21 ต.ค. 2020 เวลา 04:12 • การตลาด
เมื่อออนไลน์...คือ โลกแห่งการแบ่งปันเรื่องราว
.
.
เราได้เห็นผู้คนมากมายออกมาแบ่งปันเรื่องราวที่พวกเขา “ประสบความสำเร็จ” แต่น้อยคนนักที่จะมาแบ่งปันเรื่องราวที่เขาได้ “ล้มเหลว”
.
ดังนั้นสิ่งที่เราควรจะทำคือ การชั่งน้ำหนักข้อเท็จจริงก่อนตัดสินใจเชื่อและค่อยนำเรื่องราวนั้นมาประยุกต์และหาวิธีที่เหมาะสมกับชีวิตของคุณ
.
.
4 หลุมพรางที่เราต้องเจอบนโลกออนไลน์
.
ทุกวันนี้เราเชื่อว่าโลกออนไลน์เป็นพื้นที่สำหรับการแบ่งปันเรื่องราว ความรู้ และประสบการณ์ สำหรับใครหลายคนกันอยู่แล้ว
.
แต่สิ่งที่เราได้รับรู้กันอยู่ทุกวันนี้ เรามั่นใจแค่ไหนว่าสิ่งนั้นเป็นเรื่องราวที่ถูกต้องและเราสามารถทำตามแล้วจะได้ผลลัพธ์แบบนั้น 100%
.
.
เวลาที่เราได้อ่านบทความหรือรีวิวบนโลกออนไลน์แล้วเรารู้สึกว่าเห็นด้วยกับสิ่งนั้น ถ้าเราลองมาคิดดีๆ สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องจริงๆ หรือเรากำลังเกิด “ความลำเอียงทางความคิด” อยู่กันแน่ เพราะเชื่อได้ว่าเรื่องราวที่ถูกแชร์บนโลกออนไลน์ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นจากความเท่าเทียมของมนุษย์ทุกคนแน่นอน
.
.
Medium ได้พูดถึง 4 ความลำเอียงทางความคิดที่เราต้องรู้เมื่อเราอ่านคำแนะนำบนโลกออนไลน์เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดๆ เวลาที่เรารับรู้เรื่องราวบนโซเชียล
.
.
1. Survivor Bias: อคติของผู้รอดชีวิต
.
ความลำเอียงแรก คือ ความลำเอียงของผู้ที่ประสบความสำเร็จแล้ว และได้เอามาแบ่งปันลงบนโลกออนไลน์ ที่เห็นได้เยอะที่สุด คือ โปรแกรมลดน้ำหนัก ที่มีหลายคนได้แชร์ประสบการณ์ความสำเร็จของตัวเองในการลดน้ำหนัก ไม่ว่าจะเป็นการลดด้วยเองหรือด้วยผลิตภัณฑ์เสริม ซึ่งเรามักจะได้เห็นบ่อยๆ จากการแชร์ต่อกันจำนวนมาก
.
แต่สิ่งที่เราไม่เห็น คือ มีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่ได้เริ่มทำการลดน้ำหนัก แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งถ้าต้องการให้เห็นผลเปรียบเทียบจริงๆ ควรจะทำการทดลองอย่างเช่น กำหนดคนทดลอง 100 คน และเปรียบเทียบรูปก่อนและหลังการลดน้ำหนักด้วยวิธีเดียวกัน สิ่งนี้จะเป็นตัวการันตีประสิทธิภาพของโปรแกรมลดน้ำหนักได้จริง
.
ในแง่ของเรื่องการลงทุน ถ้ามีคนแชร์ประสบการณ์การลงทุนในทองหรือหุ้นมากจำนวนหนึ่ง เราจะเริ่มเกิดความสนใจในการลงทุนขึ้นนั้นขึ้นมา แต่ในทางกลับกัน คนที่ขาดทุนกับการลงทุนจะรู้สึกอับอายและไม่นำมาแบ่งปันเรื่องราวของตัวเอง ทำให้ผู้ที่อ่านได้รับรู้ข้อมูลแค่ฝั่งเดียว ผลที่ตามมาคือ เราอาจจะประเมินความเสี่ยงการลงทุนของตนเองต่ำไป
.
นี่คือความลำเอียงอย่างหนึ่งของการเข้าข้างตนเองมากเกินไปและนำมาแชร์ลงออนไลน์ ส่งผลให้เราได้เห็นด้านที่สำเร็จ แต่ไม่เห็นด้านความล้มเหลว และไม่ใช่สิ่งที่ผู้เขียนสมควรนำมาเขียนเพียงเพื่อตอบสนองความสำเร็จของตนเองแค่นั้น
.
.
2. Illusory Superiority : ความเหนือกว่าเทียม
.
คงไม่ใช่เรื่องผิดถ้าเราจะเป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองแต่ถ้ามันมากเกินไปจนเป็นความเข้าใจผิดล่ะ ?
