1 ก.ค. 2020 เวลา 09:35 • ศิลปะ & ออกแบบ
ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นหนึ่งในฮีตสิบสองเดือนของชาวอีสาน นิยมทำกันในเดือน 6 หรือเดือน 7 อันเป็นช่วงฤดูฝนเข้าสู่การทำนา ตกกล้า หว่าน ไถ เพื่อเป็นการบูชาเทพยดาอารักษ์หลักบ้านหลักเมืองและบูชาพญาแถนขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล โดยมีความเชื่อว่าเมื่อจัดงานนี้แล้วเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจะดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์
ประเพณีบุญบั้งไฟ (บุญเดือนหก)
ชาวจังหวัดยโสธรร้อยละ ๘๕ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ชาวยโสธรจึงจัดประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นการทำบุญประจำปีทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงก่อนฤดูการทำนา เป็นพิธีขอฝนจากพญาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล
พิธีกรรม ประกอบด้วย
๑. การเซิ้งเพื่อขอรับบริจาคทรัพย์สินเงินทอง และอาหารการกิน เพื่อนำมาเป็นทุนในการจัดทำบั้งไฟและเป็นเสบียงสำหรับผู้จัดทำบั้งไฟ
๒. การประกวดขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม (บั้งไฟโก้)
๓. การประกวดขบวนรำเซิ้ง
๔. การประกวดธิดาบั้งไฟโก้
๕. การแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง
๖. การแข่งขันจุดบั้งไฟ แฟนซี (บั้งไฟ แสง สี เสียง)
๗. การประกวดกองเชียร์บั้งไฟในวันแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง
สาระ
-เป็นการตักเตือนให้รู้ว่าธรรมชาติเป็นสิ่งไม่แน่นอน เกษตรกรไม่ควรประมาท
-เป็นงานประเพณีที่สร้างความสนุกสนาน และความสมัครสมานสามัคคีของประชาชน
-กิจกรรมการเซิ้ง สอนให้คนในสังคมรู้จักการบริจาคทาน และการเสียสละ
-เป็นงานประเพณีที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวจังหวัดยโสธร
ตำนานของประเพณีบุญบั้งไฟ ประกอบด้วยนิทานปรัมปรา 2 เรื่อง คือ เรื่องท้าว
ผาแดงและนางไอ่และนิทานเรื่องพญาแถนและพญาคันคาก (คางคก) เรื่องพญาแถนนั้น
กล่าวว่า ครั้งหนึ่งพระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นคางคก อาศัยอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ครั้งนั้นพญาแถน
เทพผู้เป็นใหญ่ที่สุดในท้องฟ้า ผู้ดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เกิดพิโรธทำสงครามกับ
ชาวโลกและบันดาลให้ฝนไม่ตกเลย 7 ปี 7 เดือน ชาวโลกได้รับความเดือดร้อนส่งใครไปรบก็
พ่ายแพ้กลับมากลับมาหมดชาวโลกพากันหนีพญาแถนมาที่ใต้ต้นไม้ใหญ่ที่พญาคางคกอาศัย
อยู่ในที่สุดพญาคางคกได้รวมพลังสัตว์โลก ไปรบกับพญาแถน ปลวกได้ก่อจอมปลวกขึ้นไปถึง
สวรรค์ มอดไม้ไปเจาะด้ามอาวุธทหารพญาแถน แมลงป่อง ตะขาบ มดไปกัดไพร่พลพญาแถน
ในที่สุดพญาแถนก็พ่ายแพ้ถูกจับตัวได้ ขอทำสัญญาสงบศึก โดยมีข้อตกลงว่าหากวันใดที่ชาว
โลกยิงบั้งไฟขึ้นไปบนท้องฟ้าจะบันดาลให้ฝนตกลงมาเป็นฤดูฝน หากได้ยินกบเขียดร้องก็จะ
ทราบได้ว่า ฝนตกแล้ว หากชาวโลกเล่นว่าวเมื่อใดก็จะให้ฝนหยุดตกกลายเป็นฤดูหนาว ดังนั้น
สมัยต่อ ๆ มาเมื่อถึงเดือนหกเข้าฤดูทำนา ประชาชนจะจุดบั้งไฟสื่อสารให้พญาแถนทราบว่าถึง
เวลาที่จะบันดาลฝนให้ชาวบ้าน และจะได้เริ่มต้นฤดูการทำนากันได้
