16 พ.ย. 2020 เวลา 11:13 • ความคิดเห็น
หลังจากที่ เปิดลงทะเบียนรอบ 2 กันเป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 แล้วก็เต็มไปเป็นที่เรียบร้อย
นับว่ากระแสตอบรับ เป็นไปในทางที่ดี สำหรับ โครงการ คนละครึ่ง ของรัฐบาลในครั้งนี้
มีการรายงานว่ายอดใช้จ่าย ทะลุ 1.1 หมื่นล้านเป็นที่เรียบร้อย ในระยะเวลา เพียงครึ่งเดือน และรัฐบาลเองก็จ่อขึ้น เฟส 2 เป็นที่เรียบร้อย
สำหรับผมแล้วโครงการนี้น่าจะเป็นโครงการที่ดีที่สุด ตั้งแต่ที่มีมาเลยก็ว่าได้ (เหมือนลองผิดมาเยอะกับที่ผ่านมา เพิ่งจะมาเข้าที่เข้าทางกับอันนี้) เพราะเป็นการกระจายรายได้เข้าสู่ ผู้ใช้รายย่อยได้อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นทั้งคนซื้อเอง และก็ตัวพ่อค้าแม่ขายเอง แต่ติดอยู่อีกนิดนึงนะครับ ถ้าไม่ได้จำกัดสิทธิ คนใช้ ปล่อยให้ใช้ได้เยอะกว่านี้ ผมว่าจะดีเอามาก ๆ
2
ภาพที่เห็นในปัจจุบันเมื่อเดินไปที่ตลาดก็คือ หลาย ๆ ร้านค้าเริ่มมีป้ายคนละครึ่งติดอยู่ที่ร้าน และส่วนมากร้านค้าไหนที่มี คนจะมุงเยอะเป็นพิเศษอีกด้วย ส่วนร้านไหนที่ไม่ดี ก็ทำการขายแบบปกติไป แต่เชื่อเถอะว่า ถ้าหากว่าคุณเป็นร้านที่อยู่ระหว่างร้านที่มีคนละครึ่งแล้วหละก็ อดไม่ได้หรอกที่จะไปลงทะเบียนร้านกับเขาบ้าง นั่นก็เป็นเพราะว่า ความแตกต่างของจำนวนลูกค้าที่มาใช้ มักจะเห็นได้ชัด ในช่วงนี้
ประโยชน์ที่ได้จากการพูดคุยกับแม่ค้าก็คือ แม่ค้าพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า หลังจากที่มีโครงการนี้ ยอดขายของที่ร้าน เพิ่มมากขึ้น บางวันขายได้ เกือบ 50% จากเดิมเลยทีเดียว แต่ติดปัญหาเรื่องของการ scan จ่าย ที่ต้องจ่ายทีละราย ทำให้ เสียเวลาอยู่บ้างเช่นกัน
ทางด้านผู้ใช้งานเอง ก็มีแต่จะชอบ เพราะประหยัดเงินไปได้หลายบาท จากที่เคยซื้อของเพียงไม่กี่บาท ก็กล้าซื้อมากขึ้น เพราะมีรัฐช่วยออกให้ครึ่งหนึ่ง
7
แล้วคนละครึ่ง กำลังเปลี่ยนอะไรในประเทศไทย??
ทุกวันนี้สิ่งที่ คนละครึ่งได้เข้ามาเปลี่ยนอย่างชัดเจน นั่นคือ พฤติกรรม!!
นานมากแล้วที่เราเห็นกันว่า ต่างประเทศเขาใช้เรื่อง Cashless กันไปต่อไหนถึงไหน แต่ที่ไทยเรายังแทบจะไม่เห็นกันเลยทีเดียว ถึงต่อให้มี การ แสกน QR จ่ายกันบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีผู้ใช้ไม่มากคนนักที่หันมาจ่ายด้วย QR payment แต่ด้วยโครงการของรัฐอย่างคนละครึ่ง นับว่าเป็นโครงการที่ดี ที่ช่วยเร่งการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานของคนไทย ให้เปลี่ยนไปได้เร็วขึ้น
ทุกวันนี้ มีคน ใช้งานคนละครึ่งกว่า 12 ล้านคน (จำนวนผู้มีสิทธิ) และร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ กว่า 6 แสนราย (คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต) และเราจะเห็นการใช้งานแบบนี้ไปอีกหลายเดือน เพราะว่าเฟส 2 จะเริ่มต้นในเดือนมกราคม ซึ่ง ให้สิทธิคนที่ใช้เฟสแรกไปได้ด้วย
แน่นอนว่า พฤติกรรมการใช้งานของคนจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอน หากพวกเขาใช้บริการบ่อยขึ้น จากคนที่ไม่เคยใช้จ่ายผ่าน app เลย ก็น่าจะเปิดใจเข้าถึงการจ่ายแบบนี้มากขึ้น ส่วนร้านค้าที่เคยปฏิเสธ มาอย่างยาวนาน ก็เริ่มทยอยรับการจ่ายแบบ online กันเยอะขึ้น นั่นเท่ากับว่า ต่อไปในอนาคต หากรูปแบบเปลี่ยนไปใช้เงินแบบ Digital มากขึ้น คนใช้งานเองก็จะปรับตัวได้ง่ายมากขึ้นอีกเช่นกัน
1
ปัญหาอะไรบ้างที่ทำให้ร้านค้าไม่เข้าร่วมคนละครึ่ง??
1. ใช้ไม่เป็น
ข้อนี้คงมีปัญหาอันดับหนึ่งเลยก็ว่าได้ เนื่องจากร้านค้ารายย่อยส่วนมาก เป็นคนที่มีอายุ ซึ่งก็ต้องเข้าใจว่า ส่วนหนึ่ง เคยชินกับการใช้เทคโนโลยีบ้าง อีกส่วนหนึ่งนั้นไม่เคยใช้เลย พอไม่เคยใช้เลย ก็จะกลัวการใช้งานอะไรใหม่ ๆ ยิ่งเป็นเทคโนโลยีแล้วหละก็ ถือเป็นของแสลงเลยก็ว่าได้ บางร้านมีลูกหลานคอยช่วยเหลือตรงนี้ ก็ยังพอทำได้ แต่ร้านที่ไม่มีลูกหลานคอยช่วยเหลือ ก็ถือเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลยก็ว่าได้ในสายตาของเขา
2. สายป่านสั้น
อันนี้จะบอกว่าเป็นก็เป็น ไม่เป็นก็ไม่เป็น เพราะว่า ตัวระบบของแอพ ถุงเงินที่ร้านค้าเข้าร่วมโครงการนั้น ร้านค้าจะไม่ได้เงินในทันที แต่จะเป็นอีกวันหนึ่ง ถึงจะมีการโอนเงินเข้ามาให้ ซึ่งแน่นอนว่าก็มีทั้งร้านค้าที่มีและไม่มีปัญหานี้ เพราะบางร้านก็ต้องยอมรับว่า เขาใช้เงินต่อเงิน แบบวันต่อวันจริง ๆ การโอนยอดให้วันถัดไป ก็มีผลต่อการทำธุรกิจแล้ว
1
3. ต้องมีบัญชีธนาคารกรุงไทย
อันนี้ บางคนอาจจะบอกว่า ไม่มีปัญหา ไม่มีก็เปิดแแปปเดียวจบ แต่สำหรับบางคนก็กลายเป็นปัญหาสำหรับเขา เพราะ ต้องเปิดบัญชีใหม่เพิ่มอีก 1 บัญชี บางคนมองเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับการเปิดบัญชี (แต่ยุคนี้จะบอกว่าง่ายและเร็วเอามากๆ) ปัญหานี้อาจจะนานาจิตตัง พอสมควร เพราะมีเหตุผลส่วนตัวในการที่จะเปิดบัญชีใหม่ กันซะมากกว่า เลยทำให้การต้องเปิดบัญชีดูเป็นเรื่องยากสำหรับเขา บางคนบอกไม่ชอบธนาคารกรุงไทย เลยก็มี ทำให้ไม่อยากเปิดบัญชีหรือเข้าร่วม
1
4. ไม่ชอบรัฐบาล
ข้อนี้ผมเซอร์ไพรซ์มาก ตอนได้ข้อมูล เพราะมีคนบอกว่า ไม่เข้าร่วมเพราะไม่ชอบรัฐบาล อยู่จริงๆ แบบว่าไล่ตะเพิดมาเลยก็มี
ซึ่งอันนี้ถือว่าเป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับสำหรับเรื่องการเมือง เราก็เคารพซึ่งกันและกัน
5. ไม่มีเวลา
อันนี้เหมือนจะเป็นการมัดรวม หลาย ๆ ปัญหาเข้าด้วยกัน เพราะว่าการจะลงทะเบียนนั้นต้องไปที่ธนาคาร และถ้าไม่มีบัญชี ก็ต้องเปิดใหม่ด้วย เพราะฉะนั้น การจะทำกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ ก็ใช้เวลาพอสมควร และเราก็รู้ ๆกันอยู่ว่า การไปทำธุรกรรมที่ธนาคารแต่ละครั้งใช้เวลานานแค่ไหน ซึ่งนั่นก็ทำให้ กลายมาเป็นว่าหาเวลายากสำหรับการที่จะไปทำการลงทะเบียนให้ร้าน เข้าร่วมโครงการ
6.ไม่อยากเสียภาษี
แปลกแต่ก็จริง มีร้านค้าขนาดกลาง หลายร้าน ที่เลือกไม่เข้าร่วมโครงการ สาเหตุเป็นเพราะว่า กลัวเรื่องการเสียภาษี อย่างที่รู้กันว่า ร้านค้ารายย่อยพวกนี้อยู่นอกระบบมานานแล้ว บางร้านขายได้เท่าไหร่ต่อวันไม่มีใครรู้ แต่เมื่อเข้าระบบ คนละครึ่งจะทำให้รู้ยอดเงินเข้าออกแต่ละวันทันที ซึ่งจะนำมาสู่การเสียภาษีในภายหลังได้
ข้อนี้ผมมีความคิดเห็นที่น่าสนใจ ของคุณ กรณ์ จาติกวณิช มาเสริม นั่นก็คือ คุณกรณ์ มองว่า การที่รัฐบาลกำลังจ้องจะเก็บภาษีกับพ่อค้า ออนไลน์ นั้นเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะทำในตอนนี้ เพราะกำลังอยู่ในช่วงที่ พฤติกรรมผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนแปลง หลายต่อหลายคน กลัวเรื่องการเสียภาษีนี้ ก็เลยเลือกที่จะถอยหนี การทำธุรกรรมแบบออนไลน์ไป เพื่อไม่ให้เกิดการตรวจสอบได้ และไม่เสียภาษี ถ้ารัฐอยากจะให้มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วขึ้นกว่านี้ นั้นควรที่จะเปิดช่องทางกฎหมายให้กับพ่อค้า-แม่ค้าเหล่านี้มากกว่า อาจจะเสียภาษีน้อยลง หรือมีกรอบกำหนดเปิดกว้างมากขึ้น เพื่อดึงร้านค้าเข้าสู่ระบบก่อน หลังจากนั้น ค่อยหาทางหารือ หาทางออกอย่างเป็นธรรมอีกครั้ง เนื่องจากทุกวันนี้ สมรภูมิ ออนไลน์ ก็เป็นที่ดุเดือด ทั้งการแข่งขันกันเองในประเทศ และรวมถึงนอกประเทศด้วย ถ้ามัวแต่จะคิดเก็บภาษีคนในประเทศอย่างเดียว แต่คนนอกประเทศมากอบโกยผลประโยชน์โดยไม่เสียภาษี ก็น่าจะเป็นการเอาเปรียบกันเกินไป
ซึ่งความเห็นนี้ผมค่อนข้างเห็นด้วย เลยนำมาเสริมในข้อนี้
3
โดยรวมแล้ว ปัญหาต่าง ๆ ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ร้านค้าไม่อยากที่จะเข้าร่วมโครงการ แต่ถึงแม้ปัญหาของการที่ไม่เข้าร่วมจะมีเยอะเพียงใด สุดท้าย ลูกค้าจะเป็นคนตัดสินเอง ว่าเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วม จะใช้บริการร้านค้าเราหรือเปล่า
สำหรับร้านค้าที่จะถือโอกาสทองในตอนนี้ โกยยอด จากโครงการรัฐนี้ ก็ถือเป็นโอกาสที่ไม่เลว เพราะการใช้งานกำลังเติบโตมากขึ้น ๆ คาดว่า น่าจะมีร้านค้าอีกมากที่จะเข้าร่วมในอนาคต
1
ส่วนตัวแล้วเป็นคนที่ติดตามในเรื่องของ Digital Currency มาโดยตลอด การที่ได้เห็นพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนไทยเปลี่ยนไปในทางที่ดี Cash less มากขึ้น ก็รู้สึกดีไปโดยปริยาย เพราะผมอยากเห็นสังคมที่ไม่ต้องใช้เงินสด เกิดขึ้นจริงๆ ในประเทศของเราสักที เพราะการเข้าระบบต่าง ๆ นั้น จะช่วยในเรื่องของการ คอรัปชั่น ไปได้อีกมากมาย
1
สำหรับใครที่ได้สิทธิ โครงการคนละครึ่ง ก็ใช้ให้หมดภายในสิ้นปีนะครับ เพื่อจะได้ใช้ต่อในปีหน้าได้ แต่สุดท้ายทายสุด ก็แล้วแต่เงินในกระเป๋าท่านนั่นแหละ จะใช้หรือไม่ใช้ ก็เป็นสิทธิของท่านเอง
โฆษณา