2 ก.ค. 2020 เวลา 12:03 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สรุปเรื่อง เงินบาทดิจิทัล
หวัดดีค่าาา มาตามสัญญากับใครบางคน (พูดลอยๆ) วันนี้เลดี้ฯ จะมาเล่าเรื่องสุดอินเทรนด์อย่าง “เงินบาทดิจิทัล” ใครยังไม่รู้ ระวังจะเชยเอานะ คริๆ
*ปล.รอบนี้พิมพ์ด้วยเสียงล้วนๆ เลเล่ายาวไปนิด (มาเกลาทีหลัง)
เรื่องของเรื่องมันมีอยู่ว่า ต่อจากตอน “สรุปเรื่องเฟซบุ๊ก Libra 2.0” ที่เลดี้ฯ ก็เขียนไว้สักพักละ วันนั้นสมองมันแล่นก็รีบๆ เขียนไว้ ก็มีเพื่อนๆ แวะมาอ่าน แล้วก็บอกว่าชอบ (ก็ขอบคุณมา ณ ที่นี้นะคะ)
เลดี้ฯ เลยกัดฟัน เขียนต่อ 55++ จริงๆ คือง่วง แต่หากไม่เขียนไว้ เลดี้ฯ จะลืมค่ะ อย่าง น้อยถือว่าได้ทบทวนเรื่องราวที่มีประโยชน์สำหรับใช้ในงานประจำด้วยค่ะ
ทุกวันนี้เลดี้ฯ เชื่อว่าเราไม่ค่อยพกเงินสดกันใช่ไหมคะ (เลดี้ฯ ก็ไม่พก. เอ่อ..คือ..ไม่มี 55++) เงินเดือนออกเราก็ ไม่ค่อยถอนออกมา เราก็จะทำธุรกรรมโอนชำระค่าบ้าน ค่างวด รถค่าบัตรเครดิต ค่าโน่นค่านี่ สุดท้ายก็เหลือติดบัญชีไว้ เป็นตัวเลขกี่พันกี่หมื่นก็ว่ากันไป
มันดูเหมือนสะดวกเพราะว่าเรา ใช้เพียงแค่โทรศัพท์มือถือ ในการโอนชำระค่าใช้จ่ายค่าต่างๆ ที่สำคัญฟรีค่าธรรมเนียมอีกด้วย แต่จริงๆ แล้ว ทุกอย่างมันมีต้นทุนที่เราไม่ต้อง จ่าย เพราะคนที่รับผิดชอบแทนเราหรือว่าแบกต้นทุนตรงนั้นก็คือธนาคาร
เวลาที่เราโอนเงินไปแบงก์นั้น แบงก์นี้จริงๆ หลังบ้านเขาไป settle กันหรือว่าไปเคลียร์ เงินกันน่ะทุกสิ้นวัน ถามว่าไปเคลียร์กันที่ไหน แบงก์เขาไม่ได้เคลียร์กันเอง แต่เขาจะมี คนที่เข้ามาเป็นประธานหัวโต๊ะในการเคลียร์เงิน หรือเป็นตัวกลางในการเคลียร์เงินนั่นก็ คือแบงก์ชาตินั่นเองค่ะ
ดังนั้น ทุกสิ้นวันก็จะมะรุมมะตุ้มกันเรื่องของการเคลียร์เงินทั้งประเทศนี่แหละค่ะ ซึ่งอัน นั้นเรียกว่าระบบบาทเน็ต สมมุติเคลียร์กันไปเคลียร์กันมา เงินมันขาดแบงก์ชาติเขาก็จะ เติมลงไปให้เรียกว่าเป็นการเติมสภาพคล่องลงไปให้ก่อน และเปิดบริการก็ต้องวันทำการ 8.30 น. ถึง17.30 น.ด้วยนะ ถ้าเสาร์-อาทิตย์ คือนอกวันทำการ ก็ไปพักผ่อนตามระเบียบ
พูดให้เห็นภาพก็คือถ้าเป็นอย่างเราระดับเราอ่ะค่ะ ที่ใช้งานผ่าน internet banking /Mo bile Banking /ทรูมันนี่ /ไลน์เพย์ หลังบ้านก็คือ ธนาคารจะไปเคลียร์กันให้เรา ส่วนเรา จบตั้งแต่วินาทีที่ใช้นิ้วจิ้มกดโอนเงินแล้วค่ะ
