26 พ.ย. 2020 เวลา 13:01 • ธุรกิจ
ค่าขนส่งแพง ส่งออกข้าวมีปัญหา
แล้วจะทำยังไงกันดี?
ประเทศไทยเรา เคยเป็นเบอร์หนึ่งของโลก ทั้งในด้านคุณภาพของข้าวหอมมะลิ และปริมาณส่งออก...
แต่ท่ามกลางวิกฤตโควิด ทำให้ยอดส่งออกข้าว ลดลงมากกว่า 50%
จากปริมาณ 1 ล้านตันต่อเดือน เหลือไม่ถึง เดือนละ 4 แสนตัน...
ด้านการประกวดคุณภาพข้าว World's Best Rice ก็โดนเวียดนาม แย่งตำแหน่งที่ 1 ไป
ทำให้ความพรีเมี่ยมของข้าวไทยดูจะลดน้อยลงไป สะท้อนไปที่ราคาข้าว...
และล่าสุดค่าด้วยสถานการณ์ตู้คอนเทนเนอร์ไม่เพียงพอ ทำให้สินค้าที่กินพื้นที่ และ “หนัก” อย่างข้าว ถูกปฏิเสธ…ไม่ได้ไปต่อบนเรือ
แนวทางแก้ปัญหา คงมีหลายแนวทาง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาคุณภาพข้าว หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง (เพราะเรื่องการลดต้นทุน คงทำได้ยาก ทั้งเรื่องค่าแรงที่สูงขึ้นเรื่อยๆ และคู่แข่งก็เร่งเครื่องปลูกกันอย่างเมามัน)
แต่บทความนี้ แอดมินอยากเล่าวิธีการแก้ปัญหาเรื่องข้าว ของประเทศญี่ปุ่นที่น่าสนใจมากๆ
เรื่องราวเป็นอย่างไร หากพร้อมแล้ว เราไปติดตามกันเลย
=========================
นำเข้า "ความรู้" ส่งออก "ความคิด" ติดตาม
"นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า"
=========================
1) คนญี่ปุ่นนิยมบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยมีการบริโภคในประเทศ ประมาณ 8 ล้านตันต่อปี คิดเป็นอัตราบริโภคอยู่ที่ 55 กิโลกรัมต่อประชากรหนึ่งคน ต่อปี ซึ่ง 98% เป็นข้าวที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่น
ตัวเลขนี้หากเทียบกับประเทศไทย ก็ต้องบอกว่า คนไทยบริโภคข้าว เยอะกว่ามาก โดยตัวเลขคนไทยอยู่ที่ 80 กิโลกรัมต่อประชากรหนึ่งคน ต่อปี สำหรับคนเมือง และ 155 กิโลกรัมต่อประชากรหนึ่งคน ต่อปี สำหรับคนในชนบท
2) หากมองที่พื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด ประเทศญี่ปุ่น ก็ปลูกข้าวในสัดส่วนสูงถึง 55.4% ของพื้นที่ทั้งหมด
3) ชาวนาญี่ปุ่นเอง ก็ต้องฝากชีวิตไว้กับดินฟ้าอากาศ และความต้องการข้าวของตลาด ไม่ต่างกับชาวนาไทย แต่ในช่วงปี ค.ศ. 1993 ก็มีชาวนาญี่ปุ่นหัวใส คิดค้นวิธีเพิ่มมูลค่าจากกิจกรรมปลูกข้าว...
