนิด PVC #3 หรือ PP # 5 โดยที่ฉลากจะระบุรายละเอียดต่างๆ ไว้เช่น ชื่อแบรนด์ บริษัทผู้ผลิต ปริมาณ เลขที่ทะเบียนอย. หรือฮาลาล เป็นต้น
กระบวนการสร้างงานเริ่มจากที่บ้าน โดยกลุ่มที่ได้รับงานตรงนี้ ก็จะมีตัวเรา ซาเล้งเก็บของเก่า เจ้าหน้าที่เขตหรือเทศบาลพนักงานในร้านรับซื้อของเก่า รถขนส่ง พนักงานในบริษัทรีไซเคิล พนักงานในบริษัทที่แปรรูปเส้นใยโพลีเอสเตอร์สังเคราะห์ พนักงานในบริษัทที่ใช้เส้นใยในการผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย
ฉะนั้นจึงมองได้ว่าการรีไซเคิลนั้นสามารถสร้างงานให้คนได้หลายภาคส่วนทีเดียว
เรามาดูแนวทางกระบวนการเริ่มต้นของการรีไซเคิลขวด Pet กัน หลังจากเราดื่มน้ำหมดขวดล่ะ เราก็สะสมขวดเปล่าไว้ขายค่อยๆ สะสมจนมีปริมาณมากพอจึงนำไปขายที่ร้านรับซื้อของเก่าหรือตามรถรับซื้อของเก่าต่างๆ ถ้าหากเราไม่อยากเก็บเราก็ทิ้งลงถังขยะหน้าบ้านแล้วก็จะมีคนที่หาเก็บขวดเก็บขยะขายจะมารื้อเอาไปขาย(ซาเล้ง) หรือไม่ก็เป็นรถเก็บขยะของเขตหรือเทศบาล มาเก็บไปในแต่ละวัน 3 วัน หรือ 1สัปดาห์ 😆
ขวด PET ที่ถูกบีบอัด
หลังจากนั้นขวดต่างๆ ก็จะมาอยู่ ณ ร้านรับซื้อของเก่า(ตัวอย่างร้านรับซื้อก็คือวงษ์วานิชรีไซเคิล) ทำการคัด แกะฉลากออกแล้วก็จะถูกบีบอัดให้แบนที่สุดด้วยเครื่องบีบเพื่อที่จะทำให้ขวดนั้นแบนลงจะได้คุ้มค่าในการขนส่งแต่ละครั้งเพราะขวด PET มีน้ำหนักเบาหลังจากนั้นจะถูกส่งไปขายต่อที่โรงงานรีไซเคิลขวดโดยเฉพาะเช่น บริษัทอินโดรามา จำกัด (มหาชน) หรือโรงงานรีไซเคิลขวด Pet โดย SME ขนาดกลางและขนาดเล็กตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วไทย
ซึ่งโรงงานบางแห่งรับเฉพาะขวดที่แกะฉลากแล้ว บางแห่งก็รับทั้งที่ยังไม่ได้แกะฉลากออก การรับซื้อขวด PET ที่แกะฉลากแล้วจะช่วยลดขั้นตอนการทำงานได้มาก ขวดพลาสติกที่แกะฉลากออกแล้วจะมีราคาขายสูงกว่าที่ยังไม่ได้แกะ
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าโรงงานไหนมีเครื่องจักรในการรีไซเคิลขวดอยู่ในระดับไหน ทั้งแบบธรรมดาที่ใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่หรือใช้เครื่องจักรระบบทันสมัยใช้แรงงานน้อย
กระบวนการบดขวด PET
ในการรีไซเคิลขวด Pet นั้นแต่ละโรงงานจะมีกระบวนการที่ไม่เหมือนกันโดยจะแบ่งได้ออกเป็น 2 ชนิดคือ การล้างน้ำร้อนและล้างน้ำเย็น
- การล้างน้ำแบบน้ำร้อนคือขวดที่ผ่านกระบวนการนี้จะสามารถนำไปหลอมใหม่หรือขึ้นรูปงานได้ทันที เพราะถือว่าเป็นกระบวนการรีไซเคิลขวดที่สะอาดที่สุด
