Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องราวเกี่ยวกับจีน ที่ไม่เคยรู้
•
ติดตาม
2 พ.ย. 2020 เวลา 02:09 • การเมือง
เบื้องหลังการชุมนุมประท้วงในสาธารณรัฐประชาชนจีน(การต่อสู้ แย่งอำนาจภายในพรรคคอมมิวนิสต์)
1
ภาพประกอบจากGetty image
การชุมนุมประท้วงของประชาชนมันเปรียบเสมือนการส่งสัญญาณแจ้งเตือนถึงการบริหารประเทศของรัฐบาลในประเทศนั้น
1
อย่างเช่น กรณีการชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินดูก็เป็นเช่นนั้น แต่มีเรื่องราวอีกมุมหนึ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่ทราบและเป็นเรื่องที่ห้ามพูดถึงในประเทศจีน
1
ในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1989 จบด้วยการที่รัฐบาลจีนใช้กำลังทหารเต็มรูปแบบในการสลายการชุมนุมและไม่มีตอบรับการเรียกร้องใดๆจากกลุ่มชุมนุม
ผู้นำของประเทศจีนในช่วงนั้นคือเติ้งเสียวผิง คนที่รับได้การกล่าวขานว่าเป็นคนปฏิรูปเศรษฐกิจและระบบกฎเกณฑ์หลายอย่างจากระบอบคอมมิวนิสต์สังคมนิยมไปเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ทุนนิยม
ในเวลานั้นเติ้งเสียวผิง ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นเหมือนคนวางนโยบายทิศทางการปฏิรูปแต่ส่วนคนที่ทำหน้าที่วางแผนปฏิรูปและลงมือทำอย่างจริงจังคือ胡耀邦หูเหย่าปั่ง เลขาธิการพรรคและ 趙紫陽 จ้าวจื่อหยาง รองเลขาธิการ
หูเหย่าปังและจ้าวจื่อหยาง สองผู้บริหารประเทศที่ให้เสรีภาพกับประชาชนจีนมากที่สุด
จึงไม่แปลกที่ประชาชนรู้สึกดีและให้ความเคารพนับถือ ข้าราชการระดับสูงสองท่านนี้มาก
ในช่วงเวลานั้นประเทศที่เป็นสังคมนิยมในยุโรปเริ่มมีปัญหาภายในที่เกิดระบอบการปกครองที่รัฐควบคุมทุกอย่างมากเกินไป
หูเหย่าปั่งแลเห็นปัญหานี้จึงพยายามเสนอการปฏิรูปการปกครองโดยผ่านเติ้งเสียวผิง
นำไปปรึษากับเหล่าผู้อาวุโสภายในพรรคคอมมิวนิสต์และ
ผลงานที่เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนของแผนปฏิรูปการปกครองคือ มีการกำหนด
ดำรงตำแหน่งผู้นำ ให้ดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี ได้ไม่เกิน2วาระ
แต่แล้วความเจริญทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วไร้การควบคุมที่มีแบบแผนทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อรุนแรง ค่าแรงในแต่ละวันไม่สามารถซื้อข้าวมื้อหนึ่ง และความเหลื่อมลํ้าของประชาชนทั่วไปกับข้าราชการ ที่สำคัญคือเรื่องการคอรัปชั่นที่พบได้ทุกหนแห่งเป็นชนวนและเหตุผลสำคัญทำให้เกิดการประท้วงของนิสิต นักศึกษาตามหัวเมืองใหญ่ ในปลายปีค.ศ.1986 และต้น
ปีค.ศ.1987
1
ด้วยความที่การเปิดเสรีแบบทุนนิยมตามชาติตะวันตก
ทำให้เศรษฐกิจเจริญอย่างรวดเร็ว
ผลพลอยที่ตามมานั้น คือการมีอิสระเสรีภาพในทางความคิดของประชาชน ช่วงเวลานั้นประมาณปีค.ศ.1980-1989 นับว่าเป็นช่วงเวลาที่มีอิสระภาพ มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน
และจุดนี้เองถือว่าเป็นบทเรียนสำคัญกับพรรคคอมมิวนิสต์ในการปฏิรูปเศรษฐกิจ เพราะหลังจากเหตุการณ์ที่จัตุรัสเทียนอัน
เหมิน รัฐบาลจีนให้ความสำคัญกับเรื่องควบคุมข่าวสารและโฆษณาชวนเชื่อเป็นอย่างมาก
ตั้งแต่ฉีจิ้นผิงได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำสาธารณรัฐประชาชนจีนในปีค.ศ.2012 การตีพิมพ์หนังสือต้องห้ามของจีนในฮ่องกงมีมากขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือเรื่องราวการทำงานของจ้าวจื่อหยางในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งรองเลขาและเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน
หนังสือชื่อบันทึกจ้าวจื่อหยาง 趙紫陽文集 มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตการทำงานของจ้าวจื่อหยางโดยเฉพาะความคิดเห็นต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนในช่วงเวลาที่ถูกกักบริเวณ หนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งในหนังสือที่รัฐบาลจีนต้องห้ามและทำให้เกิดเหตุการณ์
Causeway bay books disappearances เจ้าของร้านหนังสือ causeway ถูกรัฐบาลจีนอุ้มตัวหายไปนาน 400 วัน และเป็นชนวนที่สำคัญ ที่ทำให้เกิดการประท้วงในฮ่องกง
บันทึกจ้าวจื่อหยางเป็นหนังสือต้องห้ามของรัฐบาลจีน
เปาทง鮑彤 เลขาส่วนตัวของ
จ้าวจื่อหยางได้อ้างอิงถึงข้อมูลบางส่วนในหนังสือเล่มนี้ ที่พูดถึงการต่อสู้แก่งแย่งชิงอำนาจภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ระหว่างการสนทนากับหลี่หนันหยาง李南央ลูกสาวของ李銳 หลี่เหล่ย เลขาส่วนตัวของ
เหมาเจ๋อตุง ซึ่งบทสนทนานี้
ได้มีการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์
New York time ในวันที่
5 พฤษภาคม ค.ศ.2018
บทความบางส่วนมีเนื้อหาใจความดังนี้
คนที่ยืนอยู่คือเปาทง และผู้หญิงคนขวาสุดคือหลีหนันหยาง ในการสนทนาเรื่องเหตุการณ์เทียนอันเหมินแท้จริงแล้วคือการรัฐประหารจ้าวจื่อหยาง. ภาพจากหนังสือพิมพ์New York time
เปาทง เล่าถึงเหตุการณ์เบื้องหลังการสลายกลุ่มชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินว่าแท้จริงแล้วเป็นมากกว่าความขัดแย้งของรัฐบาลจีนกับประชาชน
เปาทง : คนส่วนใหญ่ 99%คิดว่าเติ้งเสียวผิงใช้กำลังทหารสลายการชุมนุมของนิสิต นักศึกษาเพื่อปกป้องพรรคคอมมิวนิสต์จีน
หลี่หนันหยาง : ถ้าไม่ใช่เหตุผลนี้ มันจะเป็นอย่างอื่นหรอ?
เปาทง : เติ้งเสียวผิงทำเพื่อปกป้องตัวเอง เค้าเห็นงานศพของหูเหย่าปัง มีประชาชนมากมายไปแสดงความเสียใจ มันเหมือนกับทำให้เติ้งหมดความสำคัญไปทีเดียว
2
หลี่หนันหยาง : อย่างนี้มันไม่ต่างกับเหมาเจ๋อตุงที่ใช้การปฏิวัติวัฒนธรรมมาจัดการหลิวเส้าฉี 劉少奇(ประธานาธิบดีในสมัยที่เหมาเจ๋อตุงเป็นผู้นำของจีน)
9
เปาทง : เติ้งเค้ากลัวจ้าวจื่อหยางจะทำแบบนิกิต้า ครุสชอฟที่ขุดขุ้ยเบื้องหลังวีรกรรมต่างๆของ
สตาลิน ที่ทำไว้ช่วงมีชีวิต จึงวางแผนจัดการ จ้าวจื่อหยาง เติ้งซึ่งวางแผนไว้ตั้งแต่เดือนเมษายนแล้ว
หลี่หนันหยาง : แล้วทำไมจึงปล่อยให้ถึงเดือนมิถุนายน
เปาทง : เพราะเติ้งวางแผนเรียกความชอบธรรมในการที่เปลี่ยนตัวผู้บริหารคนสำคัญอย่างจ้าวจื่อหยาง ไม่งั้นจะมีเสียงครหาจากคนในพรรคได้ โดยเริ่มจากส่ง
จ้าวจื่อหยาง ไปเยือนเกาหลีเหนือวันที่ 23 เมษายน ซึ่งก่อนวันหนึ่งจ้าวจื่อหยางได้ประชุมกับผู้บริหารพรรคหาทางแก้ปัญหาของประเทศ และเติ้งเองก็เห็นชอบทั้งสามข้อสรุปจากประชุมเพื่อที่จะให้จ้าวจื่อหยาง ไปเยือนเกาหลีเหนืออย่างไม่มีกังวล
ข้อสรุปการแก้ปัญหามีดังนี้
3
วันที่ 22เมษายน ค.ศ.1989 ประชาชนเข้าร่วมงานพิธีศพของหูเหย่าปัง ที่จตุรัสเทียนอันเหมิน ภาพจากGetty images
1. หลังจากจบงานพิธีศพของ
หูเหย่าปัง จ้าวจื่อหยางจะขอให้นิสิต นักศึกษากลับเข้าโรงเรียน
2. จะไม่มีการใช้กำลัง นอกจากเกิดมีเหตุการณ์ปะทะกันรุนแรง
3. ข้อเสนอที่นักศึกษาชุมนุมประท้วงเป็นเรื่องที่รัฐบาลที่ปรับปรุงแก้ไขทั้งเรื่องปราบคอร์รัปชั่น,เสรีภาพในการแสดงออก
หลังจากจ้าวจื่อหยาง ออกเดินทางไปเปียหยาง ประเทศเกาหลีเหนือโดยรถไฟในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ.1989 เติ้งเสียวผิงได้เรียก
หลีเผิง李鵬 ไปหาเพื่อจัดตั้งหน่วยสลายการชุมนุม แล้วให้หลีเผิงแจ้งกับผู้บริหารพรรคว่าพวกนักศึกษาที่ชุนนุมเริ่มก่อความวุ่นวาย
ซึ่งเวลานั้นเริ่มมีนักศึกษาบางส่วนกลับไปโรงเรียนแล้ว แต่ด้วยความที่เติ้งต้องการจะสร้างสถานการณ์จึงให้ หลีเผิงบอกให้ทางการปักกิ่งออกข่าว กล่าวหา
กลุ่มนักศึกษาที่ชุมนุมว่าเป็นต้นเหตุทำให้เกิดความวุ่นวายเป็นเหมือนการจุดไฟทำให้ประท้วงขึ้นอีกครั้ง
หลี่หนันหยาง : วิธีการคล้ายกับสมัยเหมาเจ๋อตุงที่จัดการคนสนิทอย่างหลิวเส้าฉี劉少奇.
เปาทง : มาถึงตอนนี้เติ้งก็เอาเรื่องความปลอดภัยและความมั่นคงของพรรคคอมมิวนิสต์เป็นเหตุผลที่จะถอดจ้าวจื่อหยางออกจากตำแหน่ง ในวันที่ 14 พฤษาคม
เติ้งได้เปิดประชุมผู้บริหารพรรคและได้มีข้อสรุปให้ออกกฏอัยการศึกเพื่อที่จะจัดการปัญหากลุ่มชุมนุมประท้วง เติ้งรู้อยู่แล้วว่า
จ้าวจื่อหยาง ต้องไม่เห็นด้วย
จึงทำให้จ้าวจื่อหยาง ตัดสินใจ
ลาออกจากตำแหน่งเอง
วันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ.1989 จ้าวจื่อหยางได้เจรจาขอให้กลุ่มนักศึกษายกเลิกการอดอาหารประท้วง ซึ่งครั้งสุดท้ายที่ตัวเค้าปรากฎตัวในที่สาธารณะภาพจากGetty image
หลีหนันหยาง : ถ้ากลุ่มนักศึกษาชุมนุมประท้วงรู้ว่าการเสียสละ
เพื่อจะเปลี่ยนแปลงประเทศของพวกเค้าเองเป็นแค่หมากตัวหนึ่งของเติ้ง คงน่าจะเสียใจและผิดหวังอย่างมากกับสิ่งที่ทำลงไป
เปาทง :นั้นนะซิ จ้าวจื่อหยางไม่ผิดที่ปล่อยให้ประชาชนมาร่วมงานพิธีศพของหูเหย่าปัง ผู้บริหารประเทศที่พวกเค้านับถือ ประชาชนก็ไม่ผิดที่เสนอข้อเรียกร้องสิทธิ์ต้องการจะทำให้ประเทศดีขึ้น คนที่ผิดคือเติ้งเสียวผิงที่ต้องการรักษาผลประโยชน์และ
จะเอาตัวเองให้รอดเท่านั้น
วันนี้ ท่านลงจากตำแหน่ง
พรุ่งนี้ ฉันขึ้นรับตำแหน่ง
วันนี้โดนเล่นงานหลุดจากตำแหน่ง
พรุ่งนี้ร่วมมือกันเพื่อแย่งตำแหน่ง
นี่แหละความเป็นจริงการเมืองของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่คนนอกไม่ค่อยเข้าใจ คือเนื้อหาสุดท้ายที่เหล่าผู้อาวุโสพูดคุยกันในวันนั้น
หลังจากเหตุการณ์สลายผู้ชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน
จ้าวจื่อหยางถูกกันบริเวณจน
เสียชีวิตในปีค.ศ.2005