แต่ถัดจากธนาคารไปแล้วทุกธุรกรรมการใช้เงินของคนไทยจะไปเคลียร์กันระหว่างแบงก์อยู่ที่ธนาคารกลางค่ะ เพราะทุกแบงก์จะเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารกลาง อันนั้นคือภาพที่ใหญ่ขึ้นในระดับประเทศ
ทีนี้ในช่วง1-2 ปีที่ผ่านมาแบงก์ชาติก็คิดว่า จะทำยังไงที่ทำให้การเคลียร์เงินมันมีประ สิทธิภาพดีขึ้น ต้นทุนต่ำลง ให้แบงก์เคลียร์กันเองได้โดยไม่ต้องมีคนกลาง ทำได้แบบ 24 ชม. 7 วัน เหมือน 7-11 (บาทเน็ตก็เรียลไทม์ แต่มีแบงก์ชาติเป็นคนกลาง มีวันพัก ผ่อน 2 วัน) ไม่เกี่ยวกับวันหยุดราชการ วันนักขัตฤกษ์ จึงเป็นที่มาของการพัฒนาระบบ การชำระเงินแบบใหม่โดยใช้สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (CBDC) ในการชำ ระหนี้ /การโอนเงินระหว่างกัน
คำถามคือ...ทำไปถึงไหนแล้ว อยากจะบอกข่าวดีค่ะว่า ประเทศไทยของเราไม่แพ้ชาติ ใดในโลก เราน่าจะเคลมได้เลยว่าเราคือหนึ่งใน 10 ธนาคารกลางแรกของโลก ที่ศึกษาสกุลเงินดิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง
ซึ่งเมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา 2562 แบงก์ชาติทดสอบจบไปแล้วในชื่อโครงการอินทนนท์หลายๆคนก็จะงงว่าอินทนนท์คืออะไร
อินทนนท์ มันไม่ใช่ชื่อเหรียญ มันเป็นชื่อโครงการในการพัฒนา CBDC มันจึงไม่ได้มีชื่อ เฉพาะ แต่ถ้าจะให้เรียกแบบที่เข้าท่าหน่อย สามารถจะใช้คำว่า "บาทดิจิทัล" ดูจะเหมาะสมกว่า
เพราะอะไรหรอคะก็เพราะว่า CBDC มันย่อมาจาก Central Bank Digital Currency หมายถึง เงิน_ดิจิทัล_ผู้ออกคือธนาคารกลาง แล้วธนาคารกลางของไทยผลิตธนบัตรให้ เราใช้ จะเป็นเงินสกุลอะไร "ถ้าไม่ใช่สกุลบาท" ดังนั้น มันก็เป็นการเรียกคล้ายๆ กับ CBDC ของจีน ที่จีนใช้หยวน คนก็เรียก "หยวนดิจิทัล" ถ้าสหรัฐทำเราก็เรียก "ดอลลาร์ดิจิทัล" แบบนี้ เป็นต้น
1
แล้ว "บาทดิจิทัล" ที่พัฒนาขึ้นมาในตอนแรกก็ทดลองใช้กันโอนไปโอนมาระหว่างแบงก์นี่คือที่เลดี้ฯ ได้เคยบอกว่าแบงก์เขามะรุมมะตุ้มเคลียร์เงินกันทุกสิ้นวัน ก็อันนี้แหละที่เขา ทดลองในโครงการอินทนนท์ เขาก็ใช้ CBDC โอนให้กัน
