13 ต.ค. 2020 เวลา 04:33 • อสังหาริมทรัพย์
มติครม. "เวนคืนที่ดิน" รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน "หัวลำโพง - บางแค" และ "บางซื่อ – ท่าพระ" หลังผ่านไป 4 ปี ทำทางเท้า-ทางลาดไม่เสร็จ
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 12 ตุลาคม 2563 มีมติอนุมัติหลักการ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน 4 ฉบับได้แก่
- ในท้องที่เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ เขตจอมทอง และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร (โครงการรถฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง – บางแค)
- ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (โครงการรถฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ)
- ในท้องที่เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ เขตจอมทอง และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร (โครงการรถฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง – บางแค)
- ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร.... (โครงการรถฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ)
ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา 4 ฉบับ
กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนและกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ เพื่อปรับปรุงทางเท้าบริเวณบันไดขึ้น – ลง สถานีรถไฟฟ้า ลิฟต์ ตอม่อ และทางลาดของคนพิการบริเวณสถานีต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้พิการและผู้ใช้ทางเท้าอื่นในการสัญจรไปมา ดังนี้
1. ช่วงหัวลำโพง – บางแค ในท้องที่เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ เขตจอมทอง และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
2. ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม เสนอว่า
1. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าบริเวณบันไดขึ้น – ลง ทางเท้า และทางลาดของคนพิการว่า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายสายของ รฟม. ไม่เป็นไปตามกฎหมาย โดยเฉพาะการก่อสร้างรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ จากการตรวจสอบบริเวณบันไดขึ้น – ลง สถานีรถไฟฟ้า ลิฟต์ ตอม่อ และทางลาดของคนพิการบริเวณสถานีต่าง ๆ ของรถไฟฟ้าแต่ละสาย ปรากฏว่า มีการใช้พื้นที่ทางเท้าก่อสร้างจนเกือบเต็มพื้นที่ เป็นการรอนสิทธิของผู้ใช้ทางเท้า บางจุดทางเท้าเหลือพื้นที่เพียง 50 – 80 เซนติเมตร ซึ่งไม่เป็นไปตามกฎหมาย ได้แก่
 
- กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548
- กฎกระทรวงกำหนดลักษณะหรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ หรือบริการสาธารณะอื่น เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. 2555
- กฎกระทรวงกำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ และบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. 2556 โดยมีการกำหนดทางเท้าต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
จึงขอให้รฟม. ดำเนินการหรือสั่งการให้มีการตรวจสอบ หรือแจ้งให้ผู้รับเหมาดำเนินการแก้ไข รื้อถอนหรือทุบทิ้งบันไดขึ้น – ลง สถานีรถไฟฟ้า ลิฟต์ ตอม่อ และทางลาดของคนพิการ ให้เป็นไปตามมาตรฐานหรือตามกฎหมายข้างต้นทุกประการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมสั่งการให้ รฟม. สำรวจทางเดินคนพิการในทุกสถานีรถไฟใต้ดินและปรับปรุงแก้ไขให้ใช้งานได้จริง เพื่อไม่ให้มีข้อร้องเรียนอีก ซึ่ง รฟม. ได้ตรวจสอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อจัดทำทางเท้าให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ในโครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ แล้ว ปรากฏว่ามีอสังหาริมทรัพย์ที่จะถูกเวนคืนเพิ่มเติม ประกอบด้วยที่ดิน ประมาณ 98 แปลง และสิ่งปลูกสร้างประมาณ 114 หลัง/รายการ โดยในการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ใช้ระยะเวลาประมาณ 400 วัน นับตั้งแต่วันที่แจ้งเข้าสำรวจอสังหาริมทรัพย์
เนื่องจากพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ เขตจอมทอง และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558 (โครงการรถฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง – บางแค) พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558 (โครงการรถฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ)
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ เขตจอมทอง และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558 (โครงการรถฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง – บางแค)
และ พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558 (โครงการรถฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ)
ที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2558 มีกำหนดระยะเวลา 4 ปี ได้สิ้นผลใช้บังคับแล้ว ซึ่ง รฟม. พิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่สามารถดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อจัดให้มีทางเท้าความกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ให้แล้วเสร็จได้ทัน ดังนั้น เพื่อให้การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินสามารถดำเนินการได้จนแล้วเสร็จสมบูรณ์ต่อไป จึงจำเป็นต้องเสนอ พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน และพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง - บางแค และช่วงบางซื่อ - ท่าพระ รวม 4 ฉบับ
คณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2562 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2562 ได้มีมติอนุมัติให้ รฟม. ดำเนินการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ รวม 4 ฉบับ เพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
ด้านสำนักงบประมาณแจ้งว่า จะจัดสรรงบประมาณให้ รฟม. ตามความจำเป็นและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายเงินเมื่อร่างพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับแล้ว จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกา รวม 4 ฉบับ มาเพื่อดำเนินการ
2
Content By จีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง
โฆษณา