22 พ.ย. 2020 เวลา 05:58 • ธุรกิจ
“Customization” กลยุทธ์รูปแบบของการสร้าง ที่ไม่มีวันจบสิ้น
เมื่อเช้าเรามีโอกาส ได้นั่งอ่านบทความล่าสุดของพี่ลงทุนแมน อย่างเพจ The Briefcase เกี่ยวกับรถ Rolls Royce
และเราได้ข้อคิดที่เป็นหัวใจหลัก นั่นคือ“Customization”
1
เราชอบอ่านเพจแนว The Briefcase นะ เพราะว่า สั้นดีได้ใจความ ถ้าเพื่อนๆอ่านแล้วนำไปตกตะกอนคิดต่อได้เนี่ย จะเป็นประโยชน์มากๆ มากกว่าการอ่านแล้วก็ผ่านไปนะ :)
ถ้างั้นเราหยิบเรื่อง “Customization” “กลยุทธ์ตามใจลูกค้า” ที่เรียกในแบบของเพจ The Briefcase
แต่ถ้าในแบบของเรา เราขอเรียกว่า “กลยุทธ์รูปแบบของการสร้าง ที่ไม่มีวันจบสิ้น”
เป็นยังไง เรามาตกตะกอนความคิด ให้เพื่อนๆอ่านกันดีกว่า
Customization หรือเอาง่ายๆคือ การเลือกสรรให้เป็นความต้องการในรูปแบบของเราเอง
“ของเราเอง” ในที่นี้คือ เวอร์ชั่นของเราเองเลย ซึ่งอาจจะไม่มีใครทำบนโลกซะด้วยซ้ำไป เช่นสมมุติว่า เราต้องการของชิ้นหนึ่ง ที่มีสีส้ม และสีม่วง อย่างละครึ่ง... ลำพังแค่การเลือกแบบของสี ก็อาจจะไม่มีใครต้องการแล้วละ นอกจากเราเนอะ 😂
หรืออีกตัวอย่างที่ดีคือ เวลาที่สาวๆแต่งหน้า อาจมีการเน้นสีชมพูกับแก้มเบาๆ หรือการกรีดหางตาเล็กน้อย การตกแต่งคิ้ว
นี่ก็นับว่าเป็น 1 ในวิธี Customization เช่นกันนะ
Customization สร้างคุณค่าอะไรให้กับลูกค้าบ้าง ?
- อย่างแรกเลยคือ สร้างความประทับใจแรกเริ่ม
ต้องถามว่า มีผู้ประกอบการคนไหนบ้าง ที่ไม่อยากได้ความประทับใจแรกของลูกค้าละ ?
- อย่างที่สอง ความภาคภูมิใจในการใช้ผลิตภัณฑ์
ซึ่งนี่ละคือจุดที่ทำให้พวกเค้า อยากบอกต่อ !
- อย่างที่สาม ความรู้สึกคุ้มค่ากับจำนวนเงินที่จ่ายไป
งั้นถามว่า เคยไหม? ที่เราต้องจ่ายเงินซื้อเสื้อผ้าหรือของอย่างหนึ่ง.. แล้วต่อมา เรากลับรู้สึกเสียดายตังค์ เวลาเจอของใหม่ หรือรูปแบบใหม่ที่เราชื่นชอบ ?
แล้วเจ้ากลยุทธ์ Customization บริษัทผู้ผลิตหรือเจ้าของกิจการจะได้อะไรบ้างละ ?
- อย่างแรกเลยคือ ผู้ประกอบการก็จะสามารถคิดราคาพิเศษเพิ่มขึ้นได้ตามความต้องการที่เพิ่มของลูกค้า
- อย่างที่สอง คือ การได้ความภักดีของลูกค้าเพิ่มขึ้น
ก็แน่นอนละ เราทำตามใจเค้าซะทุกอย่างเลยนี่นา..
- อย่างที่สาม สินค้าที่ราคาแพงของเพื่อนๆ ก็จะถูกเพิ่มให้มีมูลค่ามากกว่าเดิม
- อย่างที่สี่ กลยุทธ์นี้ เราจะสามารถดึงดูดความสนใจของลูกค้าที่เป็น Generation Y และ Z ได้ดีมากเลยทีเดียวละ
ถ้าเทียบกับประเทศที่มีจำนวยนคนมากที่สุดในโลกอย่างอเมริกา
Gen Y มีขนาดประชากรเป็น 26.7 % และ Gen Z มีขนาดประชากรเป็น 24 % ของชาวอเมริกา
- อย่างที่ห้าคือ สร้างการบอกต่อ หรือ Viral & word of mouth
และสิ่งที่ลูกค้าอาจจะบอกกันต่อ นอกจากสินค้าของเราที่ดีไซน์เข้าไปถึงหัวใจแล้ว
ชื่อเสียงของแบรนด์ที่จะดีขึ้นตาม เพราะเราเอาความต้องการของลูกค้าเป็นจุดศูนย์กลางนั่นเอง
อย่างไรก็ดี เพื่อนๆหลายคนอาจเริ่มคิดในหัวแล้วว่า แบบนี้ ยังไงผู้ประกอบการน่าจะเสียมากกว่าได้ เพราะนอกจากจะต้องเสียเวลาในการผลิตสินค้ารูปแบบใหม่ เสียต้นทุนที่เพิ่มขึ้นแถมยังไม่สามารถ Stock ของได้อีก
ถ้าเราจะบอกว่า นั่นแหละ คือต้นทุนที่ต้องเสียไปนะ
ไม่มีอะไรบนโลกได้มาฟรี รวมถึง ชื่อเสียงของแบรนด์
แต่เราจะลองชวนเพื่อนๆ ไปคิดอีกมุมนึงนะ มาคิดเล่นกันว่า
การ Customization นั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นสิ่งของ
สินค้าสำหรับลูกค้าเพียงอย่างเดียว
แต่ การ Customization สามารถนำมาใช้ในเรื่องราวเกี่ยวกับการออกแบ Websites ได้ด้วยเช่นกัน
อันนี้ไอเดียเรานะ สมมุติเพื่อนๆเปิดร้านชายของออนไลน์ ถ้าหน้าเวปของเพื่อนๆสามารถมีออปชั่นที่ให้ลูกค้าสามารถ จัดหมวดที่พวกเค้าชอบได้ หรือสามารถสร้างโทนสี หรือ interface ในแบบที่พวกเค้าชอบ ก็จะทำให้หน้าร้านออนไลน์ของเราน่าใช้งานขึ้นไปอีก (แต่ต้นทุนก็จะสูงขึ้นตามนะ)
อีกมุมหนึ่งนะ การที่เราทำสินค้า Customization แบบนี้ออกมาเรื่อยๆ แน่นอนว่า เราอาจสามารถดึงดูด Influencer ที่เป็นนักศิลปะ ศิลปินต่างๆมาได้
ไม่แน่นะ เพื่อนๆอาจจะได้ไอเดียการดีไซน์สินค้าปังๆ มาฟรีเลยก็ได้ ... ขอมองในแง่ดีนิดนึงนะ เราคิดว่าทุกอย่างมันมีโอกาสเป็นไปได้
สุดท้ายนี้ จะต้องฝากข้อคิดเอาไว้อย่างนึงคือ ที่เขียนมาทั้งหมด เพื่อนๆหลายคนอาจจะ มองว่า ทำไมเขียนดูเหมือนโลกสวยกับกลยุทธ์นี้จังเลย
งั้นเรามาอ่านคำเตือนกันสักนิดดีกว่า...
Customization ไม่ใช้กลยุทธ์ที่ใครๆ จะใช้แล้วประสบความสำเร็จหมดนะ
- โดยประการแรกเลย พื้นฐานของแบรนด์เพื่อนๆต้องแน่นเสียก่อน
นั่นหมายความว่า ถ้าสินค้าของเพื่อนๆยังใม่เริ่มเป็นที่รู้จักเนี่ย..... การทำ Customization ออกมาก็จะมีความเสี่ยงพอสมควร ทั้งในเรื่องของต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น อาจจะไม่คุ้มกับผลลัพธ์ที่อาจจะไม่ปัง หรือ เป็นที่รู้จักในวงแคบ ซึ่งแน่นอน เสียมากกว่าได้เห็นๆเลย ... อาจจะได้แค่ ลองอะไรใหม่ๆแทน
- ประการที่สองคือ ถ้าเพื่อนๆจะเริ่มปรับใช้กลยุทธ์นี้จริงๆ ต้องวิเคราะห์ให้แตกก่อนนะว่า วัตถุดิบ หรือต้นทุนทางแรงงานของเพื่อนๆ มีอะไรบ้าง ? พร้อมหรือเปล่า?
ผลิตภัณฑ์ตัวไหนที่ควรดึงกลยุทธ์นี้มาใช้ ?
เท่าไรถึงเรียกว่า ทำได้/ทำไม่ได้ ?
และไม่ใช่ว่าทุกผลิตภัณฑ์จะสามารถใช้กลยุทธ์นี้ได้นะ อย่าลืมว่า เรากำลังเปลี่ยนความธรรมดา ให้เป็นความพิเศษ
ถ้าพิเศษไปซะหมด...แล้ว มันจะต่างกับความธรรมดายังไง?
ปิดท้าย..
กลยุทธ์การตลาดที่ธรรมดา ก็อาจจะไม่ธรรมดาหากเราเลือกมาใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของธุรกิจตัวเอง
และกลยุทธ์ที่แปลกใหม่ ก็อาจจะไม่เกิดขึ้นได้เลย หากเราไม่เริ่มต้นจากการอ่าน ศึกษาจากคนอื่นๆ และเติมความรู้ให้เพิ่มขึ้น (เช่นการอ่าน Blockdit นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งนะ)
แต่อย่างไรก็ดี...กลยุทธ์ที่ดีขนาดที่แบรนด์ระดับโลกนำไปใช้แล้วประสบความสำเร็จ
ก็อาจจะมาล้มเหลวกับแบรนด์ของเราก็ได้ หากเราใช้แบบไม่ดูตาม้าตาเรือ..
โฆษณา