1 ธ.ค. 2020 เวลา 01:01 • ธุรกิจ
วิกฤตการระบาดดันหนี้สาธารณะพุ่ง คุณต้องกังวลหรือเปล่า?
1
ล่าสุดหลังจากมีการเผยแพร่ประกาศจากกระทรวงการคลังว่าในไตรมาส 3 ที่ผ่าน
มาหนี้สาธารณะของไทยพุ่งขึ้นเป็น 7.8 ล้านล้านบาทหรือคิดเป็น 49.34%ต่อGDP
ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ๆ ที่อยู่ที่ประมาณ 41%ต่อ
GDP เท่านั้น
6
อย่างไรก็ตามก็มีผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้ออกมาอธิบายแล้วว่ามันไม่ใช่เรื่องผิด
คาดอะไร เนื่องจากการระบาดของโควิด19 นั้นทำให้รัฐต้องออก พ.ร.ก.เงินกู้ 1
ล้านล้านบาทที่เมื่อกู้เต็มวงเงินแล้วจะทำให้หนี้สาธารณะพุ่งไปถึง 57%ต่อGDP
3
นั่นหมายความว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นได้รับการประเมินเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว แถมยังมีวง
เงินเหลือสำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจในปีหน้าและปีถัด ๆ ไปอีกด้วย
1
เช่นเดียวกันกับประเทศอื่น ๆ ที่หนี้สาธารณะต่อ GDP เพิ่มสูงขึ้นจากวิกฤตโควิด19 โดย IMF คาดการณ์ว่าหนี้ต่อGDP ของทุกประเทศจะเพิ่มขึ้นในปีนี้ เช่น สหรัฐเพิ่ม
จาก 108% ไปเป็น 131%, จีนเพิ่มจาก 53% เป็น 62%, เยอรมันเพิ่มจาก 60% ไป
เป็น 73%, ญี่ปุ่น เพิ่มจาก 238% ไปเป็น 266% ฯลฯ
6
คำถามคือ หนี้เยอะแบบนี้แล้วจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต? ไม่มีใครฟันธงได้ 100%
เพราะแม้แต่นักเศรษฐศาสตร์ก็ยังถกเถียงกันเองอยู่
แต่วันนี้ผมจะพาเพื่อน ๆ ไปย้อนดูประวัติศาสตร์กันว่าอัตราส่วนหนี้ต่อGDP นั้นบอกอะไรคุณได้บ้าง? รับรองว่า เมื่ออ่านจบคุณจะประเมินได้ทันทีว่าตอนนี้ประเทศไทย
กับทั่วโลกกำลังอยู่จุดไหน? และทำไมนักลงทุนระดับโลกหลายคนจึงกังวลว่าอาจมี
หายนะครั้งใหญ่รอคุณอยู่
2
ทำความเข้าใจกันก่อนว่าหนี้สาธารณะต่อGDP คืออะไร? สมมติถ้าประเทศเป็นคน
คนหนึ่งแล้ว GDP ก็คือรายได้ของคนคนนั้นนั่นเอง ส่วนหนี้สาธารณะก็คือหนี้สินที่
คนคนนั้นมี การนำหนี้สินมาเปรียบเทียบกับรายได้นั้นจะแสดงให้เห็นถึงสุขภาพทางการเงินของคนคนนั้น
ถ้ามีหนี้ต่อรายได้เยอะเกินไปก็มีความเสี่ยงสูงที่จะใช้หนี้ไม่ไหวและทำให้ชีวิตยาก
ลำบากลง เนื่องจากรายได้ที่หาได้ส่วนใหญ่นั้นต้องนำไปใช้หนี้ โดยเหลือเอาซื้อข้าวกินซื้อของใช้อยู่ไม่มาก พอจะไปขอกู้ธนาคารก็กู้ไม่ได้เพราะมีหนี้เยอะแล้วเครดิตไม่ดี ไม่รู้จะหาทางออกยังไง
4
นั่นทำให้ประเทศไทยต้องกำหนดเพดานหนี้สาธารณะไว้ที่ 60%ของรายได้(GDP)
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่ไร้ทางออกแบบนั้นขึ้น
2
ทำไมต้อง 60%? ผมยังหางานวิจัยที่ชี้ชัดไม่ได้ว่าทำไมต้อง 60% แต่เมื่อลองพิจารณาแล้วมันก็ดูสมเหตุสมผล อย่างกรณีที่คุณต้องการกู้ซื้อบ้าน ธนาคารก็จะยอมให้
คุณมียอดผ่อนได้ไม่เกินประมาณ 60% ของเงินเดือน ยกเว้นถ้าคุณทำให้ธนาคาร
เชื่อมั่นได้ว่าคุณชำระหนี้ไหวจริง ๆ ก็อาจกู้ได้มากกว่านั้น
3
หรืออีกข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจคือก่อนที่ญี่ปุ่นจะเจอกับภาวะเศรษฐกิจซบเซากว่า 3 ทศวรรษและมีหนี้สาธารณะสูงถึง 238%ต่อGDPในปัจจุบันนั้น ในปี 1990 ที่เป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตญี่ปุ่นมีหนี้สาธรณะอยู่ที่ 64%ต่อGDP
4
เช่นเดียวกับสหรัฐที่มีหนี้สาธารณะ 65%ต่อGDP ในปี 2008 ก่อนจะเกิดวิกฤตแฮม
เบอร์เกอร์และหลังจากนั้นหนี้สาธารณะของสหรัฐก็สูงขึ้นมาตลอดจน IMF คาดว่าจะพุ่งสูงเกิน 130%ต่อGDPในปีนี้
