18 ส.ค. 2020 เวลา 02:53 • การตลาด
จริงหรือที่เราตัดสินใจจากเหตุผลในการซื้อหรือชอบของสิ่งนั้น?
Line Today
เคยเป็นไหมที่เราเจอคนที่ชอบและหลงไหลได้ปลื้ม แล้วเราก็บอกว่าเพราะเขาคนนั้นหล่อสวยหุ่นดี ผิวพรรณสดใสมีออร่า มีความคิดที่น่าสนใจน่าติดตาม นิสัยของหรือเธอคนนั้นเป็นคนชอบแบ่งปันให้สังคม และยังมีเหตุผลต่าง ๆนานามากมายที่เราจะสรรหามาประกอบ
“แต่ความเป็นจริงแล้วคนแบบนี้มีอยู่มากมายในโลกใบนี้ แต่ทำไมเราจึงไม่ได้มองคนอื่นๆทั้งที่มีคุณสมบัติตรงตามที่เราสรรหามาประกอบ ทั้งที่บางคนมีคุณสมบัติที่ดีกว่าคนที่เราชอบและหลงใหลได้ปลื้มด้วยซ้ำ”
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของเหตุผลเลย
ลองคิดดูดีๆว่าหากเราตัดสินใจทำอะไรด้วยเหตุผล เราจะไม่มีวิวัฒนาการใดๆเกิดขึ้นในโลกใบนี้เลย อย่างเช่น ในอดีตที่มีคนประดิษฐ์หลอดไฟ หรือการสร้างเครื่องบิน แม้แต่การออกไปสำรวจดวงจันทร์ ปัจจุบันมีคนมองไปถึงการย้ายถิ่นฐานของมนุษย์ไปดาวอังคารด้วยซ้ำ เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถหาเหตุผลมาประกอบได้เลย ณ เวลานั้น แต่เมื่อบรรลุเป้าหมายแล้วเราจะพบเหตุผลมากมาย
เรามาดูเรื่องใกล้ตัวกันสักหน่อยสำหรับสาวกแอปเปิ้ล ที่ยอมไปต่อแถวรอข้ามคืนเพื่อจะได้ซื้อโทรศัพท์รุ่นออกใหม่เป็นกลุ่มแรกหรือเป็นคนแรกๆ ถ้าหากใช้เหตุผลเราจะทำมันลงไปไหม และถ้าหากโนเกียหรือไมโครซอฟออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติที่เหนือว่าแอปเปิ้ลหรือไอโฟนอย่างเห็นได้ชัด มีหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ คิดว่าจะมีผู้คนไปต่อแถวข้ามคืนเพื่อรอซื้อรุ่นใหม่อยู่ไหม นี่คืออีกคำถามที่ทำให้เห็นว่าการตัดสินใจเรื่องใดลงไปไม่ใช่เรื่องของเหตุผล
นี่ก็คือการใช้สมองในส่วนของลิมปิคมากกว่าการใช้สมองส่วนของนีโอคอเท๊กซ์
https://thegrowthmaster.com/blog/neuromarketing-part-2-the-reptilian-brain
เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการทำการตลาดโดยตรงเลย หากนักการตลาดคนใดที่ต้องการทำการตลาดที่สร้างให้เกิดการซื้อซ้ำหรือความภักดีในตราสินค้า (Brand Loyalty) ต้องสื่อสารการทำตลาดจากสิ่งที่ทำของสิ่งนั้นบริการนั้นๆจากสิ่งที่มาจากคำว่าทำทำไม่ใช่ทำเพราะอะไร
หากเราสื่อสารจากการทำเพราะอะไรจะทำให้ไม่เกิดความแตกต่าง สิ่งที่จะต้องทำการตลาดต่อมาคือการสร้างความแตกต่างด้วยสิ่งล่อใจ เช่น สินค้าและบริการราคาคุ้มค่ากว่า มีของแถมมากมาย ซื้อแล้วมีการสะสมคะแนน หรือแม้แต่ส่วนลดพิเศษ และอีกมากมายที่ต้องใช้สิ่งล่อใจมาดึงดูดให้เกิดการซื้อของลูกค้า