คนที่ขึ้นรับตำแหน่งเลขาพรรคต่อจากจ้าวจื่อหยางคือ เจียงเจ๋อหมิง ซึ่งช่วงแรกที่รับตำแหน่ง เจียงไม่กล้าอะไรเลย เพราะไม่ทราบเบื้องหลังเหตุการณ์จัตุรัสเทียนอันเหมิน
รู้แต่ว่า เติ้งเปลี่ยนทายาทที่จะดำรงตำแหน่งแทนถึงสองคนภายในเวลาไม่กี่เดือน จึงระวังเป็นพิเศษ
จนกระทั่งปีค.ศ.1992 เติ้งเสียวผิงเดินทางไปเยือนเมืองทางใต้ 南巡計畫ตามแผนสร้างเมืองเศรษฐกิจพิเศษที่มีเซียะเหมิน,ซัวเถา,
เซินเจิ่นและจูไห่ เติ้งได้กล่าวว่า
ถ้าใครไม่ปฏิรูป ก็ควรลงจากตำแหน่ง
1
การเยือนเมืองทางใต้ของเติ้งเสียวผิง ในปีค.ศ.1992 เป็นการเริ่มต้นใหม่สำหรับการปฏิรูปเศรษฐกิจและมีการเติบโตอย่างมากตั้งแต่นั้นมาก
จากนั้นเป็นจุดเริ่มต้นความเจริญของเศรษฐกิจจีน และการสร้างอำนาจ และอาณาจักร
การคอรัปชั่นของเจียงเจ๋อหมิง
อำนาจและอาณาจักรของเจียงเจ๋อหมิงนี่แหละ ที่เป็นฉนวนสำคัญที่ทำให้ฉีจิ้นผิง ต้องยกเลิกหนึ่งประเทศสองระบบของเติ้งเสียวผิงที่ให้ไว้กับประชาชนฮ่องกงหลังจากการคืนเกาะฮ่องกง
กลับสู่รัฐบาลจีนในปี ค.ศ. 1997 และคำสัญญาของเติ้งที่บอกไว้ว่า 50 ปี ระบบนี้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงก็เป็นเหมือน
คำโกหกของผู้นำประเทศ
1
มันก็เป็นตามที่ผู้อาวุโส อย่าง
เปาทงกับหลีหนันหยาง ได้พูดกันไว้ ธรรมชาติของพรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องมีการต่อสู้ แย่งชิงอำนาจภายในพรรค คนที่เป็นเหยื่อและรับเคราะห์มากที่สุดในการแย่งชิงอำนาจคือประชาชน
การปฏิวัติวัฒนธรรมของจีนหรือการชุมนุมประท้วงที่เทียนอันเหมินดูเหมือนจะเป็นบทเรียนในการบริหารประเทศของนักการเมืองหรือผู้บริหารประเทศจีนที่ทำให้เกิดการล้มตายของประชาชนหลายหมื่นคน แต่ก็ยังเป็นตัวอย่างการวางแผนจัดการฝ่ายตรงข้ามในการแย่งอำนาจภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่แยบยลอีกด้วย
2
การประท้วงที่ฮ่องกงก็ไม่เว้น ซึ่งคนส่วนใหญ่จะมองถึงแค่ประชาชนฮ่องกงกับรัฐบาลกลางปักกิ่ง แต่มีอีกมุมหนึ่งในเรื่องของการกำจัดอำนาจอิทธิพลในด้านต่างๆของกลุ่มเจียงเจ๋อหมิงเพื่อไม่ให้เป็นภัยกับการดำรงผู้นำ
ประเทศของ ฉีจิ้นผิง
1
การชุมนุมประท้วงต่อต้านกฏหมายส่งตัวผู้ต้องสงสัยไปเมืองจีนของคนฮ่องกง
ตอนหน้าจะพูดถึงเหตุการณ์ที่ทำให้ประชาชนชาวฮ่องกง รู้สึกว่ารัฐบาลปักกิ่งกำลังจะคุมตามสิทธิเสรีภาพและการเข้าจับกุมเฉาเจี้ยนหัว肖建華 บุคคลที่เป็นคนบริหารจัดการทรัพย์สินมหาศาลของข้าราชการระดับสูงของจีนโดยเฉพาะกลุ่มเจียงเจ๋อหมิง
1
ข้อมูลอ้างอิง:
จ้าวจื่อหยางถูกเติ้งเสียวผิงทิ้ง
https://youtu.be/JO2F17VlP6Y
1
https://youtu.be/Fft5sbtqxbw
https://64museum.blogspot.com/2015/11/huyaobang2015.html?m=1
บันทึกลับจ้าวจื่อหยาง
https://zzywj.weebly.com/
https://sohfrance.org/liusi30zhounianjuemiwenjianbaoguang-neidoubairehua/
https://hk.appledaily.com/local/20180524/QRNRN3QDHKPKOJVYUYRGKFS5RI/
บทความสนทนาของNew York time ของเปาตงกับหลี่หนันหยาง
https://cn.nytimes.com/china/20180523/bao-tong-talks-89-li-nanyang-part1/zh-hant/
24 บันทึก
22
2
29
24
22
2
29
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย