11 ก.ค. 2020 เวลา 13:28 • การเมือง
ชะตากรรมนักการเมืองเกาหลีใต้
โดย
นิติภูมิธณัฐ
มิ่งรุจิราลัย
นายพัก ว็อน-ซุน นายกเทศมนตรีกรุงโซล หายตัวพร้อมทิ้งข้อความคล้ายคำสั่งเสียไว้ หลังจากช่วยกันใช้ทั้งสุนัขดมกลิ่นและใช้ทั้งโดรนออกช่วยกันค้นหา
https://www.nytimes.com/2020/07/09/world/asia/seoul-mayor-dead.html
10 กรกฎาคม 2563 สำนักงานตำรวจนครบาลกรุงโซลแถลงว่าพบศพของนายพัก เชื่อกันว่านายพักถูกกดดันเพราะโดนกล่าวหาว่าเกี่ยวพันกับการคอรัปชั่นและการคุกคามทางเพศ
นายพักเป็นนายกเทศมนตรีกรุงโซลคนแรกที่อยู่ในตำแหน่ง 3 สมัยติดต่อกัน แถมยังเป็นตัวเก็งที่จะเป็นตัวแทนพรรคประชาธิปไตยเกาหลี เพื่อชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีของเกาหลีใต้ในสมัยหน้า (พ.ศ.2565) และก็มีแนวโน้มสูงที่แกจะได้ซะด้วย
พ.ศ. 2552 หรือเมื่อ 11 ปีที่แล้ว อดีตประธานาธิบดีโน มู-ฮยอน ก็กระโดดหน้าผาตายในช่วงที่ถูกสอบเรื่องคอรัปชั่นที่เกี่ยวดองหนองยุ่งกับคนในครอบครัว
http://www.theasanforum.org/moon-jae-ins-foreign-policy-roh-moo-hyuns-shadow/
‘คอรัปชั่น’ เป็นข้อหาที่มีความกดดันรุนแรงจนอดีตผู้นำและผู้บริหารของเกาหลีใต้หลายคนต้องหาทางออกด้วยการฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะตำแหน่งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ซึ่งในระยะหลังนี่ ตำแหน่งประธานาธิบดีเสมือนทุกขลาภ
ผู้อ่านท่านลองไปค้นประวัติดูเถิด อดีตผู้นำเกาหลีใต้มักจะถูกดำเนินคดีหลังพ้นจากอำนาจกันเกือบทุกคน ทั้งนายช็อน ดู-ฮวัน นายโน แท-อู นายโน มู-ฮยอน นายอี มย็อง-บัก และล่าสุดคือนางสาวพัก กึน-ฮเย
ทั้งก่อนรับตำแหน่ง ระหว่างอยู่ในตำแหน่ง และเมื่อลงจากตำแหน่ง ผู้นำเหล่านี้ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบจากทั้งภาคประชาชนและภาคประชาสังคมอย่างเข้มข้น ถือได้ว่าเกาหลีใต้เป็นต้นแบบประชาธิปไตยสำคัญอีกแห่งหนึ่ง เพราะแม้แต่ระดับผู้นำสูงสุดหากทำผิด ก็ไม่พ้นถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
https://www.upi.com/Top_News/World-News/2018/08/07/Report-Ex-South-Korea-president-thankless-after-accepting-bribes/1981533654317/
การทุจริตคอรัปชั่น การใช้อำนาจในทางไม่ชอบ หรือการใช้อำนาจแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว เป็นปัญหาระดับชาติของเกาหลีใต้มาอย่างยาวนาน
ผู้อ่านท่านยังจำได้นะครับ สมัยประธานาธิบดีอี ซึง-มัน (อยู่ในตำแหน่งช่วง พ.ศ.2491-2503) แกก็โดนเรื่องเรียกรับเงินรับทองจากนักธุรกิจสมัยหาเสียงเลือกตั้ง ที่แกต้องใช้เงินในการหาเสียงเยอะก็เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทั้งตัวแกและทั้งพรรครัฐบาลต้องชนะเลือกตั้ง
ปัญหาอย่างนี้ของเกาหลีใต้เริ่มฝังรากมาตั้งแต่ตอนโน้นจนถึงปัจจุบันทุกวันนี้
ขณะที่ผมเขียนคอลัมน์รับใช้ผู้อ่านท่านที่เคารพอยู่ตอนนี้ ศาลในกรุงโซล ได้มีคำพิพากษาให้ลดโทษจำคุก 10 ปี จนเหลือโทษจำคุก 20 ปี (จากเดิม 30 ปี) ในหลายคดีของนางสาวพัก กึน-ฮเย อดีตประธานาธิบดีหญิงคนแรกของเกาหลีใต้ เรื่องการรับสินบน การใช้อำนาจโดยไม่ชอบ รวมทั้งการรับเงินจากสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
https://www.aljazeera.com/news/2019/08/korea-top-court-orders-trial-park-geun-hye-bribery-case-190829061114552.html
เมื่อรวมกับโทษจำคุก 2 ปีในคดีละเมิดกฎหมายเลือกตั้ง ก็จะทำให้นางสาวพักรับโทษจำคุกรวม 22 ปี และถูกยึดทรัพย์สินอีก 21,500 ล้านวอนให้ตกเป็นของรัฐ
พัก กึน-ฮเยเป็นประธานาธิบดีคนแรกของเกาหลีใต้ที่ถูกรัฐสภาลงมติถอดถอนเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2559 และศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้มีคำพิพากษารับรองมติรัฐสภาให้ถอดถอนพัก กึน-ฮเยออกจากตำแหน่ง
สังคมประชาธิปไตยของเกาหลีใต้ผ่านร้อนผ่านหนาวมานาน การตรวจสอบรัฐบาลของภาคประชาชนและประชาสังคมเข้มข้นเข้มแข็ง ถูกตรวจสอบแล้วตรวจสอบอีกจนนำไปสู่การเปิดเผยการทุจริตคอรัปชั่น และเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในที่สุด
1
เกาหลีใต้เป็นประเทศประชาธิปไตยที่พรรคการเมืองและนักการเมืองต้องใช้ทุนในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสูง เมื่อมีอำนาจ นักการเมืองหลายคนจึงยอมเสี่ยงเพื่อจะสะสมทุนไว้ให้ตนเองและพรรคชนะเลือกตั้งต่อไป
การเมืองเกาหลีใต้ยังอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ระดับประเทศและระดับโลก การทำธุรกิจระดับนี้จำเป็นต้องอาศัยเส้นสายของนักการเมืองระดับประเทศ
แต่ผู้อ่านท่านสังเกตไหมครับ ว่าบั้นปลายท้ายที่สุด นักธุรกิจส่วนใหญ่มักจะรอด ทิ้งให้นักการเมืองเผชิญคุกหรือความตายแต่เพียงลำพัง
เรื่องนายพักนี้ คนส่วนใหญ่รวมทั้งผมผู้เขียนให้น้ำหนักปักใจว่าแกฆ่าตัวตาย
แต่ก็อาจจะมีมุมขนาดเล็กมากๆ ชวนให้นึกไปได้เหมือนกันว่า การที่แกเป็นตัวเก็งที่จะเป็นประธานาธิบดี ก็อาจจะเป็นไปได้ว่า แกอาจจะถูกบังคับให้ตายก็ได้
โฆษณา