16 ต.ค. 2020 เวลา 01:00 • ธุรกิจ
ตอนนี้ยังไม่เรียกวิกฤตอีกหรอ??? “เรากำลังจะเข้าสู่วิกฤตการเงินครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์” โดยเดวิด ฮันเตอร์
นี่พวกเรายังไม่เข้าสู่วิกฤตจริง ๆ หรอครับ ถ้าไม่นับรัฐบาลประเทศต่าง ๆ กับ IMF
แล้ว ผมก็ไม่ค่อยเห็นบทความจากนักวิเคราะห์หรือนักลงทุนระดับโลกคนไหนบอก
ว่าจุดต่ำสุดได้ผ่านไปแล้ว ล่าสุดเป็นบทวิเคราะห์จากนักยุทธศาสตร์มหภาคที่มี
ประสบการณ์ในวอลสตรีทกว่า 47 ปี ได้ออกมาเตือนว่า เรากำลังจะเข้าสู่วิกฤตการ
เงินครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ในอีก 12 เดือนข้างหน้า
โดยเขามองว่าภาระหนี้ต่าง ๆ ที่มันสะสมมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สองกำลัง
จะระเบิดออกและตลาดหุ้นของอเมริกาจะร่วงลงอย่างหนัก
ตรงนี้น่าสนใจครับ เพราะแม้ว่าบรรดานักลงทุนระดับโลกจะทำนายถึงวิกฤตเหมือนกัน แต่พวกเขาพูดถึงผลต่อตลาดหุ้นต่างกัน เรียกง่าย ๆ ว่า “คิดว่าจะล้มเหมือนกัน แต่ทายท่าล้มกันคนละท่า”
บางคนมองว่าเงินแต่ละสกุลเสื่อมค่าและสหรัฐแข็งแกร่งจนทำให้ดัชนีหุ้นสหรัฐสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทว่ามุมมองของเดวิด ฮันเตอร์นั้น เขามองว่าวิกฤตครั้งนี้จะทำให้ราคาหุ้น
สหรัฐร่วงกว่า 80%
แล้วตอนที่หุ้นร่วงในช่วงต้นปีที่โควิดเริ่มระบาดล่ะ? ถ้าไม่เรียกวิกฤตแล้วมันคืออะไร?
ฮันเตอร์อธิบายโดยใช้คำว่า “a fake-out sell-off” หรือ “การขายแบบหลอก ๆ”
ซึ่งเขามองว่ามันเหมือนเป็นการกระพริบของจอเรดาร์เท่านั้น (ยังไม่ดับ) มันแค่เผา
หลอก ส่วนเผาจริงคือในอีก 12 เดือนต่อจากนี้ต่างหาก โดยเขาบอกว่าเหตุการณ์นั้นจะแบบออกเป็น 2 ระยะดังนี้ครับ
ระยะที่ 1 : Melt-Up
ช่วงเวลา : 3 เดือนต่อจากนี้
เป็นระยะที่มีการอัดฉีดสภาพคล่องเขาไปในระบบเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้ดัชนี
หุ้นนั้นพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเขาบอกว่า S&P500 จะพุ่งขึ้นไปถึง 4,500 จุด (ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 3,500 จุด) และ Nasdaq จะพุ่งไปถึง 15,000 จุด (ปัจจุบันอยู่ที่
ประมาณ 11,800 จุด)
1
สาเหตุ : การที่ธนาคารกลางพิมพ์เงินและรัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ทำให้เป็นผลบวกต่อตลาดหุ้น
ระยะที่ 2 : The Unwind
ช่วงเวลา : ปี 2021
เป็นระยะที่จะเกิดสึนามิของการล้มละลายแพร่กระจายไปทั่วโลก บริษัทต่าง ๆ โดย
เฉพาะสถาบันการเงินมากมายจะขาดสภาพคล่องและล้มละลายในที่สุด นั่นทำให้