คำว่า "บั้งไฟ" ในภาษาถิ่นอีสานมักจะสับสนกับคำว่า "บ้องไฟ" แต่ที่ถูกนั้นควรเรียกว่า "บั้งไฟ" โดยทั้ง 2 คำมีความแตกต่างกันดังนี้
คำว่า บ้อง หมายถึง สิ่งของใด ๆ ก็ได้ที่มี 2 ชิ้น มาสวมหรือประกอบเข้ากันได้ ส่วนนอกเรียกว่า บ้อง ส่วนในหรือสิ่งที่เอาไปสอดใส่จะเป็นสิ่งใดก็ได้ เช่น บ้องมีด บ้องขวาน บ้องเสียม บ้องวัว บ้องควาย ดังนั้น คำว่า บั้งไฟ ในภาษาถิ่นอีสานจึงเรียกว่า บั้งไฟ ซึ่งหมายถึงดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง มีหางยาวเอาดินประสิวมาคั่วกับถ่านไม้ตำให้เข้ากันจนละเอียดเรียกว่า หมื่อ (ดินปืน) และเอาหมื่อนั้นใส่กระบอกไม้ไผ่ตำให้แน่นเจาะรูตอนท้ายของบั้งไฟ เอาไผ่ท่อนอื่นมัดติดกับกระบอกให้ใส่หมื่อโดยรอบ เอาไม้ไผ่ยาวลำหนึ่งมามัดประกบต่อออกไปเป็นหางยาว สำหรับใช้ถ่วงหัวให้สมดุลกัน เรียกว่า "บั้งไฟ"
ส่วนคำว่า บั้งไฟ คือการนำเอากระบอกไม้ไผ่ เลาเหล็ก ท่อเอสลอน หรือเลาไม้อย่างใดอย่างหนึ่งมาบรรจุหมื่อ (ดินปืน) ตามอัตราส่วนที่ช่างกำหนดไว้แล้วประกอบท่อนหัวและท่อนหางเป็นรูปต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เพื่อนำไปจุดพุ่งขึ้นสู่อากาศ จะมีควันและเสียงดัง บั้งไฟมีหลายประเภท ตามจุดมุ่งหมายของประโยชน์ในการใช้สอย
การจัดประเพณีบุญบั้งไฟ
ก่อนจะถึงวันงานหรือวันเอาบุญ ชาวบ้านก็จะช่วยกันเตรียมงานกันอย่างสามัคคี ชาวบ้านที่ได้รับมอบหมายจะสร้างปะรำ หรือ "ผาม" หรือ "ตูบบุญ ฝ่ายแม่ครัวก็เตรียมข้าวปลาอาหารไว้เลี้ยงแขกเลี้ยงคน ฝ่ายช่างฟ้อนก็เตรียมขบวนรำไว้สำหรับแห่บั้งไฟ ฝ่ายผู้ชายที่เป็นช่างฝีมือก็ช่วยกันทำบั้งไฟและตกแต่งให้สวยงาม งานบุญบั้งไฟส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีพิธีกรรมทางศาสนาเท่าใดนักแต่บางแห่งก็มีพิธีทำบุญเลี้ยงพระบ้าง
วันโฮม เป็นชาวบ้านก็จะมาตั้งขบวนเพื่อแห่บั้งไฟไปรอบ ๆ หมู่บ้าน เป็นงานบุญที่เน้นความสนุกสนานรื่นเริง ในขบวนจะมีการรำเซิ้งตามบั้งไฟ และบรรดาขี้เหล้าทั้งหลายก็จะร้องเพลงเซิ้งไปของเหล้าตามบ้านต่าง ๆ กาพย์เซิ้งอาจจะหยาบคายแต่ก็ไม่มีใครถือสากัน แต่กาพย์เซิ้งที่ใช้แห่ในขบวนมักจะเป็นประวัติและความเป็นมาของพิธีบุญบั้งไฟ
วันจุดบั้งไฟก็อาจจะเป็นอีกวันหนึ่งคือเป็นวันที่ชาวบ้านจะเอาบั้งไฟของแต่ละคุ้มแต่ละหมู่บ้านมาจุดแข่งกัน ถ้าของใครทำมาดีจุดขึ้นได้สูงสุดก็จะชนะแต่ถ้าของใครแตกหรือซุก็ถือว่าแพ้ ต้องโดนลงโทษโดยการจับโยนลงโคลนหรือตมซึ่งเป็นที่สนุกสนานอย่างยิ่ง การจุดบั้งไฟเป็นการเสี่ยงทาย ถ้าบั้งไฟขึ้นสูง ก็ทำนายว่าฝนจะตกดี ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์
ความเชื่อของชาวบ้านกับประเพณีบุญบั้งไฟ
ชาวบ้านเชื่อว่ามีโลกมนุษย์ โลกเทวดา และโลกเทวดา มนุษย์อยู่ใต้อิทธิพลของเทวดา การรำผีฟ้าเป็นตัวอย่างที่แสดงออกทางด้านการนับถือเทวดา และเรียกเทวดาว่า "แถน" เมื่อถือว่ามีแถนก็ถือว่า ฝน ฟ้า ลม เป็นอิทธิพลของแถน หากทำให้แถนโปรดปราน มนุษย์ก็จะมีความสุข ดังนั้นจึงมีพิธีบูชาแถน การจุดบั้งไฟก็อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แสดงความเคารพหรือส่งสัญญาณความภักดีไปยังแถน ชาวอีสานจำนวนมากเชื่อว่าการจุดบั้งไฟเป็นการขอฝนจากพญาแถน และมีนิทานปรัมปราเช่นนี้อยู่ทั่วไป แต่ความเชื่อนี้ยังไม่พบหลักฐานที่แน่นอน
่อ่านหนังสือมาหลายฉบับ
เขียนโดย เจ หนุ่มสกลคนอิสระ
โฆษณา