30 มิ.ย. 2020 เวลา 11:40 • ธุรกิจ
กรณีศึกษา ความแตกต่างของ RS และ GRAMMY ในวันนี้
2
ถ้าเราพูดถึงในอดีต
ค่ายเพลงรายใหญ่ในประเทศไทย 2 ค่าย
ชื่อของ GRAMMY และ RS น่าจะเป็นชื่อที่คนส่วนใหญ่นึกถึง
แต่รู้ไหมว่าตอนนี้ RS ไม่ได้ทำธุรกิจเพลงเป็นหลักแล้ว
2
กรณีศึกษาของเรื่องนี้ น่าสนใจอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
GRAMMY ก่อตั้งขึ้นในปี 2526 โดยทำธุรกิจหลักคือ การทำเพลงไทยสากล ก่อนที่จะมีการกระจายไปยังธุรกิจอื่นในเวลาต่อมา
3
สัดส่วนรายได้ของปี 2562 ของ GRAMMY
1. ธุรกิจเพลงเป็นการขายสินค้าเพลง
รวมทั้งผลิตดิจิทัลมิวสิก การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ โชว์บิซ การจัดคอนเสิร์ต รวมทั้งบริหารศิลปิน 60%
1
Cr. GMM Grammy
2. ธุรกิจเทรดดิ้ง
ประกอบด้วยธุรกิจขายสินค้าโฮมช้อปปิ้งและขายกล่องรับสัญญาณทีวี 30%
1
Cr. GMM Grammy
3. ธุรกิจอื่นๆ เช่น ธุรกิจภาพยนตร์ และการลงทุนในบริษัทอื่น 10%
1
Cr. GDH
ดูแบบนี้ต้องบอกว่า รายได้ส่วนใหญ่ของ GRAMMY ยังมาจากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับเพลงเป็นหลัก
1
แล้วคู่แข่งที่เริ่มต้นทำธุรกิจค่ายเพลงอย่าง RS วันนี้เป็นอย่างไร
RS ก่อตั้งขึ้นในปี 2519 โดยช่วงแรกทำธุรกิจตู้เพลงและอัดเพลงจากแผ่นเสียงลงเทปภายใต้ตรา “ดอกกุหลาบ” ซึ่ง RS ก็ย่อมาจากคำว่า Rose Sound นั่นเอง
2
หลังจากนั้น RS ก็เริ่มเปลี่ยนมาทำเพลงที่เน้นตลาดวัยรุ่นในปี 2525
ต่อมาก็มีการขยายเข้าสู่ธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่นๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ ทีวีดิจิทัล ในเวลาต่อมา
1
ปี 2557 คือ จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของ RS เมื่อบริษัทเริ่มขยายธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจพาณิชย์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม โดยการใช้ธุรกิจสื่อของตนเองที่มีอยู่ในมือ เป็นช่องทางการขายสินค้าของบริษัท จนทำให้ธุรกิจพาณิชย์ กลายเป็นแหล่งรายได้หลักของ RS ในปัจจุบัน
2
สัดส่วนรายได้ของปี 2562 ของ RS
2
1. ธุรกิจพาณิชย์ เป็นการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม รวมทั้งผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน 56%
1
2. ธุรกิจสื่อ ซึ่งประกอบด้วย 2 สื่อหลัก ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ และสื่อวิทยุ 30%
1
Cr. COOLfahrenheit
3. ธุรกิจเพลง โดยเป็นการขายสินค้าเพลงครบวงจร ผลิตดิจิทัลมิวสิก 14%
1
Cr. RsiamMusic
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงทำให้ปัจจุบัน
หุ้นของ RS นั้นถูกซื้อขายอยู่ในกลุ่มธุรกิจพาณิชย์ ไม่ได้อยู่ในกลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ เหมือนในอดีตแล้ว
1
เปรียบเทียบมูลค่ากิจการ
2
ปี 2559
มูลค่ากิจการของ GRAMMY เท่ากับ 7,134 ล้านบาท
มูลค่ากิจการของ RS เท่ากับ 7,878 ล้านบาท
1
ปี 2563
มูลค่ากิจการของ GRAMMY เท่ากับ 7,954 ล้านบาท
มูลค่ากิจการของ RS เท่ากับ 15,463 ล้านบาท
2
แล้วรายได้ของทั้ง 2 บริษัทในปี 2562 เป็นอย่างไร?
