30 มิ.ย. 2020 เวลา 10:54 • ธุรกิจ
กระแสแคมเปญ Stop Hate for Profit เป็นการลด Hate Speech ให้น้อยลงหรือเป็นการสร้างอำนาจต่อรอง Facebook?
ข่าวล่าสุดที่มาร้อนแรงไม่กี่วันนี้เกี่ยวกับ Social Advertising ที่บริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกได้ทำการ Ban Facebook Twitter และSocial มากมายที่ไม่สามารถหยุดยั้งกระแส Hate Speech ได้ โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Coca-Cola, papsi, Starbuck, Unilever และบริษัทยักษ์ใหญ่อื่นๆอีกกว่า 150 แบรนด์
ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้สร้างความเสียหายให้แก่ Facebook โดยตรง เพราะรายได้ของFacebook ในปี 2019 นั้นสูงกว่า 2,297,723 ล้านบาท กำไร 600,871 ล้านบาท และมีสันส่วนรายได้เป็นค่าโฆษณาถึง 98.5%
แต่ถ้าเรามองในมุมมองลึกๆแล้ว มันยิ่งน่าสงสัยครับ เพราะว่าบริษัทเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจาก Covid-19 ทั้งนั้น และเหตุการณ์นี้มันเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร Near us จะอธิบายให้ฟังครับ
บทความนี้ค่อนข้างมีความยาวพอสมควร ขอให้คุณลองหาเวลาว่างอ่านนะครับ แต่ถ้าจะอ่านรวดเดียว ผมได้ใช้เส้นขั้นเพื่อให้ทำความเข้าใจแต่ละหัวข้อให้ง่ายขึ้นแล้ว
อย่างแรก เราต้องมาดูผลประกอบการของบริษัทเหล่านี้ก่อนว่า ได้รับผลกระทบอย่างไรบ้างจาก Covid-19 และบริษัทเหล่านี้ได้จ่ายค่าโฆษณาให้กับ Facebook เท่าไหร่ เริ่มจากบริษัทแรก
Starbucks
ตั้งแต่การแพร่ระบาดของ COVID-19 ขยายเป็นวงกว้างไปทั่วโลกโดยนับนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 10 มีนาคม 2563 มูลค่าของสตาร์บัคส์ลดลงกว่า 666,803 ล้านบาท และราคาหุ้นได้ดิ่งลงมาอย่างต่อเนื่องจาก93.75$/หุ้น(23/1/2020) ลงมาเหลือ 56.55$/หุ้น(23/3/2020)ก่อนจะกลับมาจากเนื่องจากการฟื้นตัวของประเทศจีนและการปลดมาตราการLockdown ของรัฐบาลจีน โดยปัจจุบันมาอยู่ที่ 73.48$/หุ้น(29/6/2020)
ที่มา https://th.investing.com/equities/starbucks-corp
และจากเหตุการณ์ระบาดของ Covid-19 ทำให้ทาง Starbucks เตรียมปิด 400 สาขาในสหรัฐถาวรและอีกกว่า 200 แห่งในแคนาดา พร้อมดันร้านรูปแบบใหม่ “Starbucks Pickup” ที่จะเป็นหน้าร้านขนาดเล็ก มีพื้นที่นั่งในร้านน้อย เหมาะสำหรับให้ลูกค้าสั่งกลับบ้าน หรือซื้อเครื่องดื่มแล้วแวะไปที่อื่นต่อ
ผลประกอบการของ Starbuck
Q4(30ก.ย.-29ธ.ค.2019) รายได้ 220,007 ล้านบาท กำไร 27,456 ล้านบาท
Q1(30ธ.ค.-29ม.ค.2020) รายได้ 185,866 ล้านบาท กำไร 10,180 ล้านบาท
ตามข้อมูลของ Pathmatics บริษัทเก็บรวบรวมข้อมูลงบโฆษณาบนสื่อดิจิทัล ระบุว่างบซื้อโฆษณาบน Facebook ของ Starbucks เมื่อปี 2019 สูงถึง 94.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3,033 ล้านบาท) และทาง Starbucks ประกาศว่าจะหยุดการโฆษณาชั่วคราว บนทุกแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย
Coca-Cola
ตั้งแต่การระบาดของ Covid-19 เริ่มขยายตัวมากขึ้น ทำให้หุ้นของCoca-Colaเริ่มร่วงลงจากจุดสูงสุดอยู่ที่ 60.13$/หุ้น(21/02/2020)ลงมาอยู่ที่37.56$/หุ้น(23/03/2020) และดีดตัวกลับอยู่ที่44.36$/หุ้น(29/06/2020)
โดยนับตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ยอดขาย Coca-Cola ร่วงลงถึง 25% เอฟเฟ็กต์จากมาตรการล็อกดาวน์ในหลายๆ ประเทศที่กำลังเผชิญหน้ากับการระบาดอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นการหยุดให้บริการของร้านอาหาร, โรงภาพยนตร์, เที่ยวบินหยุดให้บริการ หรือแม้แต่ การจำกัดเวลาเข้า-ออกบ้าน, การเคอร์ฟิว มาตรการต่างๆ เพราะเนื่องจากว่าช่องทางการจัดจำหน่ายของCoca-Cola ล้วนมาจากธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 ทำให้ยอดการสั่งซื้อมีจำนวนลดลง
ผลประกอบการแต่ละไตรมาสของ Coca-Cola
Q4(1ต.ค.-31ธ.ค.2019) รายได้ 281,108 ล้านบาท กำไร 63,302ล้านบาท
Q1(1ม.ค.-27ม.ค.2020) รายได้ 266,631 ล้านบาท กำไร 86,025 ล้านบาท
Coca-cola: จ่ายค่าโฆษณาให้ Facebook ไปทั้งสิ้น 22.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 จะหยุดจ่ายโฆษณาให้ Facebook ทั่วทั้งโลกเป็นระยะเวลา 30 วัน โดย James Quincey ผู้บริหารสูงสุดกล่าวในแถลงการณ์ว่า“เราคาดหวังความรับผิดชอบการกระทำและความโปร่งใสที่มากขึ้นจาก Facebook”
ข้อมูลเบ็ดเตล็ด: โค้กมีผู้ผลิต และจัดจำหน่ายในบ้านเรา 2 ราย คือหาดทิพย์ที่ดูแลการผลิต และจัดจำหน่ายให้โค้กในเขตภาคใต้ และไทยน้ำทิพย์ที่ดูแลในส่วนที่เหลือ โดยมีเรื่องของหน่วยรถถจัดจำหน่ายเป็นหัวหอกสำคัญในการทะลุทะลวงเข้าร้านค้าย่อยทั่วประเทศ
pepsi
ตั้งแต่การระบาดของ Covid-19 เริ่มขยายตัวมากขึ้น ทำให้หุ้นของ pepsi ที่เคยทำสถิติสูงสุดจาก 146.99$/หุ้น(14/02/2020) ร่วงลงมาจนถึง 103.93$/หุ้น(20/03/2020) และภายหลังจึงดีดกลับไปที่ 130.92$/หุ้น(29/06/2020) เนื่องจากมาตรารัฐบาลได้มีการผ่อนคลายมาตราการ Lock down ทำให้ pepsi สามารถกลับมาขายผ่านช่องทางของตัวเองได้อีกครั้งโดยผ่าน ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีก, ร้านอาหารและโรงภาพยนตร์ได้อีกครั้ง
ที่มา https://www.investing.com/equities/pepsico
ล่าสุดเป็นรายของ PepsiCo ที่ได้ตัดสินใจตบเท้าเข้าร่วมการคว่ำบาตร Facebook อีกราย โดย FOX Business รายงานโดยอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งข่าวใกล้ชิดซึ่งได้เปิดเผยว่า บริษัทผู้ผลิตขนมและเครื่องดื่มจากสหรัฐอเมริกา เลือกที่จะไม่ลงโฆษณากับ Facebook ชั่วคราว เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 2 เดือน (กรกฎาคม-สิงหาคม) นับเป็นส่วนหนึ่งของการรวมตัวคว่ำบาตร (Global Boycott) การลงโฆษณาผ่าน Facebook
ผลประกอบการแต่ละไตรมาสของ pepsi
Q4(8ก.ย.-28ธ.ค. 2019) รายได้ 715,795 ล้านบาท กำไร 61,244 ล้านบาท
Q1(29ธ.ค.-21ม.ค.2020) รายได้ 481,393 ล้านบาท กำไร 46,401 ล้านบาท
สำหรับงบด้านการตลาด โปรโมต และโฆษณาของ PepsiCo อยู่ที่ประมาณปีละ 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 80,000 ล้านบาท
ข้อมูลเบ็ดเตล็ด: เป๊ปซี่ในอดีตมีเสริมสุขเป็นพาร์ทเนอร์ แต่เมื่อไม่กี่ปีก่อนหมดสัญญาลง จึงหันมาทำในเรื่องของผลิตเอง ส่วนการจัดจำหน่าย เป๊ปซี่ผนึกพันธมิตรกับ “ดีเอชแอล” ผู้นำในด้านลอจิสติกส์และการบริหารคลังสินค้าระดับโลก ควบคู่ไปกับการใช้โมเดลธุรกิจแบบดิสทริบิวเตอร์เพื่อกระจายสินค้าไปยังท้องถิ่นผ่านตัวแทน 24 แห่ง ซึ่งสามารถเข้าถึงร้านค้าปลีก-ส่งและร้านโชว์ห่วยกว่า 470,000 แห่งทั่วประเทศ
Uniliever
ตั้งแต่การระบาดของ Covid-19 เริ่มขยายตัวมากขึ้น ทำให้หุ้นของ Unilever จากเดิมที่เคยทำสถิติสูงสูดอยู่ที่ 55.18 EUR(18/02/2020) ดิ่งลงมาอยู่ที่ 39.09 EUR(16/03/2020) ก่อนจะเริ่มพื้นตัวไปอยู่ที่ 46.83 EUR(29/06/2020)
ที่มา https://th.investing.com/equities/Unilever-ord
