27 ก.ย. 2020 เวลา 02:40 • การศึกษา
🌟พุทธ​ธรรมดา​ ​: 30​ ปรากฏ​การ​ณ์ ที่​เหมือนกันของ​พระ​พุทธ​เจ้าทุก​ ๆ พระองค์
1. พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงมีสัมปชัญญะรู้ตัวลงสู่พระครรภ์ของพระพุทธมารดา
2. ทรงนั่งขัดสมาธิในพระครรภ์ของพระพุทธมารดา ผันพระพักตร์ออกด้านหน้า
3. พระพุทธมารดายืนประสูติ
4. ประสูติจากพระครรภ์พระพุทธมารดาในป่าเท่านั้น (ไม่ประสูติในเมืองหรือในอาคารบ้านเรือน)
5. เมื่อประสูติแล้ว วางพระบาทลงบนแผ่นทอง ผันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ย่างพระบาท 7 ก้าว เหลือบแลดูทั้ง 4 ทิศ แล้วเปล่งสีหนาท
6. เมื่อพระโอรสประสูติก็จะทรงเห็นนิมิต 4 แล้วเสด็จออกผนวช​ (มหาภิเนษกรมณ์)​
7. ทรงผ้ากาสาวพัสตร์ผนวช (ไม่ใช่มีเครื่องนุ่งห่มเป็นอย่างอื่น) แล้วทรงบำเพ็ญเพียรอย่างต่ำที่สุด 7 วันจึงจะได้ตรัสรู้ (ไม่ตรัสรู้ก่อน​ 7 วันนับจากทรงผนวช)
8. เสวยข้าวมธุปายาส ในวันที่ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ
9. เมื่อได้ประทับนั่งเหนือเครื่องปูลาดที่ทำด้วยหญ้าแล้ว จึงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
10. ทรงบริกรรมอานาปานสติกัมมัฏฐานเป็นเบื้องต้นในการที่จะได้ตรัสรู้
11. ทรงกำจัดกองกำลังของมารได้หมดสิ้น
12. ทรงได้บรรลุธรรมที่ไม่มีผู้ใดสามารถมีได้ทำได้เสมอเหมือน (มีได้เฉพาะพระพุทธเจ้า) ตั้งแต่วิชชา 3 เป็นต้นไป ณ โพธิบัลลังก์คือสถานที่ตรัสรู้นั้นเท่านั้น (คือบรรลุเบ็ดเสร็จเด็ดขาดทั้งหมด ณ ที่นั้น)
13. หลังจากตรัสรู้แล้วจะประทับเสวยวิมุตติสุข ณ บริเวณสถานที่ตรัสรู้เป็นเวลา 7 สัปดาห์
14. ท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาเพื่อให้ทรงแสดงธรรม
15. ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
16. ในวันมาฆบูรณมี ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในที่ประชุมสาวกประกอบด้วยองค์ 4
17. ประทับอยู่ประจำ ณ ที่พระวิหารเชตวัน
18. ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ใกล้ประตูกรุงสาวัตถี
19. ทรงแสดงพระอภิธรรม ณ ภพดาวดึงส์
20. เสด็จลงจากเทวโลก ใกล้ประตูสังกัสสนคร
21. ทรงเข้าผลสมาบัติต่อเนื่องกัน
22. ทรงตรวจดูสัตว์โลกที่จะพึงเสด็จไปโปรดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
23. เมื่อเรื่องเกิดขึ้น จึงทรงบัญญัติสิกขาบท
24. เมื่อเหตุต้นเรื่องเกิดขึ้น จึงตรัสชาดก
25. จะตรัสแสดงเรื่องพุทธวงศ์ในสมาคมพระประยูรญาติ
26. เมื่อมีภิกษุอาคันตุกะมาเข้าเฝ้า จะทรงทำปฏิสันถารต้อนรับด้วยพระองค์เอง
27. พวกภิกษุจำพรรษาที่เดียวกับพระองค์ เมื่อมีผู้นิมนต์ไปในที่อื่น ถ้าไม่ทูลลาเพื่อให้ทรงทราบก่อน จะไม่สามารถเดินทางไปได้
28. ทรงทำกิจ​ 5 (คือหน้าที่ของพระพุทธเจ้า) 5 เวลา คือ​ บิณฑบาต, แสดงธรรม, ประทานโอวาทแก่เหล่าภิกษุ, ตอบปัญหาเทวดา, ทรงตรวจพิจารณาสัตว์ที่สามารถและที่ยังไม่สามารถบรรลุธรรมอันควรจะเสด็จไปโปรดหรือไม่
29. เสวยรสมังสะ ในวันปรินิพพาน.
30. ทรงเข้าสมาบัติยี่สิบสี่แสนโกฏิสมาบัติแล้วจึงปรินิพพาน.
ที่มา: มธุรัตถวิลาสินี อรรถกถา​พุทธวงศ์ หน้า 543-544
🌟รับธรรมะดี ๆ ที่เป็นประโยชน์และเป็นกำลังใจในการปฏิบัติธรรม เพื่อให้เข้าถึงความสุขภายในได้ที่นี่
⚡️Line
⚡️Facebook
⚡️YouTube
⚡️Instagram
⚡️Twitter
⚡️Pinterest
⚡️Spotify
⚡️Apple Podcasts
⚡️JOOX
⚡️TikTok
⚡️Blockdit
⚡️Google Maps

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา