15 ต.ค. 2020 เวลา 05:00 • ธุรกิจ
ช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ
ตอนที่ 3 คนไทยได้อะไรกันบ้างจากการเติบโตของธุรกิจนี้
หลังจากที่เราได้ทราบปัญหาการใช้เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติและประเภทของเครื่องว่ามีรูปแบบไหนบ้าง (คาดว่ารูปแบบใหม่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ) คราวนี้เรามาดูกันว่าธุรกิจนี้ส่งผลกระทบอะไรกับคนไทยและสังคมไทยกันบ้าง
การทำธุรกิจทุกอย่างที่จะประสบความสำเร็จได้โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ไม่ต้องใช้คนมาทำการขาย ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าขั้นตอนการใช้ต้องสะดวก ใช้ง่าย รวดเร็ว แม่นยำ (Friendly User) อีกประการหนึ่งที่สำคัญคือตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ ทำให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่ต้องการ ในคุณภาพที่คุ้มค่า สินค้าตอบโจทย์ความต้องการอย่างแท้จริง (Pain Point)
จากข้อมูลของ smmagonline.com ระบุว่า
ปี 2020 มูลค่าตลาดรวมของ Vending Machine ในเมืองไทยจะขยายตัวมากกว่า 25,000 ตู้ จากปัจจุบันที่มีอยู่ราว 21,100 ตู้ และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 25% ต่อปี
ผู้เล่นอันดับหนึ่งคือ บริษัท ซันร้อยแปด จำกัด ในเครือสหพัฒน์ฯ ที่ทำการตลาดมากว่า 20 ปี ปัจจุบันมีจำนวนเครื่องกระจายอยู่ในหลายพท้นที่มากกว่า 10,000 จุด ที่ทำการจำหน่ายเครื่องดื่ม อาหารและขนมขบเคี้ยว รวมๆแล้วมีมากกว่า 500 รายการสินค้า (SKUs)
คราวนี้เรามาดูกันว่าคนไทยได้อะไรกันบ้างจากการเติบโตของธุรกิจนี้ ซึ่งจะใช้วิธีการวิเคราะห์แบบง่ายๆที่ทั่วไปทราบคือการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า SWOT ที่ประกอบไปด้วย จุดแข็ง จุดด้อย โอกาสและภัยคุกคาม
ปัจจัยภายในองค์กร
•จุดแข็ง (Strengths)
•จุดด้อย (Weaknesses)
ปัจจัยภายนอกองค์กร
1.โอกาส (Opportunities)
2.ภัยคุกคาม (Threats)
จุดแข็ง (Strengths)
1.ประหยัดต้นทุนจาการใช้พื้นที่ไม่มากในการจำหน่าย
2.ลดต้นทุนในการดำเนินการด้านบุคลากรที่ต้องมาดูแลร้านหรือรับชำระเงิน
3.สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เป็นจำนวนมากในพื้นที่ๆมีความต้องการจริง
จุดด้อย (Weaknesses)
1.จุดด้อยหลักที่สำคัญคือการชำระเงิน ปัจจุบันมีการชำระด้วยเงินสดกว่า 96.9% และการชำระแบบอื่นเพียง 3.1% ทำให้ต้นทุนการจัดการด้านการเงินสูง ทั้งด้านการนำส่งและความปลอดภัยรวมถึงความถูกต้องแม่นยำ หลายเครื่องก็ไม่สามารถอ่านค่าธนบัติและเหรียญบางรุ่นได้ และธนบัติไทยก็ยังมีมาตรฐานที่ไม่คงที่ทำให้เครื่องอ่านได้ยากจนต้องปฏิเสธการรับ
2.ความผิดพลาดของตัวเครื่องเอง ซื้อแล้วลูกค้าอาจจะไม่ได้รับสินค้า แม้เป็นสัดส่วนที่น้อยแต่ส่งผลกระทบสูงมากต่อความเชื่อถือ ด้วยเงื่อนใขที่ลดจำนวนผู้ดูแลจึงทำให้การตอบสนองต่อความผิดพลาดของเครื่องช้าหรือลูกค้าอาจจะต้องยอมเสียเงินส่วนนั้นไปโดยไม่ได้รับการแก้ใข
3.รายการสินค้าไม่ตรงตามที่ผู้บริโภคต้องการ หรือปริมาณไม่ตรงกับความต้องการเช่นกัน รวมถึงคุณภาพสินค้าที่บางครั้งอาจจะไม่ตรงตามคุณภาพที่แจ้ง
4.ตู้บางรุ่นมีความซับซ้อนในการใช้ หรือบางรุ่นต้องใช้เวลานานกว่าจะได้รับสินค้า
5.ตู้หลายรุ่นซื้อได้ครั้งละ 1 รายการเท่านั้น
6.มีข้อจำกัดของรายการสินค้า จากพื้นที่จำกัดและราคาจำหน่ายที่หากสูงกว่า 3 หลักแล้ว ความถี่ในการจำหน่ายจะลดลง ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นจากค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixed Cost)