ส่วนสาเหตุที่ทำให้ Unilever กลับมาฟื้นตัวได้เร็ว เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคเริ่มขยายตัวและการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันเริ่มกลับมามีความจำเป็นมากขึ้นอีกครั้ง บวกกับการที่ผู้บริโภคเริ่มมีการทำงานแบบ Work From Home มากขึ้น
ผลประกอบการแต่ละไตรมาสของ Uniliever
Q4
Unilever: จ่ายค่าโฆษณาให้ Facebook ไปทั้งสิ้น 42.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 นับเป็นบริษัทที่จ่ายค่าโฆษณาให้ Facebook มากเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยจะหยุดจ่ายค่าโฆษณาให้ Facebook, Twitter และ Instagram ในสหรัฐอเมริกาเป็นระยะเวลาทั้งปีของปี 2020 โดย Unilever เป็นเจ้าของกิจการหลายแบรนด์ เช่น Dove และ Lipton เป็นต้น
ข้อมูลเบ็ดเตล็ด: Unilever ประกาศในวันที่ 15 มิ.ย. 2020 ว่าบริษัทจะลงทุน 1,000 ล้านยูโร หรือประมาณ 34,900 ล้านบาทในกองทุนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change fund)ที่นำเงินไปลงทุนในโครงการต่างๆ ซึ่งเน้นแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น การปลูกป่า, การอนุรักษ์น้ำ, การกักเก็บคาร์บอน หรือการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
นอกจากนั้นยังมีบริษัทอีกหลายแห่งที่ร่วมกัน Ban ไม่ซื้อค่าโคษณา Facebook ได้แก่
1.Honda (อเมริกา): จ่ายค่าโฆษณาให้ Facebook ไปทั้งสิ้น 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 จะหยุดจ่ายค่าโฆษณาให้ Facebook ในเดือนกรกฎาคมนี้
2.Brichbox: บริษัทให้บริการด้านความสวยความงาม จ่ายค่าโฆษณาให้ Facebook ไปทั้งสิ้น 947,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 จะหยุดการจ่ายโฆษณาให้ Facebook และ Instagram ในเดือนกรกฎาคม แล้วไปโฆษณาในแพลตฟอร์มอื่นแทน
3.Levi Strauss & Company: จ่ายค่าโฆษณาให้ Facebook ไปทั้งสิ้น 2.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 จะระงับการจ่ายโฆษณาให้ Facebook จนเดือนกรกฎาคม โดย Jen Sey หัวหน้าฝ่ายการตลาดของบริษัทระบุว่า Facebook ล้มเหลวในการแก้ปัญหา Hate Speech อย่างจริงจัง
4.Lululemon: จ่ายค่าโฆษณาให้ Facebook ไปทั้งสิ้น 1.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 ได้ร่วมการคว่ำบาตร และระงับการจ่ายโฆษณาให้ Facebook และ Instagram ออกไปก่อน
5.Verizon: จ่ายค่าโฆษณาให้ Facebook ไปทั้งสิ้น 22.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 โดย John Nitti หัวหน้าเจ้าหน้าที่สื่อของ Verizon แถลงการณ์ว่าบริษัทจะระงับการจ่ายโฆษณาให้ Facebook จนกว่า Facebook จะหาหนทางการแก้ปัญหาที่สามารถยอมรับได้
6.Eddie Bauer: จ่ายค่าโฆษณาให้ Facebook ไปทั้งสิ้น 1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 ประกาศหยุดจ่ายโฆษณาให้ Facebook และ Instagram ตลอดทั้งเดือนกรกฎาคม
7.Patagonia: จ่ายค่าโฆษณาให้ Facebook ไป 6.2 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2019 ระงับการจ่ายโฆษณาให้ Facebook และ Instagram ทั่วโลกไปจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม รวมถึงรอดูท่าทีการแก้ปัญหาของ Facebook ด้วย
8.REI: จ่ายค่าโฆษณาให้ Facebook ไป 22.5 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2019 ระงับการจ่ายโฆษณาให้ Facebook และ Instagram ตลอดเดือนกรกฎาคม