- การล้างแบบน้ำเย็นคือกระบวนการที่ขวดเมื่อรีไซเคิลแล้วยังไม่สามารถนำไปหลอมหรือใช้งานได้ทันที เพราะถือว่ายังไม่สะอาดเพียงพอ บริษัทที่รับซื้อไปต่อจะต้องนำไปผ่านกระบวนการล้างน้ำร้อนอีกที จึงจะสามารถใช้งานได้
ขั้นตอนต่อมาเมื่อโรงงานรับซื้อขวดมาแล้ว ก็จะทำการโม่หรือบดขวดด้วยเครื่องจักร ซึ่งขวดที่ถูกบดแล้วจะไหลไปสู่กระบวนการล้าง น้ำร้อนหรือน้ำเย็นดังที่กล่าวมาข้างต้น
เกล็ดขวด PET ที่ผ่านการบดเสร็จแล้ว
ชิ้นงานที่ถูกบดก็จะมีไลน์ผลิตทำการแยกประเภทออกจากกัน ตัวขวดก็จะไหลไปทาง ฝาขวดก็จะไหลไปอีกทาง ผ่านกระบวนการชะล้างที่ได้มาตรฐาน ซึ่งชิ้นงานที่ถูกบดจะมีขนาด 4 หุน - 1นิ้ว แต่ที่นิยมมักจะมีขนาด 4 หุน ซึ่งจะมีตะแกรงคอยกรองอีกที หากชิ้นงานที่บดนั้นมีขนาดเล็กก็จะหลุดตะแกรงไปกลายเป็นชิ้นงานอีกเกรด
ฝาขวดและขวดที่ถูกบดแล้ว
หลังจากนั้นก็ผ่านกระบวนการสลัดแห้งให้น้ำออก และผ่านการคัดแยกสิ่งปลอมปนอีกทีด้วยเครื่องจักรและแรงงานคน
ทั้งนี้บริษัทที่รับซื้อชิ้นงานที่บดแล้วจะมีการตรวจวัดมาตรฐานต่างๆ ตามที่กำหนดเช่น
1) ขยะไม่เกิน 100-300 PPM
2) ความชื้นหักตามความเป็นจริง
3)ควบคุมคุณภาพสิ่งปลอมปน ฉลาก หิน ดิน โลหะ และขวด PET ที่เก่าและเหลือง ความสะอาด ไม่ดำและอื่นๆ ไม่ให้เกินมาตรฐานที่กำหนด
4) มีพีวีซีผสมส่วนใหญ่จะไม่รับสินค้า
เรื่อง pvc ปนเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะหากนำสินค้าไปหลอมหรือขึ้นรูปจะทำให้งานนั้นมีจุดดำปน ทำให้งานนั้นเสียหายได้
พร้อมส่งโรงหลอม
เมื่อได้ชิ้นงานบดพร้อมแล้วก็จะเข้าสู่กระบวนการหลอมเช่นรีดเป็นแผ่นชีท หรือหลอมเป็นเม็ดพลาสติกเพื่อให้ได้เม็ดพลาสติก PET รีไซเคิลคุณภาพสูง เพื่อผลิตเป็นเส้นใยโพลีเอสเตอร์หรืองานอื่นๆเกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภคต่อไป
เราจะเห็นว่ากระบวนการรีไซเคิลขวด PET นั้นสามารถนำทุกอย่างมารีไซเคิลกลับมาใช้งานได้หมดทั้งขวดและฝาส่วนฉลากนั้นสามารถนำไปเผาเป็นพลังงานเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าได้ (Ep.3 ขยะทำเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้า)
ขยะหลายคนมองว่า "ไร้ค่า" แต่อีกหลายคนมองว่ามันเป็น "อาชีพ" และส่วนตัวมองว่าเป็นเชื้อเพลิงอย่างดีในทางความคิดที่สร้างสรรค์
#ลุงแมน (คนเก็บขยะ)
ฝากติดตามบทความ " ขยะ " | Ep.3
โฆษณา