ทีนี้ความน่าตื่นเต้นมันอยู่ที่เขาทดลองระหว่างแบงก์จบไปแล้วสิ้นปี 2562 พอวันที่ 18 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา เขาขยายการทดลองออกมากว้างขึ้น จากเดิมที่มองว่าเออ..ลองแค่แบงก์เนี่ยทุกอย่างมันโอเคแล้ว ต่อไปก็เอาเงินบาทดิจิทัล มาให้ภาคเอกชนใช้ดูหน่อยสิว่ามันเวิร์คหรือเปล่า
จะทำเองก้ไม่ได้ก็ต้องไปหาเอกชนมาร่วมกันทดลองหวยไปออกที่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย หรือ SCG ซึ่งบริษัทปูนซิเมนต์ไทยจะมีอาณาจักรกว้างขวางมากหรือมี supply chain ของเขาอ่ะมีคู่ค้าเป็นพันเป็นหมื่น ที่สำคัญใช้บล็อกเชนมาตั้ง 2 ปีก่อนแล้ว พื้นฐานด้าน เทคโนโลยีใช้ได้ว่างั้นเถอะ
แต่คราวนี้ CBDC พอจะใช้ได้ มันจะต้องมาดูอีกว่ามันจะไปรันอยู่บนระบบไหน รันยังไง เดิมทีปูนฯ อย่างที่บอกเขาใช้บล็อกเชนในระบบการจัดซื้อจัดจ้าง โดยบริษัทดิจิทัลเวน เจอร์สเป็นคนทำแพลตฟอร์มให้ ที่นี้ก็ต้องมาดูว่าถ้าถ้า SCG จะพัฒนาระบบเพื่อเชื่อม ต่อกับเหรียญ CBDC ของแบงก์ชาติมันจะต้องทำไง อันนี้คือเขาจะใช้เวลาพัฒนากัน เกือบปีแหละ เพราะฉะนั้นภายในสิ้นปีนี้ก็จะรู้ผลสรุปอย่างแน่นอน
และที่โคตรน่าตื่นเต้นไปมากกว่าผลทดลองกับบริษัทปูนซิเมนต์ไทยก็คือ เฟสถัดๆ ไป ซึ่ง Lady ก็ไม่รู้ว่าอีกสักกี่ปี แต่แน่นอนปลายทางไม่ว่าธนาคารกลางของชาติไหนๆ ก็ต้องมุ่งสู่การพัฒนา CBDC เพื่อออกใช้สำหรับประชาชนทั่วไปอย่างเราๆ ท่านๆ อย่างดิฉัน อย่างคุณ ที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่นั่นแหละค่ะ (ถ้าไม่ทำให้สุดถึงขั้นนี้จะทำครึ่งๆ กลางๆ ไปทำไม เพราะคนใช้เงินคนสุดท้ายคือประชาชนอย่างพวกเรา เหมือนกับธนบัตรผลิตออกมาให้เราใช้ อารมณ์นั้นแหละค่ะ)
CBDC มันคืออนาคตของเงินเลยนะคะ มองให้ลึกมันคือ พัฒนาการของเงินในยุคนี้ก็ว่า ได้ เป็นยุคเชื่อมต่อจากเงินกระดาษ เพราะว่าลองคิดดูนะคะมันเป็นเงินที่เขียนขึ้นด้วย โค้ดคอมพิวเตอร์บนเทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งนับวันมันจะฉลาดมากขึ้น
อย่างความฉลาดล่าสุดคือ ความสามารถในการเขียนโค้ดคำสั่งลงไปได้ มันจึงทำให้เกิดคุณลักษณะของเงินที่เรียกว่าเป็น programable money หรือเงินที่สามารถเขียนโปรแกรมคำสั่งลงไปก็ได้ ซึ่งจะทำให้สามารถเพิ่มลูกเล่นลงไปบนเงินได้
โอ้วว..เงินในอนาคตมันฉลาดจังวุ้ย! ลองเทียบกับธนบัตรที่มันถูกตีตราว่าใบนี้มีมูลค่า