1
เพราะฉะนั้นสำหรับประเทศไทย ในกรณีที่หนี้เกิน 60%ต่อGDP แล้วยังสามารถ
ประคองสัดส่วนเอาไว้และเศรษฐกิจไปต่อได้ก็ถือว่าไม่น่ากังวลอะไร แต่จากสถิติแล้วก็มีเสียวที่จะเอาไม่อยู่ (วิกฤตปี 40 ที่กลับมาได้นั้นหนี้ต่อGDP ของไทยสูงสุดที่ 57.83% ในปี 2543 ก่อนจะลดลงเรื่อย ๆ)
3
อย่างที่ผมยกตัวอย่างสหรัฐกับญี่ปุ่นไปนั้น 2 ประเทศนี้มีความพิเศษคือพวกเขามี
สกุลเงินที่น่าเชื่อถือจึงสามารถพิมพ์เงินออกมาแก้ปัญหาได้
3
แต่สำหรับประเทศกำลังพัฒนานั้นน่าเป็นห่วงมาก เพราะเมื่อประเทศเหล่านี้มีหนี้เพิ่มขึ้นก็มักจะถูกปรับลดอันดับเครดิตลง จนสุดท้ายขาดสภาพคล่องต้องเบี้ยวหนี้และ
ล้มละลายไปในที่สุดอย่างที่เกิดขึ้นกับเวเนซุเอลา,กรีซ และอีกหลายประเทศ
แล้วหนี้ต่อGDPของประเทศใหญ่ ๆ จะเพิ่มไปถึงเมื่อไหร่? คำตอบคือจนกว่า GDP
จะกลับมาเติบโตแซงหนี้
6
แล้วถ้าGDPไม่เติบโตแบบที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นล่ะ? คุณก็คงรู้สึกว่าหนี้มันก็จะเพิ่มขึ้น
เรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุดใช่ไหมครับ แต่จากกราฟหนี้ต่อGDPทั่วโลกจาก CBO (Congressional Budget Office) นั้นคุณจะเห็นว่าหนี้สาธารณะต่อGDPของทั้งโลกจะมี
แนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจและจะลดลงได้เมื่อเกิด “สงคราม”
1
ถ้าพูดแบบเป็นเหตุเป็นผลคือวิกฤตทำให้ความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศใหญ่ที่พิมพ์เงินได้กับประเทศเล็กที่พิมพ์เงินไม่ได้นั้นมีมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วความเหลื่อมล้ำนั้นก็นำไปสู่ความขัดแย้งและสงคราม นี่คือสิ่งที่เรย์ ดาลิโอพยายามจะบอกกับคนที่ติด
ตามเขา
3
แต่เดี๋ยวก่อนครับ ก่อนที่เพื่อน ๆ จะรู้สึกหดหู่และสิ้นหวัง ลองดูกราฟจาก CBO อีก
ครั้งจะพบว่าหนี้ต่อGDPของทั้งโลกเคยลดลงได้โดยที่ไม่มีสงครามในช่วงปี 1995-2000 นั่นคือยุคที่โลกกำลังตื่นเต้นกับเทคโนโลยีใหม่คือ “อินเทอร์เน็ต” ที่กำลัง
แพร่กระจายออกไปทั่วโลกและมีบริษัทเทคฯ เกิดขึ้นมากมายจนก่อให้เกิดฟองสบู่
ดอทคอมในปี 2000
หรือช่วง 1920s เอง นอกจากสงครามโลกครั้งที่ 1 อันโหดร้ายแล้วก็มีเรื่องดี ๆ
ที่เกิดขึ้นคือการมีเทคโนโลยี “ไฟฟ้า” เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์ในทุก ๆ ด้าน
ฉะนั้นจุดจบของการที่ทั่วโลกมีหนี้เยอะเกินไปนั้นเป็นไปได้สองทางคือ
1. แต่ละประเทศเดิมพันด้วยการก่อสงคราม ถ้าชนะก็ล้างหนี้ แต่ถ้าแพ้ก็ไม่เหลืออะไรเลย
2. มีเทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแบบทวีคูณจน GDP ทั่วโลกเติบโตแซงหนี้
จึงเป็นเหตุผลที่นักลงทุนระดับโลกหลายคนก็ไม่กล้าฟันธงว่าจะเกิดอะไรขึ้นใน
อนาคต เพราะท่ามกลางความกังวลว่าจะเกิดสงครามนั้น คุณก็ได้เห็นการพัฒนาเทคโนโลยีล้ำ ๆ อย่างบล็อกเชน, AI กับนวัตกรรมอีกหลายอย่างที่ Elon Musk กำลัง
พัฒนาทั้งรถยนต์ไฟฟ้า, Starlink, Hyperloop, Neuralink และอะไรอีกมากมายที่
เกินกว่าคนธรรมดาอย่างผมจะคิดได้
1
ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้อาจเข้ามาช่วยให้เศรษฐกิจทั่วโลกเติบโตจนหนี้ปริมาณมหา
ศาลในตอนนี้กลายเป็นเรื่องเล็ก ๆ ก็เป็นได้แต่ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของผมเท่านั้น โปรดใช้วิจารณญาณด้วยนะครับ
แล้วเพื่อน ๆ คิดอย่างไรกันบ้างครับ โลกจะเป็นอย่างไร? ประเทศไทยจะไปทางไหน? และคุณเตรียมตัวอย่างไรกันบ้าง? มาแชร์กันครับ
.
แอดปุง
โฆษณา