13 ก.ย. 2020 เวลา 00:32 • ธุรกิจ
ภาคอสังหาฯ ยังฟื้นยาก เพราะ “ความไม่แน่นอน”
ในเย็นวันพุธที่ผ่านมาคุณเศรษฐา ทวีสินได้ทวีตเกี่ยวกับความน่าเป็นของภาค
อสังหาฯ ว่า “ถ้าใครบอกว่าตลาดอสังหาฯยังไปได้ คนนั้นพูดไม่จริงแน่นอน ทุกวันนี้แสนสิริยอดโอนสูงเป็นประวัติการณ์ไม่ใช่เพราะตลาดดี แต่เราจัดโปรโมชั่นเพื่อเร่งขายเร่งโอน เพราะอยากได้เงินสดในการรับมือ worst case scenario”
ทั้ง ๆ ที่แบงค์ชาติประกาศว่าเศรษฐกิจผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว แต่ทำไมภาคอสังหาฯ
ที่พอจะประคองตัวให้อยู่รอดในช่วงที่ผ่านมาได้ จึงยังต้องเจอกับอุปสรรคมากมายที่รออยู่ข้างหน้า ถึงขนาดที่ผู้บริหารระดับสูงต้องออกมาพูดแบบนี้
เพื่อให้เข้าใจปัญหาเหล่านี้มากขึ้น ผมจึงขออ้างอิงเนื้อหาจากสกู๊ปพิเศษที่
Bloomberg ได้สัมภาษณ์ผู้บริหารในแวดวงของอสังหาฯ เกี่ยวกับสถานการณ์
ปัจจุบันของอสังหาฯว่ากำลังอยู่ในจุดไหนและจะเป็นยังไงต่อไป
ปรากฏว่าผู้บริหารแต่ละคนพูดไปในทิศทางเดียวกัน ว่าภาคอสังหาฯ เป็นหนึ่งใน
ภาคที่เจ็บหนักที่สุดจากการระบาดของโควิด19 และผลกระทบยังรุนแรงที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ อัตราการเช่าในเมืองใหญ่ลดลงกว่า 20% และมูลค่าของทรัพย์ก็
ลดลงอย่างมาก
และที่น่าเหลือเชื่อคือทุกคนใช้คีย์เวิร์ดเดียวกันในการอธิบายอนาคตของอสังหาฯ
คีย์เวิร์ดนั้นคือ “ความไม่แน่นอน” ซึ่งมีอยู่หลายประการดังนี้ครับ
1. ความไม่แน่นอนของ “ระยะเวลา” คือไม่มีใครรู้ว่าการระบาดนี้จะจบเมื่อไหร่
แต่อสังหาฯ ส่วนใหญ่มักจะมีผูกมัดกันด้วยสัญญาระยะยาว ทั้งสัญญากู้และสัญญา
เช่า ทำให้ตอนนี้ไม่มีใครกล้าลงทุนระยะยาว สัญญาต่าง ๆ ต้องปรับเปลี่ยนกันเป็น
ระยะสั้นและหลายครั้งต้องยกเลิกกันนาทีสุดท้าย
2. ความไม่แน่นอนของ “พฤติกรรมของคนทำงาน” สำหรับสำนักงานให้เช่านั้นได้
รับผลกระทบหนักมากจากการปิดเมืองและการเวิร์คฟอร์มโฮม แม้ว่าตอนนี้คุณจะ
พบว่าการเวิร์คฟอร์มโฮม มันไม่สามารถทดแทนการทำงานในออฟฟิศได้ทั้งหมด
แต่มันก็ทำให้ผู้คนได้เห็นข้อบกพร่องบางอย่างของการทำงานออฟฟิศแบบเดิม ๆ
เพราะฉะนั้นเทรนด์ของออฟฟิศแบบใหม่ที่ผสมผสานระหว่างจุดเด่นของการทำงาน
อยู่บ้านและทำงานในออฟฟิศน่าจะเกิดขึ้นหลังจากนี้ ผู้ที่ทำออฟฟิศที่ปรับตัวไม่
ทันอาจต้องปิดตัวลงในที่สุด
3. ความไม่แน่นอนของ “เทคโนโลยี” การปิดเมืองนั้นทำให้บริษัท E-Commerce
ต่าง ๆ มีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งก็น่าเป็นห่วงว่าหลังจากการระบาดหยุดลง ผู้คนจะกลับมาซื้อของจากหน้าร้านมากแค่ไหน ต้องดูเป็น case by case ไปว่าร้านค้านั้น ๆ ถูก
disrupt หรือเปล่า
สรุปคือแม้ว่าทุกคนจะรู้ว่าอสังหาฯ เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ยังไงธุรกิจนี้ก็ยังต้องมีอยู่
แต่ไม่มีใครสามารถคาดการณ์ได้ว่ามันจะกลับมาเมื่อไหร่ 1 ปี 2 ปี 3 ปี หรือ 5 ปี
แถมการจะกลับมาได้อย่างยั่งยืนนั้นไม่ใช่แค่สายป่านที่ยาวมากพอ แต่คุณยังต้อง
ปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์ใหม่ที่ไม่มีใครรู้ว่าจะเป็นอย่างไรอีกด้วย มิฉะนั้นคุณก็จะไม่รอดอยู่ดี
1
ฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกใจครับว่าทำไมคุณเศรษฐาจึงให้แสนสิริถือเงินสดให้ได้มากที่
สุด และพยายามสื่อสารให้ทุก ๆ คนได้เตรียมกันชนไว้รับมือเช่นเดียวกัน เพราะไม่มีใครรู้จริง ๆ ว่าจะเกิดอะไรขึ้นและจะใช้เวลานานแค่ไหน แล้วถ้าหากมีใครล้มไปไม่
ว่ารายเล็กหรือใหญ่มันก็อาจจะลากคนอื่น ๆ ให้ล้มตามไปด้วย
ตอนนี้เพื่อน ๆ เตรียมรับมือกับความไม่แน่นอนกันยังไงบ้างครับ เหนื่อยไหม?
เป็นกำลังใจให้นะครับ ทุกวิกฤตมีโอกาสเสมอ
.
แอดปุง
โฆษณา