GRAMMY รายได้ 6,640 ล้านบาท กำไร 342 ล้านบาท
RS รายได้ 3,622 ล้านบาท กำไร 363 ล้านบาท
1
ถึงแม้รายได้ของ RS น้อยกว่า GRAMMY เกือบเท่าตัว แต่กำไรกลับมีขนาดพอๆกัน แต่อาจเป็นเพราะ RS ถูกย้ายเข้าไปอยู่ในกลุ่มธุรกิจพาณิชย์ ทำให้ตลาดให้ P/E ที่สูงกว่าบริษัทที่อยู่ในกลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์
1
ซึ่งต้องยอมรับว่า อุตสาหกรรมสื่อและสิ่งพิมพ์ ที่รวมไปถึงธุรกิจเพลงในปัจจุบัน มีความท้าทายมากขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีต
3
ทุกวันนี้เราเห็นศิลปินจำนวนมากเกิดขึ้น โดยที่พวกเขาไม่จำเป็นต้องสังกัดค่ายเพลงไหน
1
ที่สำคัญพวกเขายังสามารถเข้าถึงคนฟังจำนวนหลายล้านคนได้ง่ายด้วยการนำเสนอผลงานตัวเองผ่านสื่อ Social Media
1
เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ายังทำให้ต้นทุนในการทำเพลงนั้นถูกลง
ทำให้มีค่ายเพลงขนาดกลาง ขนาดเล็กเกิดขึ้นหลายค่ายเพื่อมาแข่งในอุตสาหกรรมกับค่ายเพลงใหญ่
1
นอกจากนี้ สิ่งที่ลืมไม่ได้คือ ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อธุรกิจเพลงมานาน จนตอนนี้ต้องอาศัยการขายสิทธิ์ให้กับผู้อื่น เช่น แพลตฟอร์มเพลงสตรีมมิง หรือ ต้องอาศัยการได้รับส่วนแบ่งโฆษณาจากแพลตฟอร์มยูทูบ
1
Cr. Dignited
สำหรับ GRAMMY ที่ยังคงดำเนินธุรกิจเพลงอยู่นั้น ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า บริษัทจะมีวิธีการขับเคลื่อนธุรกิจเพลง ซึ่งตอนนี้ยังเป็นธุรกิจหลักของบริษัท ให้เติบโตต่อไปได้อย่างไรท่ามกลางความท้าทายในปัจจุบัน
1
เรื่องนี้เป็นกรณีศึกษาให้เราได้เป็นอย่างดี ในเรื่องการตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
1
RS เลือกที่จะเปลี่ยนตัวเองไปทำธุรกิจพาณิชย์
GRAMMY เลือกที่จะคงตัวเองไว้ในธุรกิจสื่อ และบันเทิง
1
คงไม่มีคำตอบว่า การตัดสินใจแบบไหนเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
ซึ่งก็ไม่แน่ว่าในอนาคต GRAMMY ก็อาจจะผลิตศิลปินที่โด่งดังระดับโลกก็เป็นได้
แต่การตัดสินใจของ RS ก็น่าสนใจที่ว่าบริษัทกล้าเปลี่ยนตัวเอง ให้เป็นคนละแบบกับภาพลักษณ์ที่ทุกคนเคยคุ้นชินในอดีต
3
เพราะโลกนี้ไม่มีสูตรสำเร็จในการทำธุรกิจ
แค่เลือกเดินทางในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ และมองเห็น
มันก็จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างของการตัดสินใจเหมือน RS และ GRAMMY ในครั้งนี้..
2
หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ได้ชี้นำให้ซื้อหุ้นเหล่านี้ การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
2
References
-แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2562, บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
-แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2562, บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)
-คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค. 2563, บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
-คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค. 2563, บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)
1
โฆษณา