10 ธ.ค. 2020 เวลา 16:25 • การตลาด
“ยิ่งแพงยิ่งดี !?”
ในช่วงราว 75 ปีก่อนคริสตกาล มีกลุ่มโจรสลัดซิลิเซียนออกอาละวาดในแถบทะเลอีเจียน คอยจับผู้คนที่เดินทางด้วยเรือเพื่อนำไปเรียกค่าไถ่
มีอยู่วันหนึ่ง กลุ่มโจรสลัดได้จับเด็กหนุ่มชาวโรมันได้ ทว่าความแปลกของเหตุการณ์ครั้งนั้นคือเด็กหนุ่มกลับทำตัวไม่เหมือนตัวประกันคนอื่นเสียเท่าไร
แรกเริ่มโจรสลัดบอกกับเด็กหนุ่มว่าต้องการค่าไถ่เป็นเงิน 20 talents (เป็นแร่เงินประมาณ 620 กิโลกรัม) แต่เด็กหนุ่มกลับบอกว่าตัวของเขาไม่ควรจะมีค่าไถ่จำนวนน้อยเช่นนั้น เด็กหนุ่มยืนยันว่าตัวเขาต้องมีค่าอย่างน้อยก็ 50 talents (แร่เงินประมาณ 1550 กิโลกรัม)
แน่นอนว่าทำไมถึงจะต้องปฏิเสธจำนวนเงินที่มากขึ้นด้วยหละ?
โจรสลัดตอบตกลงและปล่อยคนของเด็กหนุ่มไปรวบรวมค่าไถ่มา
การรวบรวมเงินเพื่อมาไถ่ตัวเด็กหนุ่มเป็นไปได้ด้วยดี ในขณะเดียวกันมันก็ทำให้ชื่อเสียงของเขากระจายไปทั่ว เพราะไม่มีใครเคยถูกตั้งค่าไถ่เป็นจำนวนเงินมากขนาดนั้น ผู้คนต่างก็คิดว่าเด็กหนุ่มคนนั้นจะต้องเป็นคนสำคัญอย่างแน่นอน
หลังจากถูกปล่อยตัวเรียบร้อย เด็กหนุ่มใช้ไหวพริบและความชาญฉลาด รวบรวมกำลังคนไล่ตามโจรสลัดไป
โจรสลัดถูกสังหารจนหมด เด็กหนุ่มได้เงินค่าไถ่คืน พร้อมทั้งสมบัติทั้งหมดที่โจรสลัดมีอยู่
ด้วยความมั่งคั่งและชื่อเสียอันมากมาย เด็กหนุ่มไต่เต้าจนได้กลายเป็นผู้ปกครองกรุงโรม และนำยุคทองมาสู่อาณาจักรโรมันในที่สุด
เด็กหนุ่มคนนั้นมีชื่อว่า จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ...
[อ่านมาถึงตอนนี้คุณอาจจะกำลังสงสัยว่าทำไมเด็กหนุ่มธรรมดาๆกลับส่งคนไปหาเงินค่าไถ่จำนวนมหาศาลได้สำเร็จ อันที่จริงการรวบรวมเงินได้สำเร็จส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่ามันเป็นเงินจำนวนมาก การที่คนธรรมดาจะถูกเรียกค่าไถ่จำนวนมากนั้นเป็นไปไม่ได้ แสดงว่ายิ่งค่าไถ่สูง คนๆนั้นยิ่งต้องมีค่ามากและเป็นคนสำคัญ นั่นทำให้คนกล้าที่เอาเงินของตัวเอาให้หรือให้ยืมนั่นเอง การที่คนสำคัญติดหนี้เรา เราคงมั่นใจได้ว่าเขาจะต้องใช้คืนแน่ๆ เพียงแต่ว่าคำถามสำคัญในตอนนี้คือคนสำคัญ สำคัญจากมุมมองของใครกันหละ? คนธรรมดาที่ไม่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง อาจถูกจับไปและตั้งค่าไถ่เป็นจำนวนมากจนทำให้คนอื่นคิดว่าเขาจะต้องเป็นคนสำคัญอย่างแน่นอน เป็นไปได้ไหมละครับ? ต้องบอกว่าเป็นไปได้ และสิ่งนั้นถูกอธิบายด้วย Veblen effect...]
Veblen effect คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อผู้บริโภครับรู้ว่าสินค้าที่มีราคาสูงกว่านั้นดีกว่าเพียงเพราะว่ามันแค่มีราคาแพงกว่า
หรือเมื่อคนตัดสินใจซื้อของที่มีราคาสูง ทั้งๆที่ก็มีสินค้าเหมือนๆกัน (โดยไม่คำนึงถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์) ที่ขายในราคาต่ำกว่าอยู่
cr Financial Express
หลายๆครั้งที่ของแพงกลับดูน่าซื้อมากกว่าของราคาถูก หลายครั้งที่เวลาเราตัดสินใจจ่ายเงินซื้ออะไรก็ตาม ดูเหมือนต่อมเหตุผลจะทำงานผิดปกติ เพราะเราไม่ได้เอาการใช้งานมาเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจ
ของที่มีราคาสูงหลายอย่าง ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานของพวกเรา แต่มันเชื่อมโยงถึงความรู้สึกมีอำนาจ อำนาจทางการเงินที่จะครอบครองสินค้าเหล่านั้น ซึ่งส่งผลต่อไปยังสิ่งที่เรียกว่า "สถานะทางสังคม"
ช่างฟังดูขัดกับหลักเศรษฐศาสตร์แบบดั้งเดิมเสียจริง
แต่นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
การจะเอาชนะใจคนได้จำเป็นที่จะต้องเข้าใจสิ่งที่อยู่เบื้องหลังแนวคิดและการตัดสินใจให้ได้
เมื่อเข้าใจว่าคนอื่นรับรู้อย่างไร ก็จะทำให้เราเข้าใจวิธีคิด
และสิ่งที่เราทำก็จะกลายเป็นความจริงในมุมของคนที่มองเข้ามาได้ไม่ยาก
ทีนี้ลองถามตัวเองดูนะครับ ว่าในแต่ละครั้งที่เราตัดสินใจ เรากำลัง"ซื้อ"อะไรอยู่กันแน่
โฆษณา