1,000 บาทนะยู ใบนี้ 500 บาทนะยูวว เราก็แค่ใช้มันจ่ายค่าข้าวของ แต่ถ้ามันฉลาดขึ้น ล่ะ? เราสั่งมันบินไปหาใครก้ได้ สั่งให้มันไปทำนั่น ทำนี่ได้ เขียนคำสั่งไว้อ่ะ คิดแบบนี้ แล้วมันก็ไม่ต่างอะไรกับ เกมหรือว่าเหรียญไอเทมต่างๆ ในเกมคล้ายๆ อย่างนั้นเลยนะ คะ
ยังนึกหน้าตาของเงินบาทดิจิทัลในอนาคตไม่ออก ว่ามันจะฉลาดมากขนาดไหน...แต่ เชื่อว่ามันน่าจะฉลาดมากพอที่จะทำให้เรามีความสุขกับการครอบครองเงินในรูปแบบ
Digital ค่ะ
ถามว่าจะได้ใช้วันไหน? คำถามนี้พับไปก่อน..เอาปูเสื่อลงนอนยาวๆ เลยค่ะ 55++ ที่เล่ามาทั้งหมดนี้คือ มโน เย่ย คือ จินตนาการ (อย่าลืมอินเทอร์เน็ตยังพลิกโลกได้ ตอนแรก ก็ไม่มีใครคิดว่ามันจะมาเปลี่ยนโลก แต่ๆๆๆๆ ตอนนี้ยุคใหม่แล้วยุคของบล็อกเชนนั่นเอง) ส่วนตัว Lady คิดว่า ไม่น่าจะใช่สัก 2-3 ปีนี้ มันไม่ใช่แน่นอน 5 ปีก็อาจจะยังเร็วไปด้วย ซ้ำเพราะว่าประเทศของเราเนี่ย คนยังชอบใช้เงินสด เรายังเป็นสังคมเงินสด จึงยังไม่น่าที่จะเกิด CBDC หรือ ว่าเงินบาทดิจิทัลขึ้นเพื่อออกใช้กับรายย่อย (แต่จะมาในนอนาคตค่ะ)
การคาดการณ์ทุกอย่างมันก็มีทั้งแม่น และไม่แม่นนะคะ Lady ยังเชื่อว่ามันอาจจะเกิด
ก่อน 5 ปีก็เป็นไปได้ ถ้าหากว่าเทคโนโลยีมันไหลบ่าเข้ามาอย่างรวดเร็วจนกดดันให้
แบงก์ชาติต้องออกใช้ CBDC ซึ่งจริงๆ แล้ว เท่าที่เคยคุยกับคนในวงการนักพัฒนาเขา
บอกว่าในทางเทคนิคอันนี้คือโดยทั่วๆ ไปนะคะ การสร้าง / การพัฒนาเหรียญ /พัฒนา ระบบให้เต็มที่เลย 6-7 เดือนหรือ 1 ปีก็เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น Lady คิดว่า การที่จะใช้ได้ จริงๆ คือการแก้ไขกฎหมายต่างๆ มากกว่า (ไม่ใช่ในทางเทคนิค)
1
ลองติดตามกันต่อไปนะคะ ท้ายนี้อยากจะฝากไว้ให้ทุกคนจับตาดูให้ดีคือภายในปีนี้ ถ้า ไม่มีไม่มีอะไรผิดพลาด Libra ของเฟซบุ๊กน่าจะเปิดตัวใช้งานจริง ส่วนหยวนดิจิทัลของ ประเทศจีนนั้นยังไม่กำหนดเวลาที่แน่ชัด แต่อย่าลืมว่าเขามีการทดลองเกิดขึ้นแล้วใน 4 เมืองโดยมี 19 บริษัทเข้าร่วมทดสอบ
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงบรรทัดนี้
แล้วพบกันใหม่ในตอนถัดไป เมื่อ Lady ขยัน อิอิๆ สวัสดีค่ะ
ง๊าวววววว...ง๊อววว ง่วง.จบ
1
#เลดี้แซป1990 #Ladyzap1990 #CBDC #Bitcoin #Blockchain #หยวนดิจิทัล #Libra #ลิบรา #สกุลเงินดิจิทัล
โฆษณา