1 ส.ค. 2020 เวลา 09:31 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Three-parent baby เพราะบางทีต้องมีเราสามคน
เกริ่นชื่อเรื่องไว้แบบนี้ innowayถีบ ไม่ได้จะเล่าเรื่องราวของการมีใครหลายคนแต่อย่างใด แต่เป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้มีปัญหาทางพันธุกรรมบางอย่างซึ่งมีผลต่อพัฒนาการหรืออันตรายต่อชีวิตเด็กสามารถที่จะมีบุตรได้นั้นเอง
เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ถ้าพร้อมแล้ว innowayถีบ จะเล่าให้ฟัง
1) เรื่องมันเศร้า เลยต้องมีเราสามคน
สามีภรรยาชาวจอร์แดนใช้ชีวิตด้วยกันอย่างมีความสุข และปรารถนาที่จะมีโซ่ทองคล้องใจอย่างคู่รักคนอื่นๆ
แต่เรื่องราวที่ทั้งสองต้องเจอกลับไม่เป็นเช่นนั้น ความสูญเสียจากการตั้งครรภ์ถึงสามครั้ง ทั้งภาวะแท้ง และการที่ลูกน้อยของพวกเค้าต้องจากไปในวัยที่ควรจะได้สนุกสนาน
พวกเค้ามาพบว่าลูกๆของพวกเค้าที่เกิดมามีภาวะ “Leigh syndrome” โรคหายากที่ถ่ายทอดจากพันธุกรรมของแม่ โรคที่มีโอกาสพบประมาณ 1 ใน 40,000 คนของเด็กเกิดใหม่
2) เรื่องยิ่งเศร้า เพราะไม่ได้รอวันหาย แต่ต้องรอวัน...
เพราะ Leigh syndrome เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท ซึ่งสงผลต่อการพัฒนาสมองและการเคลื่อนไหว ซึ่งผลให้ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในช่วงขวบปีที่ 2-3
ซึ่งอาการของโรคก็ดูหดหู่ไม่น้อยทั้งการที่อาเจียนจนทานอาหารไม่ได้ ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการด้านอื่นๆ กล้ามเนื้อที่อ่อนแรงอยากต่อการเคลื่อนไหวและทรงตัว นอกจากนั้นยังอาจจะมีอาการอื่นๆเช่น อัมพาต มีปัญหาทางการหายใจ หรือการที่ผนังหัวใจของผู้ป่วย Leigh syndrome หนากว่าปกติ ทำให้ต้องใช้พลังงานอยากมากในการสูบฉีดเลือดให้ไหวเวียน
ในขณะที่ผู้เป็นแม่นั้นแข็งแรงดี แต่เจ้ายีนตัวร้ายที่อยู่ในไมโทคอนเดรีย ซึ่งทำหน้าที่ให้พลังงานแก่เซลล์ในร่างกายของเรานั้น เป็นพาหะที่ถ่ายทอดยีนตัวนี้จากแม่สู่ลูก
หรือครอบครัวของเธอจะสิ้นหวัง?
3) ชีวิตใหม่จากนวัตกรรม
ปัญหาของการมีบุตรยากนั้น เราอาจจะได้ยินกันบ่อยๆ และคงคุ้นเคยกับวิธีการแก้ปัญหาอย่างการทำเด็กหลอดแก้ว หรืออื่นมาแล้ว แต่การที่มีความผิดปกติในยีนแบบนี้นั้นก็มีนักวิจัยและคูณหมอทำการศึกษาทดลอง พัฒนากระบวนการให้ครอบครัวเหล่านี้สามารถมีบุตรได้ โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า "three-parent"
คุณหมอ Zhang ซึ่งเป็นแพทย์ที่ดูแลครอบครัวนี้และได้ใช้กระบวนการ three-parent ได้อธิบายขั้นตอนคร่าวว่า วิธีการนี้คล้ายกับการผสมเด็กหลอดแก้ว แต่จะมีกระบวนการที่เรียกว่า pronuclear transfer เพิ่มขึ้นมา
โดยเริ่มต้นจะทำการผสมสเปริมในไข่ของทั้งคุณแม่ที่ป่วย (ของเรียกว่า "A") และคุณแม่ที่แข็งแรง (ของเรียกว่า "B") เมื่อไข่ที่ผสมจะเริ่มที่จะทำการแบ่งตัว แพทย์จะทำการสับเปลี่ยนนิวเคียส โดยการนำนิวเคลียสของ A ไปใส่ใน B
เรื่องราวดูเหมือนจะไม่ยาก แต่ด้วยข้อจำกัดของศาสนาทำให้แนวทางนี้ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเป็นการทำลายตัวอ่อน
....
คุณหมอ Zhang ไม่ยอมแพ้ จึงนำเสนอวิธีการผสมที่ชื่อว่า spindle nuclear transfer ซึ่งดำเนินการโดยนำนิวเคียสจากไข่ของ A ไปใส่แทนนิวเคลียสในไข่ของ B
ซึ่งจะทำให้ได้ไข่ที่มีนิวเคลียส DNA จากแม่แต่มีไมโทคอนเดรียจากไข่ฟองอื่น ก่อนที่จะทำการผสมต่อไป และแน่นอนวิธีการนี้ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทำให้หนุ่มน้อยลืมตาดูโลกแถมยังแข็งแรง ซึ่งจากการตรวจก็ยังไม่พบยีนเจ้าปัญหาแต่อย่างใด
กระบวนการ spindle nuclear transfer cr: sciencenewsforstudents.org
นับว่าเป็นความสำเร็จทางการแพทย์ที่สามารถนำเอาความรู้ความเข้าใจในระบบต่างๆของร่างกายเรามาใช้ในการแก้ปัญหา และมอบชีวิตใหม่แก่โลกของเราได้อีกด้วย
คุณหมอ Zhang อุ้มหนูน้อยที่เกิดด้วยวิธี three parent คนแรกของโลก
Exclusive: World’s first baby born with new “3 parent” technique, newscientist.com, 27 Sep 2016
How to make a ‘three-parent’ baby, sciencenewsforstudents.org, 27 Feb 2017
Leigh syndrome, ghr.nlm.nih.gov, access 1 Aug 2020
โฆษณา