24 ส.ค. 2020 เวลา 08:10 • ธุรกิจ
การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
การเมือง
กระบวนการแสวงหาอำนาจ การใช้อำนาจ
และการรักษาอำนาจทางการปกครองเพื่อประโยชน์สุขของมหาชน
 
เศรษฐกิจ
การประกอบอาชีพที่มีองค์รวมของกระบวนการผลิตสินค้า การแลกเปลี่ยนสินค้า
การบริโภค การกระจายการผลิต การกระจายรายได้ การตลาด
ทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค
สังคม
กลุ่มคนสองคนขึ้นไปมีมิติแห่งความสัมพันธ์, พฤติกรรม,
วัฒนธรรมที่หล่อหลอมสังคมเป็นเนื้อเดียวกันอย่างชัดเจนทั้งด้านบวกและด้านลบ
ส่งผลให้อิทธิพลกลุ่มเหนือบุคคล
 
การเมืองและเศรษฐกิจมีปฏิสัมพันธ์ไขว้ไปไขว้มาอย่างแยกกันไม่ออก
การเมืองอาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
และกลับกันเศรษฐกิจก็จะนำไปสู่ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
แต่นอกเหนือจากการเมืองแล้วสังคมก็เป็นอีกตัวแปรหนึ่ง
ที่เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ กล่าวคือ
เมื่อเศรษฐกิจ เปลี่ยนไป สังคมก็จะเปลี่ยนไปตามโครงสร้างใหม่ของเศรษฐกิจ
หรือเมื่อการเมืองเปลี่ยนไป สังคมก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามระบบการเมือง
กลับกันถ้าสังคมเปลี่ยนเนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจหรือทางการเมือง
ก็จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทาง การเมืองและทางเศรษฐกิจ
หรือทั้งสองโครงสร้างในขอบข่ายที่กว้างขึ้น
โดยสรุปก็คือ การเมือง สังคมและเศรษฐกิจ
มีปฏิสัมพันธ์ที่ไขว้ไปไขว้มาอย่างแยกไม่ออก ขึ้นอยู่กับว่า
ในยุคสมัยใด ตัวแปรใดเป็นตัวแปรหลัก
 
ที่ใดมีมนุษย์อยู่ ที่นั่นจะมีศาสตร์ทุกศาสตร์เข้าไปเกี่ยวข้องเสมอ
และที่ขาดไม่ได้คือศาสตร์ว่าด้วยการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคม
ดังนั้น การพัฒนาประเทศจึงต้องพัฒนาทั้งการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
พร้อมๆกัน และในชีวิตประจำวันของคนก็ไม่อาจหลีกพ้นจากการเมือง
เศรษฐกิจ สังคม ได้เช่นกัน
ความหมายและความสัมพันธ์ของการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคม
มนุษย์เกิดมาในโลกแห่งความเป็นจริงที่มิอาจปลอดจากการเมือง
การปกครอง เศรษฐกิจและสังคมได้
เริ่มแต่ลืมตาดูโลกอยู่รอดเป็นสถานะบุคคลตามกฎหมาย
ในสถาบันครอบครัวที่มีการขัดเกลาทางสังคมแตกต่างกันไป
ทุกคนในสังคมต้องประกอบอาชีพในวัยอันควร
เพื่อดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับวิถีสังคมและความถนัดทางเศรษฐกิจของแต่ละคน
ภายใต้กรอบนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งรัฐ
10 ขอที่มีเนื้อหาสาระสำคัญของความสัมพันธ์ของการเมือง
เศรษฐกิจและสังคมได้แก่
1.ความหมายและความสัมพันธ์ของการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม
2.การเมืองการปกครองในสังคมมนุษย์
3.การปกครองของไทย
4.แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในสังคมมนุษย์
5.ระบบเศรษฐกิจในสังคมโลก
6.การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย
7ความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคม
8.การจัดระเบียบสังคมและการขัดเกลาทางสังคม
9.สถาบันทางสังคมกับการดำเนินชีวิตของคนในสังคม
10.การเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีผลกระทบต่อการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไทย
 
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุด ก็คือ การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ความแตกต่างของ
โครงสร้างสังคมก่อนการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 และหลังการปฏิวัติ
ซึ่งก่อน การปฏิวัติ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 นั้น
โครงสร้างของสังคมเป็นรูปแบบหนึ่ง มีองค์กรสังคมที่มีการสืบเนื่องกันมาเป็นร้อยๆปี แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ได้เกิดชนกลุ่มใหม่ ชนชั้นใหม่ และองค์กรทางสังคมใหม่ที่เห็นชัด คือ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจ รวมตลอดทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การเกิดนักการเมือง นักธุรกิจ ประชาชนผู้ตื่นตัว องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาสังคม
 
การพัฒนาเศรษฐกิจในปัจจุบันได้ส่งผลถึงการแจกแจงรายได้ที่จะต้องมี การวิเคราะห์โดยดูนัยทางการเมืองที่จะตามมา
สาเหตุของความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
1.โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เอื้อประโยชน์แก่เจ้าของทุนมากกว่าแรงงาน
2.โครงสร้างภาษี เป็นอุปสรรคในการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม
3.ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมส่งผลต่อ
โอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม
4.การกระจายทรัพยากรที่ไม่มีประสิทธิภาพ
5.โอกาสการเข้าถึงแหล่งทุนของผู้มีรายได้น้อยมีจำกัด
นอกจากการเสียดุลในแง่รวยกระจุกจนกระจายแล้ว ยังมีการเสียดุลระหว่าง
ภูมิภาคอีกด้วย ทั้งนี้ เพราะนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจนั้น
มีศูนย์รวมอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล และทางชายฝั่งทะเลตะวันออก
ทำให้รายได้เฉลี่ยต่อหัวของกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และชายฝั่งทะเลตะวันออกและตะวันตก สูงกว่าทางภาคใต้ ภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีประชากร
มากที่สุดนั้นกลายเป็นภูมิภาคที่ยากจนที่สุด
การเมืองคือศิลปะแห่งอนาคตที่ดีที่สุด
การเมืองไม่ใช่เกม แต่เป็นธุรกิจที่จริงจัง
ทุกการเมืองต้องตัดสินใจความได้เปรียบของแผนผังให้กับประชาชน
หากต้องการรู้ว่าใครกดคีย์การปกครองคุณ เพียงแค่ดูว่าใครที่คุณ
ไม่อนุญาตให้วิพากษ์วิจารณ์
CR: Politics Economy and Society 101 and Posttoday
โฆษณา