20 ต.ค. 2020 เวลา 05:21 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สรุปประเด็นน่าสนใจ การประชุมนักวิเคราะห์ วันที่ 14 ตุลาคม ที่ผ่านมา
โดย พื้นฐานการลงทุนหมูน้อยออมเงิน
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2563 มีแนวโน้มหดตัว สาเหตุหลักมาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และ "เปิดรับนักท่องเที่ยวได้อย่างจำกัด"
เมื่อวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมา มีการพบปะพูดถคุยถึงแนวโน้มของเศรษฐกิจไทยระหว่างทางธนาคารแห่งประเทศไทยและนักวิเคราะห์จากสำนักต่างๆ
ซึ่งมีหลากหลายประเด็นที่น่าสนใจ แสดงให้เราได้เห็นถึงปัจจัยเสี่ยงที่รออยู่ในระยะข้างหน้านี้
https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/MonetPolicyComittee/MPR/DocLib/AnalystMeeting_Q32563.pdf
1. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้ามีความไม่แน่นอนสูงโดยสาเหตุหลักมาจากการภาคการท่องเที่ยว
ทาง ธปท. มองว่าสถานการณ์เรื่องการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนั้นมีแนวโน้มที่จะยืดเยื้อ กว่าที่ได้ประเมนิไว้ในคราแรก สาเหตุมีทั้งการแพร่ระบาดรอบสองที่เกิดขึ้นในหลายประเทศและในบางประเทศยังไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้
ดังนั้นจึงคาดการณ์ว่ามาตรการการเปิดรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะเป็นไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป
จุดสำคัญคือประเมินเอาไว้ว่า การเปิดรับนักท่องเที่ยวนั้นจะเป็นไปในวงกว้างมากขึ้น "ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564"
2. เศรษฐกิจไทยต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี ในการฟื้นฟูสู่ระดับก่อนช่วงที่มี COVID-19
https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/MonetPolicyComittee/MPR/DocLib/AnalystMeeting_Q32563.pdf
โดยสาเหตุหลักมาจาก
การประเมินเรื่องการเปิดรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติว่าอาจจะไม่สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพจนกว่าจะมีวัคซีน
และ "ความเสี่ยงเรื่องของการที่เศรษฐกิจโลกจะหดตัวรุนแรงอีกครั้ง" หากเกิดการแพร่ระบาดระดับรุนแรงจนต้องกลับมาใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวด
[ 🐽หมูน้อย's opinion : ซึ่งประเด็นนี้ค่อนข้างสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษในเวลานี้ ล่าสุดทางอังกฤษ โดน Moody Downgrade ไปเรียบร้อยจากปัจจัยเสี่ยงทั้งทางด้านของ Brexit ที่อาจจะเกิดในลักษณะของ No deal รวมถึงการเริ่มกลับมาใช้มาตรการการควบคุมโรคระบาดที่เข้มงวดมากขึ้น ]
หากเราสังเกตกราฟ GDP ทีทาง ธปท ประเมินเอาไว้ สถานการณ์ตั้งแต่ช่วง Q3/2563-Q3/2564 ยังเป็นช่วงที่มีความเปราะบางครับ
3. ภาครัฐกำลังพยายามแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ตรงจุดมากขึ้น
https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/MonetPolicyComittee/MPR/DocLib/AnalystMeeting_Q32563.pdf
หลากหลายมาตรการของ รัฐเริ่มมุ่งเน้นไปที่ผู้ประกอบการรายย่อยมากขึ้นทั้งการเสริมสภาพคล่อง ออกมาตรการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ การรวมหนี้
[ 🐽หมูน้อย's opinion : หนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจคือ จังหวะนี้คือช่วงเวลาที่ผู้ประกอบการรายใหญ่หลายรายสามารถเข้าถึงเงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ ในขณะที่ทางธนาคารพาณิชย์หลายรายมีการคัดเลือกผู้ประกอบการรายย่อยอย่างเข้มงวด ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยรายที่จำเป็นยังไม่สามารถเข้าถึงเงินกู้ได้
เมื่อมองในมุมของธนาคารเราก็สามารถเข้าใจได้ว่า ธนาคารพาณิชย์นั้นก็เป็นธุรกิจที่ต้องการผลกำไรในการประกอบการ หากรับลูกหนี้ที่ประเมินแล้วว่ามีโอกาสที่จะเกิดการผิดนัดชำระหนี้สูงเข้ามาในระบบ ก็อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงเชิงโครงสร้างต่อการประกอบกิจการได้ ]
หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการทลงทุนของทุกท่านครับ
reference

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา