15 ต.ค. 2020 เวลา 15:53 • ไลฟ์สไตล์
"..เรื่องฝนเทียมนี้เริ่มตั้งแต่ พศ.2498 แต่ยังไม่ได้ทำอะไรมาก เพราะว่าไป ภาคอีสานตอนนั้นหน้าแล้ง ที่ไปมีเมฆมากแต่มาเงยดู ท้องฟ้ามีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้
ก็เคยได้ยินเรื่องทำฝน ฝนทำได้มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือ ทำได้.."
..
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๙,๑๗ มีนาคม๒๕๒๙
..🌿
กระผมคนภาคอีสาน เราเรียนรู้ถึงความแห้งแล้งดีในสมัยก่อน จนเขาพูดติดปากว่า ไปสุรินทร์กินน้ำตำ ไปบุรีรัมย์ต้องตำน้ำกิน
เป็นอย่างนั้นจริง
..🍂
กรรมวิธีที่ได้ชื่อว่าเป็นการตำน้ำกิน คือ การขุดหลุมดินขนาดย่อมขึ้นก่อน แล้วตักเอาโคลนตมในบ่อ สระ หรือบึง มาใส่หลุมที่ขุดไว้ แล้วย่ำด้วยเท้าจนเป็นเลน
     หรือนำมาใส่ครุไม้ไผ่ยาชัน แล้วตำด้วยไม้ให้โคนเลนมีความหนาแน่นสูงขึ้น ปล่อยทิ้งไว้ให้ตกตะกอน น้ำจากโคลนเลนจะปรากฎเป็นน้ำใสอยู่ข้างบนตักไปใช้บริโภคได้ แก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำอันเป็นปัญหาเฉพาะหน้าให้ลุล่วงไปได้ 
..
มันคือความแร้นแค้นอย่างหนัก สิ่งที่ทำได้คือแห่นางแมว รำบวงสรวง เพื่อเป็นขวัญกำลังใจกันและกัน
..
วันหนึ่งมีเรือบินผ่าน มีฝนตก ความอยู่ดีกินดีเกิดขึ้นในบ้านเราและทั่วอีสาน
..🍂
เพียงแค่การสังเกตของพระผู้ให้สู่การกระทำ
คำพูดติดปากจึงเป็นแค่อดีตที่ครั้งหนึ่งปู่ย่าตายายเราเคยลำบาก ที่อยู่ดีกินดี พลิกดินให้ชุ่มชื้น ทำการเกษตร ก่อร่างสร้างตัวได้ ไฟไม่มีได้ แต่น้ำไม่มีไม่ได้
..🌾
"พ่อจึงเก็บน้ำแม่จึงสร้างป่า" เพื่อลูกหลานไม่อดอยาก เราจึงโชคดีที่เกิดบนแผ่นดินทองที่มีในหลวงผู้ทรงธรรม
..
กระผมหยิบคาลิมบามาเล่นในคืนนี้ วันฝนพรำ เพลงพระราชนิพนธ์ "สายฝน" เพื่อระลึกถึงพระองค์ท่านไปด้วยกันขอรับ
..
ขอบคุณคลิป
สำนักประชาสัมพันธ์เขต๓,กรมประชาสัมพันธ์🍀

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา