27 ต.ค. 2020 เวลา 03:16 • ข่าว
อัพเดตสิทธิ์ลดหย่อนภาษี 2563 เพื่อยื่นภาษี 2564 มีอะไรบ้าง
เหลือเวลาอีก 2 เดือนก็จะหมดสิ้นปีนี้ และนั่นหมายถึง โอกาสที่จะใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีสำหรับบรรดามนุษย์เงินเดือนและผู้มีรายได้ที่จะหาตัวช่วยเพื่อช่วยประหยัดภาษีได้บ้าง สำหรับ"สิทธิ์ลดหย่อนภาษีปี 2563 " เพื่อยื่นภาษีปี 2564 จะแตกต่างจากปีก่อน ๆอย่างไร เรามาอัพเดตดูกันว่ามีอะไรบ้างที่ได้สิทธิ์ลดหย่อน
ปี 2563 ประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ ต้องเผชิญกับวิกฤติโรคระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 มาตั้งแต่ต้นปี ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจไทยและการจ้างงาน ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง และส่งผลไปถึง "สิทธิ์ค่าลดหย่อนในปี 2563 " มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยในหลายรายการ
อาทิ เงินสมทบประกันสังคม จากเดิมที่เคยสมทบสูงสุดไม่เกิน 9,000 บาทต่อปี แต่ในปีภาษี 2563 นำมาลดหย่อนสูงสุดที่ 5,850 บาท เนื่องจากมีการปรับลดอัตราการนำส่งถึง 2 รอบ คือในช่วงเดือน มี.ค. - พ.ค. หัก 1% และเดือน ก.ย. - พ.ย. หัก 2% เพื่อลดภาระผู้ประกันตนในช่วงโควิด-19
กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ SSFX ที่รัฐให้ลดหย่อนเพิ่มสูงสุด 200,000 บาท สำหรับผู้ซื้อหน่วยลงทุน SSFX ในช่วง 1 เม.ย. - 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ล่าสุด "ช้อปดีมีคืน" ให้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีสูงสุดที่ 30,000 บาท
อัพเดตสิทธิ์ลดหย่อนภาษีปี 2563 เพื่อยื่นภาษีปี 2464
- กลุ่มค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
 
 
1.ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
2. คู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้ที่ยื่นแสดงรายการรวมกันในการคำนวณภาษี 60,000 บาท
3.ค่าคลอดบุตรตามจ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท
4. ค่าลดหย่อนบุตร ( เรียนอยู่และอายุไม่เกิน 25 ปี ) 30,000 บาท
บุตร (คนที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดในหรือหลังปี 2561 ) คนละ 60,000 บาท
5. ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา อายุ 60 ปีขึ้น ( ต่อคน ) 30,000 บาท
6. อุปการะผู้พิการ/ ทุพพลภาพ 60,000 บาท
- กลุ่มค่าลดหย่อนประกันและการลงทุน
7.เงินสมทบประกันสังคมสูงสุดไม่เกิน 5,850 บาท
8. ประกันชีวิต / ประกันสุขภาพ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
9. เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท
* ( ข้อ 8 บวก 9 รวมแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท )
10. เบี้ยประกันสุขภาพพ่อ-แม่ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
11. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญลดหย่อนได้15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
12. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
13.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท
14. กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน ลดหย่อนได้15% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
( ข้อ 12 - 14 ตามที่จ่ายสูงสุดรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท)
15.กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) 13,200 บาท
16.กองทุนรวมเพื่อการออม ( SSF) ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท
17.ซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ( RMF) 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
18. ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ ( SSFX ) 200,000 บาท
( ข้อ 11 - 17 รวมกันสูงสุดต้องไม่เกิน 500,000 บาท )
- กลุ่มค่าลดหย่อน "อสังหาริมทรัพย์"
19.ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน100,000 บาท
20.โครงการบ้านหลังแรกปี 59 สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท
- กลุ่มค่าลดหย่อน"บริจาค"
21.พรรคการเมือง ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
22.มูลนิธิและองค์กรสาธารณะกุศล ตามจริง ไม่เกิน10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
23. การศึกษา/กีฬา/ โรงพยาบาลรัฐ/สังคมต่างๆ หักลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้ หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
- กลุ่มค่าลดหย่อน กระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ ฯ
24. ช้อปดีมีคืน 30,000 บาท
25. ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต (ธุรกิจที่มีเครื่องรูดบัตร ECD ) หักค่าลดหย่อนได้เพิ่ม 1 เท่าของที่จ่ายตามจริง
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
รายได้สุทธิต่อปี (บาท) อัตราภาษี
ไม่เกิน 150,000 ได้รับการยกเว้นภาษี
150,001 - 300,000 5%
300,001-500,000 10%
500,001-750,000 15%
750,001-1,000,000 20%
1,000,001-2,000,000 บาท 25%
2,000,001-5,000,000 บาท 30%
5,000,001 บาทขึ้นไป 35%
โดย : สุวิภา บุษยบัณฑูร
โฆษณา