31 ก.ค. 2020 เวลา 04:24
ยาชารักษาฟัน ใช้โคเคนจริงหรือ ???
จากกรณี มีการเปิดเผยในคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร ว่า เรื่องสารเสพติดโคเคนที่พบในตัวนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส นั้น
พนักงานสอบสวนให้ข้อมูลว่าได้รับการยืนยันจากหมอฟันว่า สารที่ตรวจพบในร่างกายของนายวรยุทธเป็นยาที่ให้ผู้ต้องหารักษาฟันที่มีส่วนผสมของสารโคเคนอยู่ ทำให้ไม่สั่งฟ้องเรื่องสารเสพติด
นี่ทำให้กระแสสังคมเกิดคำถามว่า โคเคนใช้รักษาฟันได้จริงหรือ ????
เรื่องนี้ชัวร์หรือมั่วนิ่ม !!!!
โคเคน คือ crystalline tropane alkaloid ซึ่งสกัดมาจากใบของต้นโคคา (Coca) ซึ่งออกฤทธิ์เป็นสารกระตุ้นมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง เป็นสาร Dopamine reuptake inhibitor ซึ่งผู้ได้รับสารนี้จะรู้สึกมีความสุข และมีพลังงานเพิ่มอย่างสูงในระยะเวลาสั้นๆ มีการนำโคเคนมาใช้สำหรับใช้เป็นยาชาเฉพาะที่
ยาชาเฉพาะที่จัดได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นมากต่อทันตแพทย์สำหรับขบวนการรักษาต่างๆในทางทันตกรรม โดย เฉพาะงานด้านศัลยศาสตร์ช่องปาก กระดูกขากรรไกรและใบหน้า (oral and maxillofacial surgery)
ยาชาเฉพาะที่เป็นยาที่ออกฤทธิ์สกัดกั้นการนำส่งกระแสประสาท บริเวณที่ยาสัมผัสกับเส้นประสาท ทำให้ผู้ป่วยจะสูญเสียความรู้สึกบริเวณอวัยวะส่วนปลายที่เส้นประสาทนั้นไปเลี้ยงเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะหมดฤทธิ์ยา
ยาชา cocaine เป็นยาชาชนิดแรกที่ถูกนำมาใช้ในผู้ป่วยโดยจักษุแพทย์ Dr. Koller ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1884 โดยนำโคเคนมาใช้ หยอดตาพบว่าสามารถทำให้ชาและสามารถผ่าตัดต้อหิน(glaucoma)ได้สาเร็จ
หลังจากนั้นในปีเดียวกัน Dr. Halsted ได้นำ cocaine มาใช้ในช่องปากเพื่อสกัดกั้นการนำกระแสประสาทของเส้นประสาท infraorbital และ inferior alveolar ได้เป็นผลสำเร็จ
แต่ในระยะต่อมาการใช้ cocaine ได้เสื่อมความนิยมลงเพราะเกิดผลข้างเคียง เกิดพิษและมีฤทธิ์ของเสพติด ทำให้ยาชาชนิดอื่นๆจึงได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นลำดับซึ่งจะมีฤทธิ์และ คุณสมบัติแตกต่างกันไป
ในปี ค.ศ. 1905 ยาชา procaine ซึ่งเป็นยากลุ่ม ester ชนิดแรกได้ถูกคิดค้นและ นำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง จนถึงปี ค.ศ. 1943 ยาชากลุ่ม amide ตัวแรกคือ lidocaine ได้ถูกสังเคราะห์ขึ้นและนำมาใช้แทนยาชากลุ่ม ester ที่พบอาการแพ้ยาได้บ่อยกว่า และไม่ค่อยคงตัวมากนัก
หลังจากนั้นได้มีการสังเคราะห์ยาชาชนิดอื่นๆในกลุ่ม amide ขึ้นมาเป็นลาดับ ได้แก่ mepivacaine(1957), prilocaine(1960), bupivacaine(1963) และ articaine(1969) ในปัจจุบัน lidocaine ก็ยังมีผู้นิยมใช้กันมากที่สุด
และแน่นอนไม่มีทันตแพทย์ท่านใดที่ยังคงใช้โคเคนในการรักษาผู้ป่วยในปัจจุบัน
ถ้ามีคงต้องย้อนกลับไปประมาณ 150 ปีที่แล้ว.....
หรือทันตแพทย์ท่านนั้นจะอยู่ในเมืองไทย.....
เรื่องนี้มีกระแสสังคมเรียกร้องให้เปิดเผยข้อมูลต่างๆของคดีออกมา เพราะมีหลายจุด หลายข้อเหลือเกินที่น่าสงสัยและไม่ตรงกับความเป็นจริง
ทีมตำรวจและอัยการเท่านั้นที่จะตอบคำถามสังคมได้ว่า คุกไทยมีไว้ขังคนจนจริงหรือไม่ !!!!
ขอบคุณที่มา : คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โฆษณา