ด้วยสาหตุจากการตัดสินใจที่ไม่ได้มาจากเหตุผลเราจะเห็นตัวอย่างมากมายที่เกิดขึ้นในการตัดสินใจซื้อของลูกค้า อย่างเช่น รถยุโรปและรถญี่ปุ่น ในอดีตเราจะพบว่ารถยุโรปมุ่งเน้นสมรรถนะความปลอดภัยมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ แม้ในปัจจุบันจะทำรถยนต์มาขายในกลุ่มเดียวกันกับรถญี่ปุ่น ลูกค้าส่วนมากก็ตัดสินใจซื้อรถญี่ปุ่นมากกว่าอยู่ดี นั่นก็เพราะสิ่งที่มองไม่เห็นที่ไม่ได้มาจากเหตุผล อย่างเช่น รถญี่ปุ่นมีที่วางแก้วน้ำได้สะดวก สัญญาณรัดเข็มขัดจะดังหลังจากที่รถเคลื่อนตัวไประยะหนึ่งแต่รถยุโรปจะดังทันทีและหยุดเลย เป็นต้น
ความแตกต่างที่มาจากการตอบสนองของสิ่งที่มองไม่เห็นสิ่งที่มาจากการตัดสินใจที่ไม่ใช้เหตุผล เป็นสิ่งสำคัญมากที่ทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อของลูกค้า
เพื่อให้สามารถเข้าใจการทำตลาดที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อหรือเราตัดสินใจทำอะไรลงไปที่บางครั้งดูยังไงก็ไร้เหตุผลหรือไม่มีเหตุที่ต้องทำเลย เราลองนึกถึงเหตุการณ์ที่เราไปท่องเที่ยวต่างถิ่นหรือต่างแดน ซึ่งบังเอิญเราได้พบกับคนที่เราไม่รู้จัก แต่ทว่ามาจากอำเภอหรือจังหวัดเดียวกันกับเรา หรือบางทีก็เรียนจบมาจากสถาบันเดียวกัน เป็นต้น
เราจะรู้สึกกับคนๆนั้นอย่างไรบ้าง ใช่ความรู้สึกอบอุ่นขึ้นมาไหม หรือเราพร้อมที่จะเปิดใจพูดคุยสนทนาหรือไปเที่ยวกับเขาไหม
เรื่องแบบนี้ก็เกิดขึ้นได้กับกลุ่มสังคมที่เราเข้าไปร่มด้วย ที่พบว่ามีคนส่วนมากเขามีบางสิ่งบางอย่างที่เราไม่มี เช่น ในสังคมของนักศึกษาหญิงที่คนส่วนมากใช้กระเป๋าแบรนด์เนม นักศึกษาบางคนยังไม่มีก็ต้องไปดั้นด้นหามาเพื่อจะมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม หรือบางครั้งในกลุ่มที่เราอยู่ชอบศัลยกรรมแต่เราไม่ชอบ หากนานไปแล้วเรายังอยู่ในกลุ่มนั้น ไม่นานเราก็จะต้องทำบางสิ่งบางอย่างที่เหมือนๆกับเขา เพื่อที่เราจะมีความรู้สึกอุ่นใจ ทั้งที่คนใกลุ่มนั้นอาจจะไม่ได้สนใจด้วยซ้ำว่าเราจะทำหรือไม่ทำ
https://www.brighttv.co.th/lifestyle/10-แบรนด์เนม-กระเป๋าผู้หญ-2
ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้เกิดธุรกิจที่มาตอบสนองเรื่องที่เกิดขึ้นนี้มามากมาย เพราะการตอบสนองการตัดสินใจที่ไม่ได้มาจากเหตุผลนั่นเอง
หากได้รู้เรื่องนี้แล้วการสร้างสมดุลของการตัดสินใจทั้ง 2 ส่วน ทั้งการตัดสินใจด้วยเหตุผลและการใช้อารมณ์ จะสร้างให้เกิดประโยชน์ได้มาก เพราะเราสามารถจับความคิดเราได้ทัน แต่ไม่ใช่ว่าสิ่งใดจะดีกว่ากัน เพราะขึ้นอยู่กับว่าเราจะทำสิ่งนั้นทำไมต่างหากคือสิ่งที่สำคัญกว่า
ที่มา: สรุปจากบางส่วนของหนังสือ “ทำไมต้องเริ่มต้นจากทำไม” และ “คิดแล้วรวย”
ข้อมูลมุมมองการตลาดที่ทันสมัยจากประสบการณ์จริง อ่านได้ใน Blockdit ยุคใหม่การตลาดของไทย
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
โฆษณา