โอกาส (Opportunities)
1.ด้วยการทำตลาดอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ทำให้เกิดฐานข้อมูลจำนวนมาก (Big Data) ที่สามารถทำไปวิเคราะห์และกำหนดรายการสินค้าพร้อมทั้งปริมาณตามที่ลูกค้าได้อย่างแม่นยำในอนาคต
2.ต้นทุนสินค้าที่จำหน่ายจะลดลงอย่างมาก จากการที่ผู้ผลิตไม้ต้องผลิตแบบมีสินค้าคงคลัง (Stocking) ที่เป็นต้นทุนที่สูงมาก รวมถึงการสูญเสียจากปัจจัยต่างๆลดลง ซึ่งจะส่งผลต่อทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคในทางที่ดี
3.เป็นช่องทางที่สร้างรายได้อย่างมากกับผู้ประกอบการ
4.สามารถใช้เป็นช่องทางในการนำเสนอสินค้าของผู้ประกอบการได้ โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ อาทิเช่น ค่าวางสินค้า ค่าแรกเข้า ค่าสื่อโฆษณาต่างๆ เป็นต้น
5.ผู้บริโภคได้รับความสะดวก ไม่ต้องเดินทางไกลไปซื้อ ตอบโจทย์รูปแบบการใช้ชีวิต (Life Style) ของคนไทยได้มากขึ้น
6.จากการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่ทั้งรวดเร็วปลอดภัยและแม่นยำขึ้น จะทำให้การตอบสนองผู้บริโภคเป็นไปอย่างรวดเร็วและแม่นยำเช่นกัน รวมถึงการแก้ใขปัญหารที่เกิดขึ้นกับกระบวนการทำงานทั้งระบบด้วย
7.สร้างงานให้คนไทยที่เป็นผู้จัดหาสินค้า
ภัยคุกคาม (Threats) ส่วนมากเรื่องนี้จะเป็นไปในมุมของผู้ประกอบการ
1.พัฒนาเทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่ทั้งรวดเร็วปลอดภัยและแม่นยำที่เป็นระบบ 5 G ยังต้องใช้เวลาที่ไม่สามารถกำหนดได้ชัดเจน และพื้นที่ในช่วงแรกอาจจะไม่ครอบคลุมพื้นที่การให้บริการ ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจจะยังคงอยู่ในเรื่องของการตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่ยังช้าอยู่
2.สืบเนื่องจากข้อแรก อาจจะส่งผลต่อระบบการชำระเงินทั้งที่เป็นเงินสดและการชำระผ่านระบบอื่นๆ ที่ยังมีการติดขัดอยู่บ้าง
3.ความเสี่ยงจากการโจรกรรมหรือการกระทำทุจริตของผู้ดูแล ที่ยังอาจจะควบคุมได้ไม่เต็มที่ในช่วงนี้
4.ความเสี่ยงของเครื่องที่ใช้อาจจะใช้ไม่ได้เมื่อระบบการสื่อสารเปลี่ยนระบบไป ส่งผลต่อต้นทุนการดำเนินกิจการได้
5.โอกาสที่ผู้บริโภคจะได้รับสินค้าด้อยคุณภาพยังคงอยู่แม้ว่าจะมีขบวนการการดำเนินการที่ถูกกำหนดไว้แล้วก็ตาม แต่ทางปฏิบัติความผิดพลาดเกิดขึ้นได้เสมอ เพราะการเติมสินค้ายังต้องใช้คนทำอยู่การดูแลลูกค้าก็ยังต้องใช้คนทำอยู่
6.เนื่องจากต้นทุนในการดำเนินการในช่วงแรกจะอยู่ที่ค่าใช้จ่ายกับเครื่องจำหน่ายสินค้า อีกทั้งรายการสินค้ามาจากผู้ประกอบการเป็นผู้กำหนด โอกาสที่ผู้ประกอบการรายย่อยจะถูกกลืนมีสูงมาก
7.คนไทยที่เป็นผู้จัดหาสินค้า (Suppliers) อาจจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นจากการต่อรองของผู้ประกอบการที่มีอำนาจต่อรองการการครองพื้นที่
และนี่ก็คือมุมมองของ “ยุคใหม่การตลาดของไทย” ต่อธุรกิจตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ
หากท่านใดมีข้อแนะนำเพิ่มเติมในมุมที่ “ยุคใหม่ฯ” ตกหล่นไป ท่านสามารถแนะนำมาได้นะครับ ซึ่งต้องขอขอบพระคุณล่วงหน้าเลยกับข้อมูลที่จะมาแลกเปลี่ยนกัน
ข้อมูลมุมมองการตลาดที่ทันสมัยจากประสบการณ์จริง อ่านได้ใน Blockdit ยุคใหม่การตลาดของไทย
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
Instagram: Modernizationmarketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย) ตอนล่าสุด
โฆษณา