27 พ.ย. 2020 เวลา 14:28 • สุขภาพ
ข่าวดีมาก !! วันนี้(27พย63) ไทยได้ลงนามในสัญญาอย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว เพื่อเตรียมการให้มีวัคซีนโควิดพร้อมฉีดได้เร็วที่สุด
วันนี้ในช่วงบ่าย นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีลงนาม สัญญาการจัดหาวัคซีน ที่ตึกสันติไมตรีทำเนียบรัฐบาล
โดยเป็นการจองล่วงหน้ากับบริษัท AstraZeneca กับสถาบันวัคซีนแห่งชาติ โดยฝ่ายไทยมีความพร้อมทุกอย่างที่จะเริ่มผลิตวัคซีน หากวัคซีนของบริษัทสำเร็จเรียบร้อยในขั้นตอนสุดท้าย
1
โดยจะเป็นการดูแล และแจกจ่ายให้ทั่วถึง กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงในประเทศ และยังเป็นข้อตกลงร่วมกันว่า จะช่วยดูแลอาเซียนซึ่งศักยภาพยังไม่สูงเท่าไทยในการที่จะผลิตวัคซีน
ทั้งสองฝ่ายเห็นว่า วัคซีนเป็นสินค้าสาธารณะที่พลเมืองโลกทุกคนควรจะเข้าถึง
1
รัฐบาลได้จัดทำกองทุน ตลอดจนออกระเบียบใหม่ให้มีความพร้อมในการวิจัยพัฒนาวัคซีน เพื่อให้พึ่งพาตนเองได้ และในอนาคตสามารถส่งออกได้ด้วย
1
ทางการได้แจ้งว่า ตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา ได้ติดตามความก้าวหน้าของวัคซีนที่อยู่ในเฟสสามจำนวน 12 ชนิดในทุกประเทศ และได้พบว่ามีกลุ่มวัคซีนที่ก้าวหน้ามากอยู่สามชนิด คือ ของสหรัฐ 2ชนิด และของอังกฤษ
โดยไทยมีความพร้อมในทุกขั้นตอน ทั้งเรื่องการผลิต บรรจุภัณฑ์ หีบห่อ การขนย้าย การเก็บรักษา
ทั้งนี้ก็ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลของในหลวงรัชกาลที่เก้า ที่ได้จัดตั้งบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ตั้งแต่ปี 2552
ทำให้เกิดเป็นหน่วยงาน ที่มีความพร้อมสูงสุดในอาเซียน จนกระทั่งบริษัท AstraZeneca และมหาวิทยาลัย Oxford ยอมรับ หลังจากประเมินแล้ว
ทำให้ไทยจะเป็นศูนย์กลางการผลิตวัคซีนสำหรับประเทศไทยเองและประเทศอื่นในอาเซียน ด้วยต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าบริษัทของสหรัฐนับเท่าตัว
เป็นพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 10 ที่ได้ทรงพระราชทานให้บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ ในพระปรมาภิไธย ทำการผลิตแจกจ่ายวัคซีน
ไทยได้ดำเนินการด้วยหลากหลายวิธี ที่จะทำให้ประชาชนมีโอกาสใช้วัคซีนโควิด-19 ให้เร็วที่สุด และกว้างขวางที่สุด ดังนี้
1
1) ได้ส่งเสริมและสนับสนุน การวิจัยพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ของประเทศไทยเอง ในหลายสถาบัน หลายคณะแพทยศาสตร์ ที่มีความก้าวหน้าสูงสุดในขณะนี้ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1
เป็นเทคนิค mRNA ซึ่งได้ผ่านการทดลองในหนูและในลิงแล้ว พบว่ามีความปลอดภัยและมีภูมิต้านทานขึ้นสูง กำลังจะเริ่มวิจัยในเฟสหนึ่งของมนุษย์ปลายปีนี้ โดยรัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณไปนับร้อยล้านบาท และพร้อมที่จะสนับสนุนต่อเนื่องไปนับพันล้านบาท
2) เตรียมงบประมาณและการประสานติดต่อ ที่จะจัดซื้อวัคซีนที่มีความก้าวหน้าที่คาดว่าจะสำเร็จเสร็จสิ้นโดยเร็ว แต่เราไม่สามารถจะจองโดยจ่ายเงินล่วงหน้าจำนวนมากกับบริษัทที่เป็นธุรกิจเพราะจะต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก
ในที่สุดจึงได้ตกลงประสานกับบริษัท AstraZeneca ซึ่งจะมีต้นทุนอยู่ที่ 10 เหรียญต่อเข็ม แทนที่จะเป็น 20-30 เหรียญต่อเข็มวัคซีนของบริษัทเอกชนสหรัฐอเมริกา
3) ที่สำคัญมากและน่าจะเป็นประโยชน์สูงสุด คือการที่ลงนามกับบริษัท AstraZeneca ในการร่วมผลิตผ่านเทคโนโลยีขั้นสูง ในหน่วยงานของประเทศไทยเอง
ซึ่งจะต้องมีการเตรียมการล่วงหน้ามาเป็นอย่างดี
และนับว่าโชคดีมาก ที่ในหลวงรัชกาลที่เก้า ได้ดำเนินการจัดตั้งบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ ทำให้เมื่อได้รับการประเมินโดยบริษัท AstraZeneca และมหาวิทยาลัย Oxford ก็ผ่านการประเมินเป็นอย่างดี
1
และพร้อมที่จะเริ่มผลิตในราคาค่าใช้จ่ายที่ถูกลงไปอีกครึ่งหนึ่งคือ 5 เหรียญต่อเข็ม โดยที่เป็นการทำสัญญาเพื่อมนุษยธรรม ไม่มีการคิดกำไรทางธุรกิจ จึงจะต้องผูกพันการผลิตที่จะช่วยเหลือประเทศต่างๆในอาเซียนต่อไปด้วย
โดยวงเงินเบื้องต้นที่ได้จัดวางไว้คือ 2,379 ล้านบาท ในการจองล่วงหน้า แล้วจะเพิ่มอีก 3670 ล้านบาทเมื่อได้วัคซีนมาแล้วเรียบร้อย
เมื่อเปรียบเทียบวัคซีนทั้งสามชนิดจะพบว่า ของบริษัทไฟเซอร์ทดลองในอาสาสมัคร 43,000 คนและพบว่ามีผู้ติดเชื้อ 164 คน มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค 95% ต้องเก็บรักษาที่อุณหภูมิติดลบ 70 องศาเซลเซียส และมีราคาที่ประมาณ 20 เหรียญสหรัฐต่อเข็ม
2
ในขณะที่ของบริษัทโมเดิร์นนา ทดลองในอาสาสมัคร 30,000 คน มีผู้ติดเชื้อแล้ว 95 คนประสิทธิภาพในการป้องกันโรค 94.5% ต้องเก็บที่อุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียสเช่นกัน ราคา 30-35 เหรียญสหรัฐต่อเข็ม
ของบริษัทแอสตร้าเซเนก้า อาสาสมัครทดลองจำนวนหลายหมื่นคน และมีประสิทธิภาพในการป้องกัน 70.4% โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกที่ประเทศอังกฤษป้องกันได้ 90% และกลุ่มที่สองที่บราซิลป้องกันได้ 62% เก็บรักษาที่ 2-8 องศาเซลเซียส หรือเก็บในตู้เย็นธรรมดา ราคา5-10 เหรียญสหรัฐต่อเข็ม
กล่าวโดยรวมแล้ว ประเทศไทยมีความหวังสูงมากอยู่ในลำดับต้นของอาเซียน ที่จะมีวัคซีนใช้ โดยที่การกระจาย การเก็บ และการขนส่งมีความสะดวก ตลอดจนต้นทุนค่าใช้จ่ายถูกกว่าบริษัทอื่นเป็นจำนวนมากทีเดียวครับ
โฆษณา