19 พ.ย. 2020 เวลา 14:31 • การเมือง
หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า "สลิ่ม" ในบริบททางการเมือง แต่ก็อาจจะยังไม่รู้ว่าคำว่าสลิ่มที่ใช้กัน มีที่มายังไง วันนี้ Robert i Scream จะมาไขข้อข้องใจกันครับ
.
- สลิ่ม มาจากคำว่า ซ่าหริ่ม ซึ่งเป็นขนมที่เป็นเส้นมีหลายสี โดยถูกยกมาใช้ในทางการเมืองโดยเรียกแทน "กลุ่มเสื้อหลากสี" หรือ กลุ่มประชาชนเพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
- ต่อมาคำว่าสลิ่มก็ถูกใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น โดยมองได้ว่่า สลิ่มคือกลุ่มคนหรือพฤติกรรมของบุคคลที่ถูกมองว่าไม่เชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยและสนับสนุนบทบาทของกองทัพในพื้นที่การเมืองนั่นเอง
- คำว่าสลิ่มถูกใช้ในงานเขียนที่เผยแพร่ทางสื่อทั่วไปอย่างน้อยตั้งแต่ปี 2554 และกลับมาใช้อย่างแพร่หลายอีกครั้งในปี 2563 จากนักเรียนนักศึกษาจากหลายสถานศึกษาได้อ้างอิงถึงคำนี้ในแฮชแท็กของการชุมนุมประท้วง เช่น #BUกูไม่เอาสลิ่ม #ราชภัฏอยากงัดกับสลิ่ม[ #KUไม่ใช่ขนมหวานราดกะทิ
1
- โดยเชื่อว่าสลิ่มเริ่มเรียกเป็นครั้งแรกในเว็บบอร์ดพันทิป.คอม โดยสมบัติ บุญงามอนงค์ นักกิจกรรมทางสังคมที่เคยเคลื่อนไหวกับกลุ่มคนเสื้อแดงเคยกล่าวบนสื่อสังคมทวิตเตอร์ว่า "มีคนใช้คำนี้เรียกกลุ่มคนเสื้อหลากสีใน Pantip แล้วเขาเอามาใช้ต่อนั่นเอง
#Robertiscream #นักการเมือง #saveนักศึกษา #ไม่เอาเผด็จการ
โฆษณา