25 ต.ค. 2020 เวลา 06:11 • ความคิดเห็น
พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี...
อาการประชวรของพระองค์ในช่วงเริ่มต้นในปี 2558
วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 สำนักพระราชวังแจ้งว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 
จะเสด็จพระราชดำเนินมาประทับ ณ ชั้น 16 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ตามคำกราบบังคมทูลเชิญเพื่อมาตรวจพระวรกายของคณะแพทย์
ผลการตรวจพบว่าพระโลหิต อุณหภูมิพระวรกาย ความดันพระโลหิตพระหทัย และระบบการหายพระทัยเป็นปกติครับ
ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์ประชวร ว่ามีพระปรอทต่ำ หายพระทัยเร็ว มีพระเสมหะ 
พระปับผาสะซ้ายอักเสบ มีพระโลหิตเป็นกรด และพบว่ามีน้ำคั่งในช่องเยื่อหุ้มพระปัปผาสะเล็กน้อย
ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559 มีความดันพระโลหิตลดต่ำลง คณะแพทย์จึงรักษาด้วยพระโอสถปฏิชีวนะ และใช้สายสวนเข้าหลอดพระโลหิตดำ
เพื่อฟอกพระโลหิตระยะยาว แต่มีพระความดันพระโลหิตต่ำจึงใช้เครื่องช่วยหายพระทัย และมีการฟอกไต พระอาการไม่คงที่ 
ก่อนที่พระอาการจะเริ่มทรุดลงเรื่อย ๆ ทรงมีการติดเชื้อและการทำงานของพระยกนะ (ตับ) ผิดปกติ และมีแถลงการณ์สำนักพระราชวัง ฉบับที่ 38 ความว่า...
วันนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รายงานว่า เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ความดันพระโลหิตลดต่ำลงอีก
พระชีพจรเร็วขึ้น ร่วมกับภาวะพระโลหิตมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้นอีก ผลของการถวายตรวจพระโลหิตบ่งชี้ว่า มีภาวะการติดเชื้อและการทำงานของพระยกนะ (ตับ) ผิดปรกติ
คณะแพทย์ฯ ได้ถวายพระโอสถปฏิชีวนะและแก้ไขภาวะพระโลหิตมีความเป็นกรด ตลอดจนถวายพระโอสถควบคุมความดันพระโลหิตเพิ่มขึ้น
พร้อมทั้งถวายเครื่องช่วยหายพระทัย (Ventilator) และถวายการรักษาด้วยวิธีทดแทนไต (CRRT) พระอาการประชวรโดยรวมยังไม่คงที่
ต้องควบคุมด้วยพระโอสถ คณะแพทย์ฯ ได้เฝ้าติดตามพระอาการและถวายการรักษาอย่างใกล้ชิด
วันที่ 12 ตุลาคม พระราชโอรส-ธิดาทั้งสี่พระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ และพระเจ้าหลานเธออีกสองพระองค์เข้าเยี่ยมพระอาการประชวร 
โดยนับตั้งแต่สำนักพระราชวังได้แถลงการณ์พระอาการประชวร ฉบับที่ 37 ประชาชนจำนวนมากได้เดินทางมายังโรงพยาบาลศิริราชเพื่อถวายพระพรให้ทรงหายจากพระอาการประชวร
กิจกรรมสำคัญคือการสวดบทโพชฌังคปริตร ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นบทสวดมนต์ปัดเป่าโรคร้าย 
พร้อมทั้งมีการเชิญชวนประชาชนสวมเสื้อสีชมพูซึ่งเป็นสีเสริมดวงพระราชสมภพและมีการร่วมกันถวายพระพรทั่วทั้งสื่อสังคม
วันที่ 13 ตุลาคม พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์เสด็จฯ มายังโรงพยาบาลศิริราชครับ
รางวัลที่พระองค์ได้รับยกย่องต่างๆมีดังนี้...
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลและเกียรติยศต่างๆ มากมาย ทั้งจากบุคคลและคณะบุคคลในประเทศและต่างประเทศ
อันเนื่องมาจากพระราชกรณียกิจและพระราชอัธยาศัยในการแสวงหาความรู้ ที่สำคัญเป็นต้นว่า
ประธานรัฐสภายุโรปและสมาชิกร่วมกันทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญรัฐสภายุโรป" (19 กรกฎาคม พ.ศ. 2519)
ประธานคณะกรรมาธิการเพื่อสันติภาพของสมาคมอธิการบดีระหว่างประเทศ ทูลเกล้าฯ ถวาย "รางวัลสันติภาพ" (9 กันยายน พ.ศ. 2529)
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญทองเฉลิมพระเกียรติคุณในการนำชนบทให้พัฒนา" (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2530)
ผู้อำนวยการใหญ่โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญทองประกาศพระเกียรติคุณด้านสิ่งแวดล้อม" (4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535)
ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญทองสาธารณสุขเพื่อมวลชน" (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535)
คณะกรรมการสมาคมนิเวศวิทยาเชิงเคมีสากล (International Society of Chemical Ecology) ทูลเกล้าฯ ถวาย
"เหรียญรางวัลเทิดพระเกียรติในการสงวนรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ" (26 มกราคม พ.ศ. 2536)
หัวหน้าสาขาเกษตร ฝ่ายวิชาการภูมิภาคเอเชียของธนาคารโลก ทูลเกล้าฯ ถวาย...
"รางวัลหญ้าแฝกชุบสำริด" สดุดีพระเกียรติคุณในฐานะที่ทรงเป็นนักอนุรักษ์ดินและน้ำ (30 ตุลาคม พ.ศ. 2536)
ผู้อำนวยการบริหารของยูเอ็นดีซีพี (UNDCP) แห่งสหประชาชาติ ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญทองคำสดุดีพระเกียรติคุณด้านการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด" (12 ธันวาคม พ.ศ. 2537)
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ทูลเกล้าฯ ถวาย "เหรียญสดุดีพระเกียรติคุณในด้านการพัฒนาการเกษตร" (6 ธันวาคม พ.ศ. 2539)
สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ทูลเกล้าฯ ถวาย "รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์"
จากการที่ได้ทรงอุทิศกำลังพระวรกายและทรงพระวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจมาตลอดพระชนม์ชีพ (26 พฤษภาคม พ.ศ. 2549)
ในปี พ.ศ. 2550 องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization) แถลงข่าวการทูลเกล้าฯ ถวาย...
"เหรียญรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา"
(Global Leaders Award)
โดยนายฟรานซิส เกอร์รี่ ผู้อำนวยการใหญ่เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ณ พระราชวังไกลกังวล ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552
เพื่อเทิดพระเกียรติที่ทรงมีบทบาทและผลงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่โดดเด่น
และพระองค์ทรงเป็นผู้นำโลกคนแรกที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญรางวัลดังกล่าว
วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555 สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (International Union of Soil Sciences-IUSS)
นำโดยอดีตเลขาธิการสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม (The Humanitarian Soil Scientist) เป็นพระองค์แรกของโลก
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นผู้ที่ได้รับมอบถวายปริญญากิตติมศักดิ์มากเป็นสถิติโลกถึง 176 ฉบับ
ใน พ.ศ. 2555 โดยทรงได้รับมอบถวายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ครับ
ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามเรามาโดยตลอดครับ
ที่มา : wikipedia.com และ youtube.com
โฆษณา