.
มีงานวิจัยที่ Stanford University ถามนักศึกษาว่า เมื่อเปรียบเทียบคุณกับเพื่อนในระดับเดียวกัน คุณคิดว่าคุณอยู่ระดับประมาณที่เท่าไหร่? ผลออกมาคือมีนักศึกษาถึง 87% คิดว่าตนเองอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย
.
มีการแบ่งระดับคนออกเป็น 4 ขั้นของการรับรู้ความสามารถของตนเองทางจิตวิทยา
.
- Unconscious incompetence: คนที่ไม่เก่ง แต่ไม่รู้ว่าตนเองไม่เก่ง
- Conscious incompetence: คนที่ไม่เก่ง แต่รู้ว่าตนเองไม่เก่ง
- Conscious competence: คนที่รู้ว่าตนเองเก่งเรื่องอะไรและโฟกัสเรื่องนั้น
- Unconscious competence: คนที่เก่งแต่ไม่รู้ว่าตนเองเก่งเรื่องอะไร
.
เมื่อคนที่อยู่ในกลุ่ม Unconscious incompetence นำมาเขียนลงออนไลน์อาจจะสื่อข้อมูลที่ผิดพลาดต่อคนที่ได้อ่าน เพราะฉะนั้นเมื่อได้อ่านข้อมูลบางอย่างให้ลองคำนึงถึงระดับความสามารถในการรับรู้ของผู้เขียนด้วย ดูว่าสิ่งที่ผู้เขียนได้นำมานำเสนอมีหลักฐานอ้างอิงหรือไม่?
.
3. Hindsight Bias: อคติจากการเข้าใจปัญหาหลังจากผ่านเหตุการณ์แล้ว
.
Hindsight Bias เป็นอคติที่ทำให้เราเชื่อว่าเราสามารถคาดการณ์สถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้จริง เมื่อผ่านเหตุการณ์นั้นมาแล้ว ยกตัวอย่างเช่น คนที่ปิดตาข้ามถนน พวกเขาจะมีความกังวลตอนที่เริ่มเดินและเมื่อเดินผ่านมาได้ เขาจะรู้สึกว่าโอกาสที่ไม่โดนรถชนมีสูง เขาจึงบอกคนอื่นให้ทำตามเช่นเดียวกัน ทั้งที่จริงแล้วคือเรื่องของโชคมากกว่า หรือถ้าจะพูดง่ายๆ คือ Hindsight Bias เป็นการเพิ่มโอกาสความน่าจะเป็นของเหตุการณ์บางอย่างนั่นเอง
.
จะพบได้ในโลกออนไลน์ที่มีผู้คนมาแบ่งปันเรื่องราวอย่างเช่น คนที่ลาออกจากงานมาเปิดร้านกาแฟแล้วประสบความสำเร็จ คนนั้นก็สามารถพูดว่าเป็นความคิดที่ดีแต่ถ้าคนนั้นไม่สบความสำเร็จเขาจะบอกกับตัวเองว่าไม่ควรเลือกทางนี้
.
เพราะฉะนั้นเมื่อได้เห็นการแบ่งปันของคนที่ประสบความสำเร็จ ให้คิดเสมอว่านั่นคือสถานการณ์ที่เขามองย้อนกลับไปในชีวิตของเขาเองไม่ใช่ของคุณ คุณควรชั่งน้ำหนักการรับรู้ข้อมูลเหล่านี้และเลือกทางเดินชีวิตที่เหมาะกับตัวคุณเอง
.
.
4. Naive Realism: สัจนิยมสามัญ
.
ข้อนี้เป็นสิ่งที่อันตรายที่สุดเพราะว่า Naive Realism เป็นสิ่งที่คิดว่ามุมมองของตัวเรานั้นเป็นข้อเท็จจริงทั้งหมดความคิดที่แตกต่างออกไปนั้นผิดหมด เรามักจะพบเห็นได้ในเรื่องของความคิดเห็นทางการเมือง แล้วถ้าเรายังไม่ปรับตัวจาก Naive Realism นานเข้าเราจะกลายเป็นคนที่ไม่รับฟังความคิดเห็นของคนอื่นเลย
.
.
ทั้ง 4 ข้อที่ได้กล่าวมานี้จะเป็นตัวช่วยให้เราชั่งน้ำหนักการรับรู้ข้อมูลในโลกออนไลน์มากขึ้นและทำให้เราประเมินตนเองก่อนที่จะแบ่งปันเรื่องราวของตนเองได้มากขึ้น
.
.
และเราเชื่อว่าทุกคนมีทางเลือกที่เหมาะสมกับชีวิตตัวเอง
ได้โดยไม่จำเป็นที่จะต้องทำตามชีวิตใคร….
.
.
อ้างอิง: https://bit.ly/2T2xsbc
2
เมื่อออนไลน์...คือ โลกแห่งการแบ่งปันเรื่องราว
โฆษณา