4 ส.ค. 2020 เวลา 12:43 • ประวัติศาสตร์
• กัมพูชา, ลาว, เวียดนาม 🇰🇭🇱🇦🇻🇳
1
3 ชาติคอมมิวนิสต์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2
ภาพการ์ตูนแสดงถึงเหล่าทหาร ของสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 3 ประเทศคอมมิวนิสต์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงสงครามเย็น
ในช่วงของสงครามเย็น อันเป็นช่วงเวลาของความขัดแย้งระหว่างฝ่ายเสรีนิยมประชาธิปไตยที่นำโดยสหรัฐอเมริกา กับฝ่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ที่นำโดยสหภาพโซเวียต ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีความขัดแย้ง และเกิดสงครามระหว่างทั้งสองฝ่ายขึ้น
1
โดยประเทศแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ปกครองภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ ก็คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (Democratic Republic of Vietnam) ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1945
ธงชาติของเวียดนามเหนือ หรือสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม
หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 โฮจิมินห์ (Ho chi Minh) พร้อมด้วยขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชของเวียดนามหรือ เวียดมินห์ (Viet Minh) ได้ประกาศเอกราชจากการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และก่อตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามขึ้น
โฮจิมินห์ วีรบุรุษของชาวเวียดนาม
โฮจิมินห์ประกาศเอกราชจากฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945
ทว่าการประกาศเอกราชของเวียดนามในครั้งนี้ กลับไม่ได้รับการยอมรับจากฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมของเวียดนาม ด้วยเหตุนี้ฝรั่งเศสจึงได้ส่งกองทัพมาที่เวียดนาม เพื่อล้มล้างรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ที่นำโดยโฮจิมินห์และเวียดมินห์
ท้ายที่สุด ก็ได้เกิดการต่อสู้ระหว่างเวียดมินห์กับฝรั่งเศสขึ้น รู้จักกันในชื่อ สงครามอินโดจีนครั้งที่ 1 (First Indochina War : ค.ศ. 1946-1954)
3
สงครามอินโดจีนครั้งที่ 1 จบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายเวียดมินห์ นำไปสู่การทำสนธิสัญญาเจนีวา (Geneva Accord) เพื่อยุติสงคราม
1
กองทัพเวียดมินห์เอาชนะฝรั่งเศส ในสมรภูมิเดียนเบียนฟู
สนธิสัญญาเจนีวา ทำให้อาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส (French Indochina) อันประกอบไปด้วย เวียดนาม, ลาว และกัมพูชา ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ
แต่สนธิสัญญาฉบับนี้ ยังทำให้เวียดนามแบ่งแยกออกเป็น 2 ประเทศ ตามเส้นขนานที่ 17 คือ เวียดนามเหนือ (North Vietnam) ซึ่งก็คือ รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามของโฮจิมินห์
1
และเวียดนามใต้ (South Vietnam) ซึ่งมีรัฐบาลของสาธารณรัฐเวียดนาม (Republic of Vietnam) รัฐบาลฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ซึ่งมีชาติมหาอำนาจอย่าง สหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุน
2
แผนที่ของเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้
การแบ่งแยกประเทศของเวียดนาม ได้นำไปสู่สงครามครั้งใหญ่อย่าง สงครามเวียดนาม (Vietnam War : ค.ศ. 1955-1975) ซึ่งเป็นการต่อสู้ระหว่างฝ่ายเวียดนามเหนือ กับฝ่ายเวียดนามใต้ที่มีสหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุน
สงครามเวียดนาม เป็นหนึ่งในสงครามครั้งสำคัญ ในช่วงสงครามเย็น
สงครามเวียดนามจบลงที่ สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นฝ่ายสนับสนุนของเวียดนามใต้ ประกาศถอนตัวจากสงคราม ก่อนที่เวียดนามเหนือจะสามารถเข้ายึดครองเวียดนามใต้ได้สำเร็จ ในช่วงเดือนเมษายน 1975
กองทัพเวียดนามเหนือ บุกยึดครองเวียดนามใต้ เป็นการปิดฉากสงครามเวียดนาม
ก่อนที่ในอีก 1 ปีต่อมา จะเกิดการรวมประเทศเวียดนามทั้งสองส่วน และสถาปนาเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam) หรือประเทศเวียดนามในปัจจุบันนั้นเอง
สำหรับประเทศลาว หลังจากที่ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสแล้ว ลาวก็ได้ปกครองภายใต้ระบอบกษัตริย์ (หรือเจ้ามหาชีวิต) แห่งราชวงศ์ล้านช้างหลวงพระบาง
ธงชาติของลาว ในยุคราชอาณาจักรลาว
ทว่าในช่วงสงครามเย็น ลาวได้เกิดความขัดแข้งขึ้นภายในประเทศ จนกลายเป็นสงครามกลางเมืองลาว (Laotians Civil War : ค.ศ. 1959-1975) ระหว่างลาวฝ่ายขวา ซึ่งเป็นกลุ่มที่สนับสนุนระบอบกษัตริย์ในลาว
1
กับลาวฝ่ายซ้าย ซึ่งเป็นกลุ่มคอมมิวนิสต์ในลาว ซึ่งรู้จักกันในนาม "ขบวนการปะเทดลาว" (Pathet Lao)
1
ทหารของขบวนการปะเทดลาว
ท้ายที่สุดสงครามกลางเมืองลาว ก็สิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของฝ่ายขบวนการปะเทดลาว เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา (Sisavang Vatthana) กษัตริย์องค์สุดท้ายของลาว และระบอบกษัตริย์ในลาวจึงถูกล้มล้าง
4
เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา กษัตริย์องค์สุดท้ายของลาว หลังสิ้นสุดสงคราม พระองค์ถูกฝ่ายคอมมิวนิสต์กักขังไว้ที่ค่ายกักกัน ก่อนที่พระองค์สิ้นพระชนม์ที่นั้น
หลังจากนั้น รัฐบาลใหม่ของขบวนการปะเทดลาวจึงประกาศจัดตั้ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People's Democratic Republic) เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 1975
ธงดวงเดือน ธงชาติของประเทศลาว เดิมทีเคยเป็นธงของขบวนการปะเทดลาวมาก่อน
ในขณะที่กัมพูชานั้น หลังจากที่ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสแล้ว กัมพูชาก็ได้ปกครองภายใต้ระบอบกษัตริย์ เฉกเช่นเดียวกันกับลาว โดยมีสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (Sihanouk) ทรงเป็นกษัตริย์ของกัมพูชา (แต่ต่อมา พระองค์ได้สละราชสมบัติ เพื่อดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีและประมุขของรัฐ)
2
สมเด็จพระนโรดม สีหนุ กษัตริย์แห่งกัมพูชาหลังได้รับเอกราช ต่อมาพระองค์ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี
ต่อมาได้เกิดสภาวะความผันแปรในระบบการเมืองของกัมพูชา ส่งผลให้ในปี 1970 รัฐบาลของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ได้ถูกล้มล้างโดยนายพล ลอน นอล (Lon Nol)
นายพล ลอน นอล
ธงชาติสาธารณรัฐเขมร
นายพลลอนนอลได้เปลี่ยนให้กัมพูชาปกครองแบบสาธารณรัฐ ภายใต้ชื่อ สาธารณรัฐเขมร (Khmer Republic) ในขณะที่สมเด็จพระนโรดม สีหนุ ได้ลี้ภัยออกนอกประเทศ
จนกระทั่งในปี 1975 รัฐบาลของสาธารณรัฐเขมรก็ถูกล้มล้างโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งกัมพูชา หรือที่รู้จักกันในนาม "เขมรแดง" (Khmer Rouge) โดยมีผู้นำคือ พอล พต (Pol Pot)
3
พอล พต ผู้นำเขมรแดง
เขมรแดงได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลเพื่อปกครองกัมพูชาในนาม กัมพูชาประชาธิปไตย (Democratic Kampuchea)
ธงชาติกัมพูชาประชาธิปไตย หรือยุคเขมรแดง
ทว่ากัมพูชาในยุคสมัยกัมพูชาประชาธิปไตยนี้ กลับเป็นยุคสมัยแห่งความโหดร้ายทารุณ และเกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ขึ้น ส่งผลให้มีชาวกัมพูชาถูกสังหารมากกว่า 3 ล้านคน
หัวกะโหลกของผู้เสียชีวิต จากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในสมัยเขมรแดง
ท้ายที่สุด รัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยของเขมรแดง ก็ถูกล้มล้างลงในปี 1979 และถูกแทนที่ด้วยรัฐบาลใหม่ ซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์เฉกเช่นเดียวกับเขมรแดง แต่เป็นกลุ่มที่มีเวียดนามให้การสนับสนุน
โดยรัฐบาลใหม่นี้มีชื่อว่า สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา (People's Republic of Kampuchea) โดยมีผู้นำคนสำคัญอย่าง เฮง สัมริน (Heng Samrin) และฮุนเซน (Hun Sen)
1
ธงชาติสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา
สมเด็จฮุนเซน (ซ้าย) และเฮง สัมริน (ขวา) ทั้งสองคนมีบทบาทสำคัญ ในการล้มล้างรัฐบาลเขมรแดง และก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา
สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ปกครองประเทศจนถึงปี 1989 ก่อนที่จะเกิดการเลือกตั้งโดยสหประชาชาติ จนนำไปสู่การฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ในกัมพูชาอีกครั้ง ในปี 1993 นั้นเอง
ดังนั้นในปัจจุบัน จึงเหลือเพียงแค่เวียดนามและลาวเท่านั้น ที่ยังคงปกครองภายใต้ระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์อยู่
2
*** Reference
3
#HistofunDeluxe
โฆษณา