30 มิ.ย. 2020 เวลา 04:38 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
#อันตรายและจุดเสี่ยงของการต่อร่วมสายกราวด์กับสายดินของผู้ใช้ไฟฟ้าอยู่ตรงไหน?
จริงๆ ไม่อยากเขียนโพสนี้เท่าไร แต่คาใจ และเป็นคำถามตัวเองตลอดเวลา ว่าทำไม #กฟภ. และ #กฟน. จึงกำหนดมาตรฐานบังคับใช้ ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องต่อจุดนิวทรัล ( N ) ร่วมกับสายดิน ( G ) ตามรูปที่1
รูปที่1
สำหรับผู้ใช้ไฟเก่าคงอนุโลมเพราะตรวจสอบคงไม่ทั่วถึง สำหรับ #ผู้ขอติดตั้งขอใช้ไฟฟ้าใหม่ต้องทำและบังคับ ไม่เช่นนั้นจะ #ไม่จ่ายไฟฟ้าให้ ซึ่งเมื่อไปดูเหตุผลของการไฟฟ้าคือ ป้องกันแรงดันไฟฟ้าเกินเมื่อสายนิวทรัลระบบหลวม หรือ ขาด ส่งผลทำให้ระบบไม่ครบวงจรทางไฟฟ้าแบบมาตรฐานทั่วไปได้ (ตามรูปที่2) จะทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าปกติรับไฟ 220 โวลท์ เป็น 380 โวลท์ (กลายเป็นการรับไฟฟ้าแบบแรงดัน 3 เฟส 2 สายทันที ซึ่งมีค่า 380 โวลท์) ดังนั้นจึงแก้ปัญหาโดยให้ผู้ใช้ไฟฟ้าป้องกันปัญหาส่วนนี้ที่อาจจะเกิดขึ้น จนทำให้ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหายได้
รูปที่2
ทั้งนี้เคยได้เขียนบทความที่พูดเรื่องกราวด์ (สายดิน) ระบบส่งไฟฟ้ากำลังและการปรับปรุงไว้ ซึ่งเคยเขียนข้อเป็นห่วงไว้นั้น ตามมาตรฐาน NEC 250-81 or NEC 250-83 กำหนดไว้คือ บ้านและที่อยู่อาศัย เป็นการต่อลงดินแบบหลักดินแท่งเดียว จะต้องมีค่าความต้านทานของระบบการต่อลงดินไม่เกิน 25 โอห์ม
ที่เป็นห่วงคือนอกจากการเกิดปัญหาจากเรื่องสายนิวทรัลระบบหลักหายแล้วทำให้ไฟเกิน ยังเป็นห่วงว่าด้วยเรื่อง มาตรฐานการตรวจสอบว่าระบบสายดินที่ดีและได้ค่ามาตรฐานหรือไม่ เพราะลักษณะของบ้านพักอาศัยของคนไทย ซึ่งพื้นที่การติดตั้งระบบสายดินอาจไม่ดีนัก หรือปัญหาจากผู้ติดตั้งระบบไฟฟ้า และ #ปัญหาอะไรจะเกิดขึ้น เริ่มตั้งแต่จุดเชื่อมเข้าระบบไฟฟ้าหลังจาก #มิเตอร์วัดไฟเกิด #ต่อสลับสายไฟ ( L ) กับนิวทรัล ( N ) ถ้าระบบสายดิน ( G ) ที่จุดเชื่อมต่อดี และได้ค่ามาตรฐาน ไฟ 220 โวลท์ ที่ต่อผิดจะไหลลงดินทันที ( ถ้าสายไฟไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ร้อนและเกิดไฟลุกไหม้ได้ หรือถ้า ค่าสายดินไม่ดี จะทำให้มีแรงดันตกคร่อมไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ต่อสายดินไว้ ส่งผลเกิดอันตรายต่อผู้ใช้ไฟฟ้า) (ดังรูปที่3) ซึ่งปัญหานี้เคยเจอกับเพื่อนข้างบ้านผมเอง ถึงแม้ว่า MCCB จะเปิดอยู่ สายไฟที่ต่อลงดินฉนวนละลาย #โชคดีไม่เกิดเพลิงไหม้ ต้องเดินสายใหม่
รูปที่3
และอาจจะมีคำถามว่า โอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก ในการต่อสลับสายไฟฟ้า แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ แล้วใครจะรับผิดชอบ (เคยมีเพื่อนๆ สอบถามเหมือนกัน ) ตรงนี้คงต้องไล่หาสาเหตุ ถ้ามาจากระบบสายนิวทรัลระบบขาด และมีไฟฟ้าไหลมายังบ้านผู้ที่ประสพเหตุ การไฟฟ้าคงต้องรับผิดชอบไม่มากก็น้อย จะอ้างว่า ระบบสายดินบ้านเรือนผู้เสียหายไม่ดีคงไม่ได้ เพราะได้ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานและจ่ายไฟฟ้าให้ผู้ใช้ไฟแล้ว ซึ่งตรงนี้ การไฟฟ้าเองจะต้องวัดค่าสายดินด้วย ไม่ใช่ดูที่ขนาดสายและการต่อสายไฟอย่างเดียว
#ปัญหานี้จะแก้อย่างไร? จริงๆแล้วตามความปลอดภัยควรจะแยกระบบออกระหว่างผู้จ่ายไฟกับผู้รับไฟฟ้า ไม่ควรให้เกิด ground loop กับผู้ใช้ไฟ อย่างไรก็ตาม การเกิดขึ้นของสายนิวทรัลในระบบอาจเกิดขึ้นได้จากอุบัติเหตุ ดังนั้น การไฟฟ้าเองควรทำการติดตั้งระบบสายดินก่อนจ่ายไฟให้ผู้ใช้ไฟฟ้าตั้งแต่แรก เพื่อควบคุมมาตรฐานระบบสายดินด้วย โดยการติดตั้งก่อนเข้ามิเตอร์ผู้ใช้ไฟฟ้า (ดังรูปที่4) ปัญหานี้จะหมดไปทันทีและไม่ส่งผลอันตรายต่อผู้ใช้ไฟฟ้า ที่มาจากการเดินระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เมื่อ การไฟฟ้าติดตั้งระบบสายดินก่อนเข้ามิเตอร์แล้ว ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถแยกระบบสายดินกับสายนิวทรัลระบบการไฟฟ้าได้ มีความปลอดภัยโดย #ไม่ต้องต่อจุดร่วมของสายนิวทรัลและสายดินภายในบ้าน #ตัดปัญหาเรื่องควบคุมมาตรฐานการเดินระบบไฟฟ้าในบ้านประชาชน
รูปที่4
ทั้งหมดที่เขียนมานี้ไม่ได้ขัดแย้งกับมาตรฐานการติดตั้งถ้าระบบเรามีควรปลอดภัย เชื่อถือได้ แต่เมื่อป้องกันได้และสามารถควบคุมมาตรฐานจากหน่วยงานการไฟฟ้าเองจะมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น
#การต่อร่วมสายนิวทรัลกับสายดิน #อันตรายและจุดเสี่ยงของการต่อร่วมสายนิวทรัลกับสายดิน
#ระบบส่งไฟฟ้าและการควบคุมการจ่ายไฟ
โฆษณา