9.The North Face: จ่ายค่าโฆษณาให้ Facebook ไป 3.3 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2019 โดยบริษัทประกาศหยุดโพสต์และจ่ายค่าโฆษณาให้ Facebook จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม แต่จะยังโพสต์บน Instagram ตามปกติ (แต่ไม่จ่ายค่าโฆษณา)
10. Microsoft จ่ายค่าโคษณาให้กับ Facebook มากกว่า 115 ล้าน ดอลล่าร์สหรัฐในปี 2019
สรุปก็คือ จากที่ผมได้กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนี้ จะรวมค่าโคษณาที่ Facebook เสียไปแล้วทั้งสิ้น 2,941,947,100 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือ 91,200,360,100 ล้านบาท(นี่ยังไม่รวมอีกกว่า 100 แบรนด์นะครับ) ผลลัพธ์ก็คือทำให้ราคาหุ้นเฟซบุ๊กร่วงไป 8.3% เมื่อวันศุกร์ที่26 มิ.ย. 2020 คิดเป็นมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท
และจากข้อมูลข้างต้น เารสังเกตุไหมครับว่ารายได้ของ Facebook ที่หายไปกว่า 91,200,360,100 ล้านบาท ทำไมถึงได้เกินขึ้นตอนนี้ทั้งๆที่กระแส Hate Speech ใน Social Media เป็นอะไรที่เกิดขึ้นมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการดราม่า ภาพหลุด การยุยงปลุกปั่น การสร้างความเกลียดชังทางการเมือง ๆลๆ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาตั้งหลายสิบปีแล้วตั้งแต่ Facebook เริ่มมีผู้ใช้งานแบบก้าวกระโดดตั้งแต่ปี 2008 ที่ 100ล้านบัญชี จนถึง 2,603 ล้านบัญชีในปี 2020 ดังรูป
ขอบคุณรูปภาพจาก Market Think ด้วยครับ
นั่นก็เพราะว่า ถ้ามองอีกนัยย์หนึ่ง มันคือ"การต่อรองในเพื่อเอาตัวรอดในยามวิกฤติ เพื่อซื้อค่าโคษณาในราคาถูก" ยังใงล่ะครับ เพราะบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ผมได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นล้วนบอบช้ำจาก Covid-19 ทั้งนั้น แล้วจะเอาเงินที่ไหนไปจ่ายค่าโคษณาของ Facebook?
สรุปก็คือ ในความเห็นของ Near us เหตุผลที่บริษัทที่ออกมา Ban Advertising Facebook ก็เพราะว่า
1.เป็นการลดค่าใช้จ่ายในขณะที่กำลังบาดเจ็บหนักจาก Covid-19
2.เป็นการ"สร้างความชอบธรรมจากจุดอ่อนของFacebookเอง" เพราะถ้าบริษัทยักษ์ใหญ่พร้อมหน้ากันออกมาโจมตีจุดอ่อนของ Facebook มันก็จะเป็นการ
2.1 โคษณาตัวเองโดยการออกสื่อไปในตัวผ่าน แคมเปญ Stop Hate for Profit
2.2 สร้างแนวร่วมต่อต้าน Facebook ด้วยการตัดเส้นเลือดใหญ่(การโคษณา)แล้วให้บริษัทที่ร่วมแคมเปญ Stop Hate for Profit มาต่อรองให้ Facebook ให้ลดค่าโคษณาให้ถูกลงเพื่อให้บริษัทที่แบน Facebook สามารถโคษณาด้วยต้นทุนต่ำ
3.ถ้า Facebook ยังนิ่งเฉย ก็จะยิ่งทำให้ประชาชนไม่พอใจ Facebook มากขึ้น แล้วการเทขายหุ้นจะรุงแรงกว่านี้อีกหลายเท่าแน่นอน เพราะปัญหาการ Hate Speech มันจะสมมาเกือบทศวรรศแล้ว แต่ Facebook ก็ยังขยับเรื่องนี้ได้ไม่ถึงไหนเลย....
4.Facebook เกิดเกมผิดที่ไปสนับสนุน Donald Trump ว่าสิ่งที่เขา Post ลงใน Facebook นั้นมีความถูกต้องแล้วและไม่ได้ดำเนินการเซ็นฌซอร์แต่อย่างใด โดย มาร์กได้กล่าวว่า“ฉันไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับวิธีการที่ประธานาธิบดีพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ฉันเชื่อว่าผู้คนควรเห็นสิ่งนี้ด้วยตนเองเพราะในที่สุดแล้ว ความรับผิดชอบของผู้มีอำนาจจะเกิดขึ้นได้
ก็ต่อเมื่อคำพูดของพวกเขาได้รับการรับรู้ในที่สาธารณะ” มาร์ก กล่าว
โฆษณา