ดัชนีหุ้นจะร่วงไปกว่า 80% และ Fed จะพยายามอัดฉีดเงินเพื่อเข้าช่วยเหลือจนบัญชีงบดุล (balance sheet) จะบวมไปถึง 20 ล้านล้านดอลลาร์ (ปัจจุบันอยู่ที่ 7ล้านล้านดอลลาร์)
สาเหตุ : การที่มาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ไม่สามารถเข้าถึงบางประเทศ, คนบางกลุ่ม และบริษัทเล็ก ๆ ได้ ทำให้หน่วยพวกนี้ล้มละลาย แล้วมันจะเป็นโดมิโน่ต่อเป็นทอด ๆ ประเด็นสำคัญคือ เมื่อเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น Fed จะพยายามหยุดมันด้วยการอัดฉีด
เงินเข้าไปเพิ่มอีกเรื่อย ๆ โดยหวังว่ามันจะแก้ปัญหาได้จนงบดุลขยายกว่า 3 เท่า
แต่หารู้ไม่ว่า ยิ่ง Fed อัดฉีดเพิ่มมากเท่าไหร่มันก็ยิ่งซ้ำเติมหายนะให้รุนแรงมากขึ้น
ไปอีก
แล้วทางออกอยู่ตรงไหน? จะหลีกเลี่ยงระยะที่ 2 ได้ยังไง? น่าเศร้าครับที่คำตอบของฮันเตอร์นั้นตีความได้ว่า “เรามาไกลเกินกว่าจะแก้ไขมันได้แล้ว” เขามองว่า Fed
กำลังกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะถ้า Fed หยุดพยุงตลาดเมื่อไหร่มันก็พังเมื่อนั้น
แต่ครั้นจะพิมพ์เงินต่อไปก็ยิ่งเป็นการเร่งให้หายนะเกิดขึ้นอีก
โดยเขาพูดซ้ำ ๆ ในการให้สัมภาษณ์ว่า "There's a lot of things you can't
reach with money and a lot of things you can't fix." หรือ “หลายปัญหามัน
แก้ไม่ได้ด้วยเงินและมีหลายอย่างที่คุณแก้ไม่ได้”
ผมคิดว่ามุมมองของเดวิด ฮันเตอร์นี้ก็น่าสนใจ ถ้าให้ผมเปรียบเทียบมันอาจจะดู
ตลกหน่อย แต่ลองคิดตามดูนะครับ สถานการณ์มันเปรียบเหมือนเวลาที่คุณแปรง
ฟัน โดย Fed เป็น "แปรงสีฟัน" ส่วนบริษัทที่เข้าไม่ถึงเงินช่วยเหลือนั้นเหมือนกับ
"เศษอาหาร" ที่ติดอยู่ในซอกฟันที่ลึกมาก ๆ แปรงยังไงก็แปรงไม่ออก
ในระยะแรกการแปรงฟันของคุณจะกำจัดเศษอาหารส่วนใหญ่ได้ แม้ว่าในซอกฟันที่ลึกมาก ๆ จะมีเศษอาหารนี้อยู่แต่มันก็ยังไม่สร้างปัญหา พอในระยะที่สองเศษอาหารเล็ก ๆ นี้เป็นแหล่งเพาะเชื้อแบคทีเรียจนทำให้เหงือกของคุณอักเสบ
สิ่งที่คุณ (Fed) ทำคือพยายามจะแปรงฟันแรงขึ้น แต่ปัญหาก็คือนอกจากจะเศษ
อาหารเจ้ากรรมนี้จะไม่หลุดแล้ว การแปรงฟันแรง ๆ ยิ่งทำให้เหงือกยิ่งอักเสบและมี
เลือดออกอีกด้วย
ปัญหาเศษอาหารติดซอกฟันนี้ยังพอมีทางออกอยู่บ้างคือการไปหาหมอฟันหรือ
ใช้ไหมขัดฟัน ส่วนปัญหาเศรษฐกิจโลกนั้นเดวิด ฮันเตอร์คิดว่าหาทางออกไม่ได้
แต่ผมเชื่อครับว่า เพื่อน ๆ น่าจะมองโลกในแง่ดี ลองคิดกันเล่น ๆ ไหมครับ ว่าถ้าคุณเป็นผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) คุณจะทำอย่างไร หรืออย่างน้อยประเทศไทยจะเอาตัวรอดได้ยังไงบ้าง? จะได้ไม่รู้สึกหดหู่กันเกินไปและได้มองหาโอกาสด้วยครับ
.
แอดปุง
โฆษณา