4) แต่ มันไม่ใช่การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อมาปลูกข้าวให้มีคุณภาพพรีเมี่ยมมากขึ้น หรือ การใช้ระบบความคุมอัจฉริยะหรือหุ่นยนต์ มาปลูกข้าวแทน
1
แต่ชาวนาที่เมือง อาโอโมริ (ทางเหนือสุดของเกาะฮอนชู ที่ขึ้นชื่อเรื่องใบไม้เปลี่ยนสี) ได้นำศิลปะมาผสมผสานกับการปลูกข้าว สิ่งที่ได้ออกมาคือ งานศิลปะที่มี ชื่อว่า “Tambo Art”
Cr.Aomori
5) จุดเริ่มต้นมาจากการนำข้าวที่มีรวงสีม่วง และข้าวที่มีรวงสีเหลือง มาปลูกแซมกัน ให้เป็นรูปภูเขา Iwaki พร้อมกับใส่ตัวอักษรต่างๆ ลงไป เป็นการใช้ประโยชน์จากขั้นตอนการปลูกข้าวที่ก็ทำแบบใช้แรงงานตัวเองปลูกไปทีละ zone อยู่แล้ว
Cr.Aomori
6) พอเริ่มต้นทำก็พบว่า แปลงข้าวหลากสีดังกล่าว สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว ให้เข้ามาเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวนา และอิ่มเอมกับภาพบนแปลงข้าว ที่สวยงาม และแปลกตา โดยปีๆ หนึ่ง มีผู้คนแวะเวียนไปเที่ยวมากกว่า 100,000 ราย และทางจักรพรรดิของญี่ปุ่นก็ยังเสด็จไปเยือน ในปี ค.ศ. 2014
7) แรกเริ่มเดิมทีก็ยังเป็นรูปสไตล์ญี่ปุ่นย้อนอดีต แต่ทำไปทำมา ก็มีรูประดับโลกหลายๆ แบบบทแปลงข้าว ไม่ว่าจะเป็น Mona Lisa, Godzilla, หรือแม้กระทั่ง Star Wars!!
1
Cr.Aomori
8) พอเล่นกับแปลงข้าวได้ซักพัก ก็เริ่มมีจินตนาการเพิ่ม ไปเล่นกับหินบ้าง กลายเป็นแปลงจิตรกรจากหิน!!
1
Cr.Aomori
และนั่นก็เป็นเรื่องราว แนวคิดการเพิ่มมูลค่าของกิจกรรมปลูกข้าวแบบเดิมๆ ของชาวญี่ปุ่น ที่ผสมผสานระหว่างการเกษตร ศิลปะ และวัฒนธรรม ได้อย่างลงตัว
ด้วยสถานการณ์ที่คู่แข่ง เร่งสปีดเข้ามาจี้ไทยเราแบบนี้ (และบางรายแซงไปแล้ว) เราคงต้องกลับมาคิดถึงจุดแข็งของประเทศไทย ซึ่งแอดเชื่อว่า วัฒนธรรม และการดูแลต้อนรับแบบไทยๆ ก็เป็นสิ่งที่มีคุณค่า และยังขายได้อย่างแน่นอน
1
อยู่ที่รีบปรับตัว และรอรับโอกาสหลังโควิดให้ได้ อย่าปล่อยให้คนอื่นหยิบชิ้นปลามันไปหมด...
1
หากบทความมีประโยชน์ กดไลค์ และแชร์ให้เพื่อนๆ ได้เลย
หรือเพื่อนๆ มีข้อสงสัยเรื่องไหน อยากให้แอดมินเล่าให้ฟัง ก็ส่ง inbox มาคุยกันเลยได้ที่ https://bit.ly/3j7BwBW
=========================
นำเข้า "ความรู้" ส่งออก "ความคิด" ติดตาม
"นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า"
=========================
***พิเศษ*** ผู้นำเข้า ส่งออก ที่ปวดหัวกับเรื่องการขนส่งระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น จองพื้นที่ไม่ได้ หรือราคาแพงเว่อร์ ให้สตาร์ทอัพสัญชาติไทยอย่าง ZUPPORTS (By SCG) ช่วยคุณได้…
ZUPPORTS ช่วยเปรียบเทียบ และจองขนส่งทางทะเล ทางอากาศ และทางบก เราก็ช่วยได้
ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษและข่าวสถานการณ์การค้าโลก
ได้แล้ววันนี้ที่ https://zupports.co/register/
❤️ อ่านบทความย้อนหลังได้ที่
นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า marketplace: ใครมีสินค้าดีๆ โพสขายกันได้เลย
#นำเข้าส่งออกสุดขอบฟ้า #นำเข้า #ส่งออก
#ZUPPORTS
โฆษณา