30 พ.ย. 2020 เวลา 03:26 • ไลฟ์สไตล์
เส้นทางสู่การสนทนาที่ดีขึ้นกว่าเดิม
เคยสงสัยกันไหมครับ ว่าบางครั้งทำไมการสนทนาถึงสะดุด จนไปต่อไม่ได้
เอาหละ ผมจะลองยกตัวอย่างสั้น ๆ ให้พอเห็นภาพกันดูนะ
A : เฮ้พวก ได้ลองอ่านหนังสือเล่มใหม่นี้หรือยัง (Factfulness) ?
B : เล่มนั้นหรอ ยังเลยนะ มันเกี่ยวกับอะไรหรอ ?
A : มันเจ๋งมากเลยนะ มันเกี่ยวกับสิ่งที่เรามักจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับโลกนี้หนะ
A : นายรู้ไหมว่าจริง ๆ แล้วปัญหาเกี่ยวกับการทำลายธรรมชาติกำลังลดลง โลกเรามีแนวโน้มที่กำลังดีขึ้นนะรู้ไหม
B : อ๋อ จริง ๆ มันก็น่าจะเป็นแบบนั้นอยู่แล้วนะ
A : ก่อนหน้านี้คิดว่ามันแย่มาตลอดเลยแฮะ
B : หรอ ....
A : ใช่ ๆ ....
B : ....
A : ....
นั่นแหละครับ แล้วการสนทนาก็จบลง
หลายครั้งที่เราอาจจะพอรู้เรื่องนั้น ๆ อยู่แล้ว (อาจจะสัก 70%)
ทำให้เวลาได้ฟังเรื่องนั้น (ในเวอร์ชันที่ชัดเจนขึ้นสมมติว่าเป็น 90%) เราเลยทำเป็นเหมือนว่ารู้เรื่องทั้งหมด (100%) อยู่เรียบร้อยแล้ว
ถ้าลองมาทำความเข้าใจเบื้องหลังของการสื่อสารดูแล้วจะพบว่า
ฝ่ายที่ต้องการสื่อสาร (เล่าเรื่องนู่นนี่ให้คนอื่นฟัง) ความจริงแล้ว (ไม่ว่าเจ้าตัวจะรู้หรือไม่) ล้วนต้องการรางวัลตอบแทนบางอย่าง อาจเป็นความแปลกใจ สีหน้าตื่นเต้นของผู้ฟัง หรือคำถามเพิ่มเติมเพื่อให้ได้เล่าสิ่งที่ตัวเองรู้ให้ฟังต่ออีก ใช่แล้วรางวัลที่แต่ละคนอยากได้ล้วนแตกต่างและหลากหลายเป็นอย่างมาก (แต่มีเสมอ)
นั่นทำให้การที่อีกฝ่ายไม่ได้ตอบรับรางวัลนั้นเป็นตัวตัดจบความรู้สึกอยากในการสนทนาต่อไปโดยปริยาย
ซึ่งฝ่ายที่ฟังก็มักไม่อยากทำตัวเองดูโง่อยู่แล้ว เลย(มักจะ)โกหกไปว่ารู้เรื่องอยู่แล้ว
นี่แหละครับจุดจบของหลายๆการสนทนา
บางครั้งถ้าอยากให้บทสนทนาดำเนินต่อไปได้ เราอาจจะต้องพยายามหักห้ามตัวเอง หยุดยั้งแรงกระตุ้นที่ว่าฉันรู้อยู่แต่แรกแล้ว นั่นคืออีโก้ของเราครับ
อีโก้ตัวนี้มักจะเข้ามาขวางไม่ให้เรามีโอกาสได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพราะมันนึกว่าการไม่รู้หรือแสดงออกว่าไม่รู้จะทำให้เราดูแย่ (บางครั้งก็อาจใช่ แต่ส่วนใหญ่แล้วคนอื่นมักไม่ได้มองอย่างนั้น)
ลองถามตัวเองดูก็ได้ครับว่าเราชอบ หรือเราอยากคุยกับคนแบบไหน
มีเพื่อนคนไหนที่เราชอบคุยด้วย
แล้วเพื่อนคนไหนที่เราไม่ค่อยอยากจะเล่าอะไรให้ฟัง เพราะเขาดูเหมือนจ
ะรู้มทุกเรื่องอยู่แล้ว
บางครั้งการทำเป็นไม่รู้ในตอนแรก อาจทำให้เราเข้าใจหรือรู้เรื่องใหม่ๆเพิ่มขึ้นก็เป็นได้นะครับ และอาจจะช่วยให้เราเป็นคนที่น่าคุยด้วยมากขึ้น
แต่ถ้าพิจารณาดูแล้วว่าการสนทนาครั้งนั้นไม่ได้สร้างให้เกิดคุณค่าใดๆขึ้น การตัดจบเพื่อประหยัดเวลาของเราก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีได้
ลองเลือกใช้ดูนะครับ
โฆษณา