4 พ.ย. 2020 เวลา 02:18 • การศึกษา
สวัสดียามเช้านะคะ
เอคิวนำพุทธสุภาษิตมาฝากค่ะ
นั้นคือ
ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์
ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ หมายถึง ธรรมที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์
ในปัจจุบันประโยชน์อันพึงได้รับจากการประกอบกิจการหรือมีอาชีพที่สุจริตถูกต้อง
ทั้งทางกฎหมาย และศีลธรรมผลประโยชน์ที่ได้จากการประกอบกิจนั้นเป็นผล
ที่ได้ทันตาเห็นไม่ต้องรอถึงภายภาคหน้าผลประโยชน์ที่ได้รับจากการประกอบ
กิจการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะได้มาซึ่งประโยชน์นั้น จะต้องแสวงหาอย่างมี
หลักการและมีแผนการ ซึ่งหลักการและแผนการนี้เรียกว่า
ธรรมที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ในปัจจุบัน
พุทธสุภาษิตนี้ ถ้าเอคิว เรียกย่อๆทราบกันโดยทั่วไป นั่นคือ
หัวใจเศรษฐี ชื่อย่อ คือ อุ อา กา สะ
เริ่มนึกออก กันแล้วใช่ไหมค่ะ
มีอยู่ 4 ประการ คือ
1. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่นเลี้ยงชีพด้วยการหมั่นประกอบการงาน
2. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษาโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความ
ขยันหมั่นเพียรโดยชอบธรรม
3. กัลยาณมิตตตา คบคนดีไม่คบคนชั่ว
4. สมชีวิตา อยู่อย่างพอเพียงรู้ทางเจริญทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์
มาดูวิธีใช้กันค่ะ
1. อุฏฐานสัมปทา คือ ถึงพร้อมด้วยความหมั่นความขยันหมั่นเพียรใน
การปฎิบัติหน้าที่การงาน ประกอบอาชีพอันสุจริตมีความชำนาญรู้จักใช้ปัญญา
สอดส่องตรวจตราหาอุบายสามารถจัดดำเนินการให้ได้ผลดี
2. อารักขสัมปทา คือ ถึงพร้อมด้วยการรักษารู้จักคุ้มครอง
เก็บรักษาโภคทรัพย์และผลงานอันตนได้ทำไว้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
โดยชอบธรรม ด้วยกำลังงานของตน ไม่ให้เป็นอันตรายหรือเสื่อมเสีย
3. กัลยาณมิตตา คือ คบคนดีเป็นมิตร รู้จักกำหนดบุคคลใน
ถิ่นที่อาศัย เลือกเสวนาสำเหนียกศึกษาเยี่ยงอย่างท่านผู้ทรงคุณมีศรัทธา
ศีล จาคะ ปัญญา
4. สมชีวิตา คือ มีความเป็นอยู่เหมาะสม คือ รู้จักกำหนดรายได้และรายจ่าย
เลี้ยงชีวิตแต่พอดีมิให้ ฝืดเคืองฟูมฟาย ให้รายได้เหนือรายจ่าย มีประหยัดเก็บไว้
วิธีการแก้ไขเรื่องการขาดความเพียร ในทางพระพุทธศาสนา
โดยใช้หลักฆราวาสธรรม 4 ประการ คือ
1. สัจจะ มีความซื่อสัตย์เป็นพื้นฐาน
2. ทมะ ฝึกตน ข่มจิต และรักษาใจ
3. ขันติ มีความอดทน
4. จาคะ มีความเสียสละ
ปัญหาการขาดความเพียร
1. ความอ่อนเพลีย
2. ความต้องการความสุขสบาย
3. ความกลัวความล้มเหลว
4. พันธุกรรม และสารเคมีในสมอง
5. การขาดแรงจูงใจ
ปัญหาการขาดความเพียรของมนุษย์ในทางพระพุทธศาสนา
อธิบายการขาดความเพียรในการทำงานเลี้ยงชีพด้วยการหมั่นประกอบการงาน
เป็นเหตุแห่งความเกรียจคร้าน เป็นผลนำมาถึงความย่อยยับในทรัพย์
ในอบายมุข 4 ว่า
1. เป็นนักเลงหญิง
2. เป็นนักเลงสุรา
3. เป็นนักเลงการพนัน
4. คบคนชั่วเป็นมิตร รวมถึงเหตุของการขาดความเพียรไว้ใน นิวรณ์ 5 ดังนี้
1. กามฉันท คือ ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น,
ความพอใจในกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
2. พยาบาท คือ การผูกใจเจ็บคิดจะแก้แค้น, การคิดปองร้าย
3. ถีนมิทธะ คือ ความหดหู่และเซื่องซึม, ความง่วงเหงาซึมเซา
4. อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใด ๆ
วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้า ๆ กลัว ๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ
5. วิจิกิจฉ คือ ความสงสัย, ความไม่แน่ใจ, ความเคลือบแคลง, ความลังเล
ปัญหาการไม่รู้จักประหยัดทรัพย์
พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตตามกฏการไม่รู้จักประหยัดทรัพย์ทั้ง 8 ข้อ คือ
1. จ่ายมากกว่าเงินที่หามาได้
2. ซื้อแต่ของที่ไม่จำเป็น
3. ซื้อของไม่คำนึงถึงมูลค่ากับคุณค่า
4. ไม่ลงทุนเพื่อคุณภาพ
5. ไม่คำนึงถึงความจำเป็นจริง ๆ ของตนเอง
6. การยึดติดกับยี่ห้อสินค้า
7. ซื้อของด้วยความใจร้อน
8. ไม่ตรวจสอบใจว่าอยากซื้อหรือไม่
ปัญหาการไม่รู้จักประหยัดทรัพย์ในทางพระพุทธศาสนาอธิบายหลัก
และเหตุผลของปัญหาการไม่รู้จักประหยัดทรัพย์ไว้ใน อบายมุข 6 ดังนี้
1. ติดสุราและของมึนเมา
2. ชอบเที่ยวกลางคืน
3. ชอบเที่ยวดูการละเล่น
4. ติดการพนัน
5. คบคนชั่ว
6. เกียจคร้านการงาน
ปัญหาการคบคนพาล
คนพาล ในทางพระพุทธศาสนากล่าวถึง คนที่มีใจขุ่นมัวเป็นปกติ
เป็นผลให้มีความเห็นผิดยึดถือค่านิยมผิด ๆและมีวินิจฉัยเสีย คือไม่รู้ว่าอะไรดี
อะไรชั่ว อะไรควร อะไรไม่ควร
ลักษณะคนพาลคือ
1. ชอบคิดชั่วต่ำเป็นปกติวิสัย
2. ชอบพูดชั่วต่ำเป็นปกติวิสัย
3. ชอบทำชั่วเป็นปกติวิสัย
ปัญหาการคบคนพาล คือ ไม่รู้จักการคบคนดีเป็นมิตร ไม่รู้จักเลือกบุคคลที่จะคบหา
ว่าจะนำชีวิตของเราไปในทิศทางใด
โทษของการคบคนพาล
1. ย่อมถูกชักจูงนำไปในทางที่ผิด
2. ย่อมเกิดความหายนะ การงานล้มเหลว
3. ย่อมถูกมองในแง่ร้าย ไม่ได้รับความไว้วางใจจากบุคคลทั่วไป
4. ย่อมอึดอัดใจ เพราะคนพาลแม้เราพูดดี ๆ ด้วยก็โกรธ
5. หมู่คณะย่อมแตกความสามัคคี เพราะ การยุยงและไม่ยอมรับรู้ระเบียบวินัย
6. ภัยอันตรายต่าง ๆ ย่อมไหลเข้ามาหาตัว
7. เมื่อละโลกแล้วย่อมมีอบายภูมิเป็นที่ไป
ปัญหาการใช้จ่ายทรัพย์เกินฐานะ
ปัญหาการใช้จ่ายทรัพย์เกินฐานะ คือใช้จ่ายเกินตัว สุรุ่ยสุร่าย ก่อหนี้สิน
คือไม่รู้จักประมาณในการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อดำรงชีพตามสมควรแก่ฐานะของตนเอง
อีกทั้งไม่รู้จักกำหนดรายได้และรายจ่ายและไม่อยู่แบบพอดีสมรายได้มิให้ฝืดเคือง
หรือฟุ่มเฟือย ให้มีรายได้เหนือรายจ่าย มีประหยัดไว้สำหรับปั้นปลายของชีวิต
จะได้ไม่ลำบากในทางพระพุทธศาสนา กล่าวถึงความสุขของผู้ครองเรือน
อันเป็นความสุขที่ไม่มีโทษ 4 อย่าง คือ
1. สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์
2. สุขเกิดแต่การใช้ทรัพย์
3. สุขเกิดแต่ความไม่เป็นหนี้
4. สุขเกิดแต่ความประพฤติที่ไม่มีโทษ คือประพฤติแต่สุจริตธรรม
แก้ไขการขาดความเพียรด้วยหลักอิทธิบาท 4 คือ
1. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
2. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
3. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
4. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น และแก้ไขการขาดความเพียรด้วย
หลักปธาน 4 หรือที่มีชื่อเรียกว่า ความเพียร 4 ประการ คือ
1. สังวรปธาน คือ ความเพียรระวังยับยั้งปัญหาที่ยังไม่เกิดขึ้น ไม่ให้เกิดขึ้น
2. ปหานปธาน คือ มีความเพียรที่จะละหรือกำจัดปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป
3. ภาวนาปธาน คือ มีความเพียรที่จะสร้างทำความดีที่ยังไม่ได้ทำให้เกิดมีขึ้น
4. อนุรักขนาปธาน คือ มีความเพียรที่จะรักษาความดีที่ได้ทำแล้วให้มั่นคงอยู่
การนำหลักอารักขสัมปทามาประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหาชีวิตการไม่รู้จักรักษาทรัพย์
ด้วยการวางแผนในการดำเนินชีวิตที่ชอบธรรมควรมีไว้ 1 ประการ คือ
1. การมีแผนเกี่ยวกับชีวิต
2. การมีหลักในการสร้างชีวิต
3. การมีจิตใจแน่วแน่ในจุดหมายที่ดีงาม รวมถึงวิธีการเก็บออมทรัพย์ 4 ประการ คือ
1. ขยันหาทรัพย์
 
2. รู้จักเก็บ
3. ไม่ประมาทมัวเมาลุ่มหลงไปกับสิ่งยั่วยวนต่างๆ
4. เลี้ยงชีวิตพอสมควร และความรู้จักพอประมาณ คือ ความพอดีตามมีตามได้
กล่าวถึงการนำหลักอารักขสัมปทามาประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหาชีวิตการ
ไม่รู้จักรักษาทรัพย์ ในเรื่องความสันโดษ ได้ 3 อย่าง
1. ความยินดีพอใจ ด้วยปัจจัยของตน
2. ความยินดีด้วยปัจจัยที่มีอยู่
3. ความยินดีโดยอาการอันสม่ำเสมอ
การนำหลักกัลยาณมิตตามาประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหาชีวิตการคบคนพาล
ในทางพระพุทธศาสนาใช้หลักธรรมในการคบมิตรตามหลักจักรธรรม 4 คือ
1. ปฏิรูปเทสวาสะ คือ การอยู่ในถิ่นที่ดีที่เหมาะสม
2. สัปปุริสูปัสสยะ คือ การคบกับสัตบุรุษ คบคนดีและเว้นคนชั่ว
3. อัตตสัมมาปณิธิ คือ การตั้งตนไว้ชอบทั้งทางโลกและทางธรรม
4. ปุพเพกตปุญญตา คือ ความเป็นผู้ได้ความดีไว้แล้ว มีพื้นเดิมดี ส่วนสำคัญ
ในการคบมิตรเป็นไปด้วยดีไม่มีอุปสรรคปัญหาใด ๆ การประพฤติปฏิบัติหน้าที่
ต่อกันระหว่างมิตรนั้น คือการปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องสมบูรณ์ตาม
หลักทิศ ๖ ที่ทางพระพุทธศาสนาได้กล่าวไว้ ประกอบด้วยหลักการดังนี้คือ
1. ทิศเบื้องหน้า (ปุรัตถิมทิศ) คือ การประพฤติปฏิบัติต่อกันระหว่างมารดาบิดา
กับบุตรธิดา
2. ทิศเบื้องขวา (ทักษิณทิศ) คือ การประพฤติปฏิบัติต่อกันระหว่างครูอาจารยN
กับศิษย์
3. ทิศเบื้องหลัง (ปัจฉิมทิศ) คือ การประพฤติปฏิบัติต่อกันระหว่างสามีกับภรรยา
4. ทิศเบื้องซ้าย (อุตตรทิศ) คือ การประพฤติปฏิบัติต่อกันระหว่างมิตรสหาย
5. ทิศเบื้องล่าง (เหฎฐิมทิศ) คือ การประพฤติปฏิบัติต่อกันระหว่าง
นายจ้างกับลูกจ้าง
6. ทิศเบื้องบน (อุปริมทิศ) คือ การประพฤติปฏิบัติต่อกันระหว่างนักบวชกับ
คฤหัสถ์
การนำหลักสมชีวิตามาประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหาชีวิตการใช้จ่ายทรัพย์เกินฐานะ
ในทางพระพุทธศาสนาใช้ สัปปุริสธรรม มี 7 ประการคือ
1. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ
2. อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายและรู้จักผล
3. อัตตัญญุตา รู้ตน
4. มัตตัญญุต รู้ประมาณ
5. กาลัญญุตา กาล
6. ปริสัญญุตา รู้ชุมชน
7. ปุคคลัญญุตา รู้บุคคล และการออมทรัพย์ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเอง
4 ประการคือ
1. ต้องรู้จัดเพิ่มพูนรายได้
2. ต้องปลูกฝังนิสัยการเก็บออม
3. รู้จักทำงบประมาณวางแผนการใช้เงิน
4. รู้จักสงเคราะห์คนอื่นเท่าที่จำเป็น
memo aq.beryl
หวังว่าเรื่องราวของ ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ที่เอคิวนำมาฝาก
จะมีประโยชน์ในการหาเลี้ยงชีพนะคะ
ขอขอบคุณบทความเรื่อง
การประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์กับการแก้ไขปัญหาสังคมไทย
สามารถไปหาอ่านเพิ่มเติมได้ค่ะ
ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเดินทาง
memo aq.beryl
โฆษณา