6 ส.ค. 2020 เวลา 05:08 • สุขภาพ
น้ำตาลมีผลต่อสมองของเราอย่างไร // Better Me "นี่แหละชีวิต"
เคยสงสัยหรือไม่ ว่าทำไมเวลาเราเห็น ขนม ของหวานต่างๆ เราถึงมีความรู้สึกอยากรับประทานเป็นอย่างมาก ถึงแม้บางครั้งจะรู้สึกอิ่มแล้วก็ตาม
น้ำตาล จัดเป็นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดตรชนิดหนึ่ง ซึ่งพบได้ในอาหารแทบทุกชนิด โดยน้ำตาลยังแบ่งออกย่อยๆได้อีกหลายชนิด เช่น กลูโคส ฟรุคโตส ซูโครส แลคโตส หรือแม้แต่แป้งก็สามารถทำให้เกิดเป็นน้ำตาลได้เช่นกัน
ทำไมเวลาเราชิมอาหารหวานๆแค่เพียงเล็กน้อย เราถึงยิ่งมีความอยากของหวานมากยิ่งขึ้น
อาหารที่เรารับประทานเข้าไปคำแรก เมื่อไปสัมผัสส่วนรับรสหวานที่บริเวณปลายลิ้น จะส่งสัญญาณขึ้นไปที่บริเวณสมองส่วนหน้าที่ cerebral cortex ที่ควบคุมการรับรสหวาน
จากนั้นจะเกิดระบบการทำงานของสมอง ให้มีการหลั่งของสารโดพามีน
ทำให้เรามีความรู้สึกสดชื่น มีความสุข (Reward system)
 
แต่หากมีการกระตุ้นการทำงานของระบบนี้มากเกินไป จะเกิดอาการคล้ายๆอาการเสพติดน้ำตาล พอเวลาเราขาด สมองก็จะเริ่มเบลอ เกิดความอยาก จนสุดท้ายจะเกิดการดื้อต่อน้ำตาล
หลังจากอาหารผ่านลิ้นลงสู่กระเพาะอาหาร ลงมาลำไส้ ในลำไส้ก็มีส่วนรับความรู้สึกเช่นกัน อาจไม่ใช่ส่วนรับรสชาติ แต่มันจะเป็นส่วนที่รับความรู้สึก และส่งสัญญาณไปที่สมอง บอกให้เรารู้ว่าอิ่ม เพื่อให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนอินซูลินออกมาจัดการกับระดับน้ำตาลส่วนเกินในร่างกาย
ทีนี้ลองมาดูการเกิด reward system ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เราเสพติดความหวาน
ระบบนี้เกิดจากการที่เรารับประทานอาหารเข้าไป อาหารแต่ละชนิด
จะทำให้มีการหลั่งของโดพามีนออกมาในระดับที่ต่างกัน เช่น ถ้าเราทานอาหารหวาน 1 มื้อ ระดับโดพามีนจะสูงขึ้น ทำให้เราสดชื่นมีความสุข แล้วระดับของโดพามีนจะค่อยๆลดลงมาอยู่ในระดับปกติ
แต่ถ้าเรารับประทานแต่ของหวานๆซ้ำๆบ่อยๆ ระดับของโดพามีนจะสูงตลอดเวลา ไม่มีช่วงเวลาที่ลดลงมาอยู่ในระดับปกติ จนถึงจุดหนึ่งน้ำตาลจะทำหน้าที่คล้ายสารเสพติดต่อร่างกายในที่สุด
ดังนั้น การเลือกรับประทานอาหารจึงมีความสำคัญ การจะให้รางวัลตัวเองด้วยของหวานนานๆทีคงไม่เป็นไร แต่ที่สำคัญควรเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลาย ยิ่งเป็นอาหารที่มีประโยชน์ด้วยยิ่งดีต่อร่างกาย
Better Me "นี่แหละชีวิต"
ขอขอบคุณที่มาภาพ: Cover, Pic1, Pic2, Pic3 : pixabay
ที่มาบทความ : https://youtu.be/lEXBxijQREo
ช่องทางติดตาม Better Me "นี่แหละชีวิต"
โฆษณา