28 ก.ย. 2020 เวลา 11:33 • การศึกษา
ใ ค ร เ ค ย ไ ด้ รั บ ข้อความแบบนี้บ้างค่ะ?
💬💬ให้ท่าน344XXXXXXXXXX ตรวจสอบการส่งเอกสารคืนเงินที่ www.rd.go.th คงจะเข้าใจดีว่านี่คือ เราจะได้เงินจากการขอคืนภาษี จากกรมสรรพกากร 🤭🤭🤭
เวลาได้คืน จะปลื้ม ๆ 🥰🥰 คนที่ทำงานกินเงินเดือน รายได้ 40 (1) ประเภทเงินเดือน ดีกว่า อาชีพอิสระหน่อย ที่สามารถส่งรายการลดหย่อนส่วนบุคคล ให้กับฝ่ายบุคคล แล้วสามารถ ปรับปรุงรายการล่วงหน้า ก็โดนหักภาษีไว้น้อยหน่อย แต่สำหรับ
กูรูประกัน รายได้ 40(2) ค่านายหน้า
หักอย่างเดียว ไปเคลมคืนทีหลังคร้า....😰😰
📚 วันนี้จึงอยากพาทุกคนมาทำความรู้จัก หนึ่งในเครื่องมือสำหรับ ลดหย่อนภาษี นั่นคือ ประกันนั่นเอง...
💬💬 ว่าแต่ มีประกันแบบไหนบ้าง
ที่ลดหย่อนภาษีได้?
💬💬 ลดได้สูงสุดกี่บาท ?
1
💬💬 สัญญาประกันชีวิต กี่ปีขึ้นไป
จึงลดหย่อนได้ ?
กูรูประกัน
👉 มาทำความรู้จักประกัน ที่สามารถลดหย่อนภาษีกันได้ก่อนนะ
ปัจจุบันกรมสรรพากรยินยอม ให้ผู้มีรายได้สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุดถึง 300,000 บาทต่อปี
แต่ก็ไม่ใช่เบี้ยประกันชีวิต จากกรมธรรม์ทุกแบบที่จะนำมาขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ต้องตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด ทั้งแบบประกันชีวิตที่ใช้สิทธิได้ รวมถึงข้อกำหนดการหักลดหย่อนภาษีของแต่ละแบบ
สำหรับผู้ที่ต้องการใช้สิทธิของประกันเพื่อนำไปลดหย่อน ต้องทำความเข้าใจกับ ข้อกำหนดของกรมสรรพากร เพื่อรับสิทธิประโยชน์สูงสุด ซึ่งเบี้ยประกันที่กรมสรรพากรอนุญาตให้ใช้ลดหย่อนภาษีได้
มี 2 ประเภทดังนี้
1. เบี้ยประกันชีวิตและเบี้ยประกันสุขภาพที่ทำให้ตนเอง สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท และตรงตามเงื่อนไขต่อไปนี้
1
👉 เบี้ยประกันสุขภาพ ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท
(ปรับเพิ่มขึ้นจาก 15,000 เริ่มตั้งแต่ปีภาษี 2563)
👉 แบบประกันชีวิตต้องมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ส่วนเบี้ยจะชำระ กี่ปีก็ได้
👉 หากมีเงินคืนระหว่างสัญญา เงินคืนสะสมต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันภัยสะสม
2. เบี้ยประกันชีวิตของประกันแบบบำนาญที่ทำให้ตนเอง สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และไม่เกิน 15% ของเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษี
ซึ่งเงินก้อนนี้เมื่อนำไปรวมกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(PVD) , กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ, กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
👉 กรณีไม่มีเบี้ยประกันชีวิตตามข้อ 1)
สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปหักลดหย่อนแทนเบี้ยประกันชีวิตตามข้อ 1) ก่อนได้ ซึ่งจะได้สิทธิลดหย่อนภาษีรวมสูงสุด 300,000 บาท
กรณีมีคู่สมรส และทั้งคู่เป็นผู้ชำระเบี้ยสามารถแยกยื่นภาษีในส่วนของเบี้ยประกันชีวิตของประกันแบบบำนาญ เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนในส่วนของตนเองได้ สูงสุดคนละ 200,000 บาท
*** ในหมวดของ SSF ลดหย่อนได้สูงสุด 30% แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และรวมกับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. กอช. ประกันบำนาญ RMF แล้วไม่เกิน 500,000 นะคะ
1
สำหรับท่านผู้อ่านที่อยากทราบว่า มีอะไรบ้างที่สามารถลดหย่อนได้ ตามเอกสารแนบ
เลยนะค่ะ
tax bugnoms
หรือ หากท่านผู้อ่านท่านใด งง ๆ ไม่ทราบว่าจะต้องเสียภาษี เท่าไร ?
👉ควรทำอะไรเพิ่มบ้าง แอดไลน์ กูรูประกันมาปรึกษาได้ฟรีคร้า...🥰🥰🥰
กูรูขอแนบแบบประกันสะสมทรัพย์ ผลตอบแทน 2.56% เป็นตัวอย่าง เพื่อง่ายต่อความเข้าใจสำหรับ ท่านผู้อ่านที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน และไม่เคยทำประกันมาก่อน แบบนี้เป็นแบบประกันที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ มีความคุ้มครอง ตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป
ส่วนจะชำระเบี้ย 10/1, 10/2, 10/3, 10/5 ,10/6 , 10/10 ปี ก็ได้ ....
ตามแบบคือ 10/5 คะ
แบบประกันคุ้มสุขเต็มสิบ 10/5 ของอาคเนย์คุ้มครอง 10 ปีและจ่ายเบี้ยประกัน 5 ปีแบบนี้สามารถที่จะนำไปลดหย่อนภาษี ในหมวด 100,000 ได้จ้า😍😍
ใบเสนอราคา อาคเนย์ประกันชีวิต
หากท่านผู้อ่าน อยากให้กูรูประกัน
อธิบายทุกตัวที่ลดหย่อนภาษีได้..
ว่าลดหย่อนแต่ละตัวได้เท่าไร ?
รายละเอียดอย่างไร
คอมเม้นท์ไว้เลยนะคะ...
หวังว่าท่านผู้อ่านคงจะได้ประโยชน์จากบทความนี้บ้างไม่มากก็น้อย หากชื่นชอบ
ก็กดไลค์ กดแชร์ หรือ คอมเม้นท์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น กันได้นะคะ ขอบคุณมากค่ะ
เพื่อให้ไม่พลาดบทความดี ๆ จากกูรูประกันกดติดตามไว้ได้นะคะ 🙏🙏
โฆษณา